...+

วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ธรรมชาติ แล้วเรื่องของ “คน”

ธรรมชาติ แล้วเรื่องของ “คน”

• พวกต่อต้านการเรียนรู้ เถ้าแก่ทุกคนรู้ดีว่าสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจในวันนี้ ไม่นานก็จะกลายเป็นอดีต ทุกคนจึงต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา แต่พนักงานบางคนไม่คิดอย่างนั้น หลายคนเป็นคนดี นิสัยดี มีอัธยาศัยเป็นที่รักของเพื่อนๆ แต่ไม่ชอบการเรียนรู้ ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง ไม่ต้องการรู้เรื่องอะไรใหม่ๆ เมื่อคุณพูดว่า “เราจะลองทำด้วยวิธีใหม่กัน” เขาก็ตอบด้วยรอยยิ้มใสๆ ว่า “ผมว่าวิธีเก่าก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไรนี่ครับ” ทุกครั้งไป ปีแล้วปีเล่าก็ทำอะไรเดิมๆ ไม่เรียนรู้ ไม่เติบโต ไม่ก้าวหน้า
• ขี้อิจฉา เป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่แต่ละคนมีบทบาทหน้าที่ไม่เหมือนกัน ความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน จึงมีศักยภาพแตกต่างกัน เงินเดือนของแต่ละคนจึงแตกต่างกัน แต่ก็มีพนักงานนักประชาธิปไตยบางคนไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ หลายคนพึงพอใจกับรายได้ของตัวเองจนกระทั่งไปเห็นเงินเดือนของเพื่อเข้า “ทำไมหนูกับเพื่อนเรียนจบมาเหมือนกัน อายุงานเท่ากัน ทำงานเหมือนกัน หนูถึงได้เงินเดือนน้อยกว่าเพื่อนคะ ควรจะเท่ากันถึงจะยุติธรรมนะคะ” ฟังดูมีเหตุผลดี “งั้นลดเงินเดือนของเพื่อนให้เท่ากับหนูดีมั๊ย” ...........ไม่มีคำตอบ
• คนที่ไม่ได้อยากทำงานตั้งแต่แรก คนมากกว่าครึ่งเข้ามาทำงานโดยไม่ได้อยากทำงานเลย เขาสมัครเข้ามาทำงานเพราะต้องการ “เงิน” มากกว่า “งาน” ตอนที่สมัครเข้ามาก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะทำงานอะไร พอดีตกงานไปไหนไม่รอด ไม่มีเงินใช้ เหนื่อยกับการหางาน เบื่องานเก่าอยากไปให้พ้นๆ แล้วก็ทำหน้างอ ขาดกำลังวังชาในการทำงานตั้งแต่วันแรกที่เริ่มงาน อีกไม่นานเพื่อนร่วมงานคนอื่นก็หน้างอใส่คนกลุ่มนี้......วงแตก
• เกียจคร้าน ทุกบริษัททุกองค์กรมีคนเกียจคร้าน ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเป็นอย่างไร เลี่ยงงานทุกอย่างที่ขวางหน้า ทำงานไม่เคยทันเวลา พนักงานแบบนี้เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะอยู่ในองค์กรไหน
• สร้างสรