...+

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เรื่องน่ารู้ในรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University)

เรื่องน่ารู้ในรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University)

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย
2. เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศ ที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยคำว่า “มหาวิทยาลัย” มีตัวย่อว่า “จุฬาฯ” ไม่ใช่ “ม.จุฬาฯ” เหมือน ขสมก.ใช้
3. เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ไม่มีป้ายชื่อมหาวิทยาลัย มีแต่เพียงป้ายบอกอาณาเขต
4. เป็นมหาวิทยาลัยที่สถาปนาโดยพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาลงเสาเอกด้วยพระองค์เอง
5. จุฬาฯ เป็นสถานที่ที่เกิดขึ้นจากความรักของ 2 พระองค์ที่มีแก่กัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระประสงค์อยากให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นอนุสรณ์ในพระราชบิดา ของพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
6. เมื่อก่อนชื่อ “จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย” ไม่มีการันต์ เป็นคำสมาสที่ไม่ได้อ่าน กะ-ระ-นะ อ่านว่า “กอน” เฉย ๆ แต่มาสมัยจอมพล ป. รัฐบาลชุดนั้นก็ได้มาเปลี่ยนให้มีตัวการันต์ เพราะเขาบอกว่า ถ้าไม่อย่างนั้นก็ต้องอ่าน “กะ-ระ-นะ” ก็เลยต้องมีตัวการันต์จนถึงปัจจุบันนี้ "
7. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภกแห่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ และเป็นพระราชปฏิบัติว่าพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเป็นพระบรมราชูปถัมภกของสถาบันนี้ตลอดมาจนถึงปัจจุบันและตลอดไป (ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยแรกแห่งกรุงสยามได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาฯ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน 5 พระองค์)
8. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินของพระคลังข้างที่ จำนวน 1,309 ไร่ ซึ่งอยู่ที่อำเภอปทุมวัน ให้เป็นสถานที่ตั้งของจุฬาฯ
9. เงินที่นำมาสร้างจุฬาฯ คือ เงินบริจาคของประชาชน เงินที่เหลือจากการบริจาคสร้างพระบรมรูปทรงม้า เรียกว่า “เงินหางม้า”
10. ถ้าจะนับเวลาที่จุฬาฯ เกิดขึ้นจริงๆ แล้ว โดยที่ไม่นับรวมว่าใช้ชื่อสถาบันว่าอะไรก็ตั้งแต่ปี พ.ศ.2442 ในขณะนั้นยังใช้ชื่อว่า “สำนักวิชาฝึกหัดข้าราชการฝ่ายพลเรือน” (ร้อยกว่าปีผ่านมา...)
11. คณะก่อตั้งจุฬาฯ 4 คณะแรก คือ รัฐประศาสนศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ และอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
12. “พระเกี้ยว” พระพิจิตรเลขาประจำรัชกาลที่ 5 เป็นตราสัญลักษณ์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นเครื่องหมายแห่งความภาคภูมิใจของนิสิตจุฬาฯ ทุกคน
13. เข็มพระเกี้ยวต้องติดที่อกเบื้องขวา เพราะเป็นของพระราชทาน (ของพระราชทานจะติดที่เบื้องขวา)
14. เพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ เพลงประจำมหาวิทยาลัย แต่ก่อนเคยใช้เป็นเพลงมหาฤกษ์
15. สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีชมพู เป็นสีประจำวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 5 อัญเชิญมาใช้ครั้งตอนงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์
16. จามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย มีอยู่ 5 ต้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาปลูกด้วยพระองค์เอง โดยพระองค์ทรงนำต้นจามจุรีทั้ง 5 ต้นมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหินด้วยพระองค์เอง และมิได้แจ้งทางมหาวิทยาลัยล่วงหน้า นำความปลาบปลื้มมาสู่ชาวจุฬาฯทุกคน และยังได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรีว่ามีมานานตั้งแต่สร้างมหาวิทยาลัย ทรงเน้นว่า “ดอกสีชมพู” เป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ พระองค์ทรงเห็นว่าจามจุรีที่นำมานั้นโตขึ้น สมควรจะเข้ามหาวิทยาลัยเสียที และสถานที่นี้เหมาะสมที่สุด “จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล”
17. นิตยสารไทม์ได้เสนอผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก คือ จุฬาฯ ภาพรวมอยู่อันดับที่ 180 (เคยอยู่สูงสุดอันดับที่ 123) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทย และอันดับ 3 ของอาเซียนมาโดยตลอด

เครื่องแบบนิสิต
18. เครื่องแบบการแต่งกายของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบแห่งแรกและเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานมาจากองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นแห่งแรกที่มีการสวมใส่เครื่องแบบนิสิต นอกจากนี้เครื่องแบบนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบของมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ถูกตราไว้ในพระ ราชกฤษฎีกา พ.ศ.2498 (เป็นเกียรติ เป็นศรี เป็นศักดิ์ เป็นเอกลักษณ์งามสง่า สวมชุดนิสิตจุฬาฯ ประกาศค่า “จุฬาลงกรณ์”)
19. จีบด้านหลังของเสื้อนิสิตหญิง เป็นสัญลักษณ์แทนสไบแปลว่า ผ้าแถบ ผ้าห่มผู้หญิง ส่วนที่ตลบกลับตรงท้องแขนของเสื้อนิสิตหญิง เป็นสัญลักษณ์แทนพาหุรัด แปลว่า เครื่องประดับ กำไลแขน ทองต้นแขน ซึ่งเป็นเครื่องประดับชั้นสูง
20. รองเท้าหนังฟอกสีขาวสำหรับนิสิตหญิงน้องใหม่ฮิตใส่ยี่ห้อ peppermint
21. ตราพระเกี้ยวในเนคไทของนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นไม่ได้ใช้ตามแบบมหาวิทยาลัย
22. นิสิตหญิงคณะนิเทศศาสตร์ใส่พลีตสีดำตลอดชั้นปีที่ 1 ส่วนนิสิตชายชั้นปีที่ 1คณะวิศวกรรมศาสตร์และครุศาสตร์ให้ใส่กางเกงสีกรมท่า (แต่ถ้าปีอื่นๆ ใส่สีดำก็ไม่ว่ากัน)
23. นิสิตหญิงที่ใส่เสื้อฟิดติ้วตีเกล็ด ใส่กระโปรงทรงสอบสั้นจะถูกประณามหยามเหยียด
สถานที่
24. จุฬาฯ มี 5 ฝั่ง ได้แก่
- ฝั่งแรก คือ ฝั่งอนุสาวรีย์พระบรมรูปสองรัชกาล หน้าหอประชุมจุฬาฯ เป็นที่รวมของหลายๆ คณะ เด็กจุฬาฯ เรียกว่า “ฝั่งใหญ่”
- ฝั่งที่ 2 คือ ฝั่งหอสมุดกลาง เป็นที่ตั้งของคณะอีก 3 คณะ คือ ครุศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และนิติศาสตร์ บางคนเรียกว่า “ฝั่งนอกเมือง” ทั้งๆ ที่เป็นฝั่งเดียวกัน MBK และสามย่านนะ
- ฝั่งที่ 3 คือ ฝั่งสยามสแควร์ เป็นที่ตั้งของคณะทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์
- ฝั่งที่ 4 คือ ฝั่งมาบุญครอง เป็นที่ตั้งของคณะสหเวชศาสตร์ พยาบาล จิตวิทยา และวิทยศาสตร์การกีฬา
- ฝั่งสุดท้าย คือ ฝั่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คือ ที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์
25. รู้ไหมว่าในจุฬาฯ (ฝั่งใหญ่) ถนนมีชื่อ NickName อยู่สองสาย คือ Art Street = ตั้งแต่คณะสถาปัตยศาสตร์มาศิลปกรรมศาสตร์จนถึงอักษรศาสตร์ (เกี่ยวกับศิลป์) ส่วนอีกถนนหนึ่งก็คือ Hi-So Street = ตั้งแต่รัฐศาสตร์ไปถึงเศรษฐศาสตร์ไปสุดที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีไง ส่วนสามแยกปากห-ม-า ก็ต้องที่วิศวะเท่านั้น !!!
26. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ไม่ใช่ของจุฬาฯ แต่เป็นของสภากาชาดไทย ว่างๆ ก็ไปบริจาคเลือดที่สภากาชาดกันนะ
27. หอประชุมจุฬาฯ เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานทั้งแบบตะวันออกและตะวันตก ออกแบบโดย ศ.พระพรหมพิจิตร ได้แรงบันดาลใจจากพระอุโบสถวัดราชาธิวาสครับ ตึกเทวาลัยทั้ง2 ตึกต่างหากที่เป็นชาวต่างชาติออกแบบโดยได้แรงบันดาลใจจากสุโขทัยครับ
28. อาคารหลังแรกของจุฬาฯ (อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ : เทวาลัย) ที่ต้องสร้างเป็นแบบไทยผสมตะวันตก ทั้งที่ขณะนั้นค่านิยมการสร้างอาคารต้องสร้างให้ทันสมัยแบบตะวันตก เพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้สร้างวัดประจำรัชกาลของพระองค์ จึงมีพระประสงค์สร้างอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบไทยผสมตะวันตก เพื่อแทนการสร้างวัดประจำรัชกาล(ดังเช่น โรงเรียนมหาวชิราวุธวิทยาลัย) และพระองค์มีพระประสงค์ให้ “เรียนศาสตร์ใหม่ การศึกษาก้าวหน้า รักษาภูมิปัญญาตะวันออก”
29. ตึกที่สูงที่สุดในจุฬาฯ คือ ตึกมหามกุฎ คณะวิทยาศาสตร์ ถ้ามองจากมุมสูง จะเห็นศาลาพระเกี้ยว เป็นรูปพระเกี้ยวจริงๆ และตึกจุลจักรพงษ์จะเป็นฐานพระเกี้ยว ไฮโซเวอร์
30. จุฬาฯ เป็นสถาบันเดียวที่มีสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์ 4 พระองค์ ได้แก่
- 4 ตุลาคม 2461 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย เสด็จมารับราชการที่จุฬาฯ นับเป็นเจ้าฟ้าอาจารย์พระองค์แรกของจุฬาฯ ในครั้งนั้นท่านทรงสอนวิชาภาษาอังกฤษที่คณะรัฏฐประศาสนศาสตร์
- พ.ศ.2467-2468 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงสอนวิชา vertebrate anatomy แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์ ทรงริเริ่มและสอนวิชาอารยธรรมและประวัติศาสตร์แก่นิสิตทุกคณะที่ลงทะเบียน ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่ 2
- พ.ศ.2495-2501 สมเด็จพระพี่นางฯ ทรงเคยเป็นอาจารย์สอนนิสิตชั้นปีที่ 4 คณะอักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดีฝรั่งเศส และ phone'tiquie สำหรับนิสิตปี 3 และ conversation ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 2 เมื่อพระองค์ท่านมีทรงงานเยอะขึ้น จึงต้องล้มเลิกการสอนไป (ถ้านิสิตคนไหนอยากดูพระฉายาลักษณ์ตอนที่ท่านเคยสอนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ ลองไปดูที่หอประวัติจุฬาฯ ชั้นสองได้ มีรูปและคำบรรยายประกอบด้วย) พระองค์ท่านทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่ 3
- พ.ศ.2522 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสอนวิชาอารยธรรมแก่นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนตามโครงการการศึกษาทั่วไป ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่ 4
31. หอสมุดกลาง เรียกว่า “หอกลาง” เป็นที่สำหรับนอนหลับ อ่านหนังสือ เล่นอินเตอร์เน็ต ดูหนัง ฟังเพลงFacebook และจะกลายเป็นตลาดนัดในช่วง Midterm กับ Final ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องทำสงครามแย่งโต๊ะอ่านหนังสือจนเคยมีคดีชกต่อยกันมาแล้ว
32. จามจุรี 9 เป็นอีกสถานที่ที่ให้เด็กจุฬาฯ ไปอ่านหนังสือ ติวหนังสือ สอนพิเศษทั้งอาคาร รวมทั้งยังมีที่ทำการไปรษณีย์และศูนย์อนามัยของมหาวิทยาลัย
33. หอพักนิสิตจุฬาฯ มี 5 หอ คือ จำปี จำปา พุดตาน พุดซ้อน เฟื่องฟ้า ชวนชม ส่วนหอพักในกำกับ คือ หอพักพวงชมพู (ยูเซ็นเตอร์) ที่แอบไฮโซแต่แคบมาก
34. สนามกีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกกันว่า “สนามจุ๊บ” โดยเรียกให้คล้องจองกับ “สนามศุภ” สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์ เดิมชื่อสนามกีฬาจารุเสถียร ตามชื่อจอมพลประภาส นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น จึงเรียกให้คล้องกับสนามศุภชลาศัยฯ ว่าสนามจุ๊บครับ โดยในปัจจุบันเป็นสนามฟุตบอลหญ้าเทียมแห่งแรกของไทยครับ
35. สถานีรถไฟใต้ดินสถานีสามย่าน เขียนว่า “สิ่งปลูกสร้างนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
36. การเดินจากฝั่งคณะวิทยาศาสตร์ไปฝั่งคณะนิเทศศาสตร์ไปง่ายๆ โดยไม่ต้องขึ้นสะพานลอย เพราะจุฬาฯหรูกว่านั้น คือ มีอุโมงค์เชื่อมสองฟากถนนด้วย
37. ถนนอังรีดูนังต์มีอาชญากรรมบ่อยๆ
38. ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จัดตั้งศูนย์หนังสือขึ้นมาร่วมกันด้วยทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด

นิสิต – นิสิตา
39. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ใช้คำว่า “นิสิต-นิสิตา”
40. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงเข้าศึกษาในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในปีการศึกษา 2548
41. หนุ่ม ที่สาวคณะต่างๆ หมายปองมักจะอยู่ฝั่งในเมือง เช่น สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ หรือ แม้กระทั่งหนุ่มๆ สิงห์ดำ (รัฐศาสตร์) สาวๆ ก็ไม่แพ้กัน สาวสวยที่ขึ้นชื่อในจุฬาฯ ก็ต้องยกให้อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ บัญชี...ทั้ง สวย รวย เก่ง...อืม!

42. สมัยก่อน รู้หรือไม่ว่า นิสิตชายคณะรัฐศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ไม่ถูกกัน ถึงขนาดยกพวกตีกันในวันไหว้ครูในปีพ.ศ.2504 รัฐศาสตร์เสียเปรียบตรงกำลังคนน้อยกว่า 4 ต่อ 1 จนร้อนไปถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐศาสตร์ในสมัยนั้นต้องออกมาไกล่เกลี่ยด้วยตัวเอง มีคนว่ากันว่า “วิศวะชนะด้านยุทธวิธี แต่รัฐศาสตร์ชนะด้านยุทธศาสตร์”
43. นิสิตชายคณะอักษรศาสตร์ เรียกว่า Arts Men ซึ่งมีคิดว่าเป็น 1 ใน 10 ของนิสิตหญิง
44. เด็กอักษรชอบเด็กสถาปัตย์ แต่เด็กสถาปัตย์จะชอบกันเอง
45. นิสิตครุศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศึกษา เรียกตนเองว่า “ครุอาร์ต” ซึ่งมีอาคารเรียนเป็นของตนเอง คือ อาคาร 8
46. จุฬาฯ มีคณะพยาบาลศาสตร์ แต่ไม่เปิดหลักสูตรปริญญาตรี เพราะโรงพยาบาลจุฬาฯ รองรับนักศึกษาพยาบาลจากสภากาชาดไทยแล้ว
47. หลักสูตรปริญญาตรีล่าสุดของจุฬาฯ คือ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร เรียกนิสิตหลักสูตรนี้ว่า OCARE ซึ่งได้ไปศึกษาที่จุฬาฯ ศูนย์สระบุรีด้วย
48. คู่ รักคู่แค้นของเด็กจุฬาฯ คือ เด็กธรรมศาสตร์ งานบอลแต่ละครั้ง ต้องประชันกันให้เหนือกว่ากัน ซึ่งค่าใช้จ่ายจากงานบอล แต่ละครั้ง สามารถซื้อบ้านหรูๆได้มากกว่า 5 หลัง
49. เพลงที่จุฬาฯ กับธรรมศาสตร์มีเหมือนกัน คือ “เดินจุฬาฯ-เดินมธ.” (แต่ เนื้อเพลงไม่เหมือนกัน ชื่อเพลงเหมือนกัน) เพลง เดินจุฬาฯ เป็นเพลงปลุกใจให้ฮึกเหิม ในการต่อสู้ที่ดีที่สุด อ้าว...เดิน เดิน เถอะรา นิสิตมหาจุฬาลงกรณ์

50.ห้องสมุดคณะอักษรศาสตร์เป็นห้องสมุดที่เงียบมาก เพราะเด็กอักษรไม่นิยมอ่านกันที่นี่ แหมก็อยู่ในเทวาลัย บรรยากาศมันวังเวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น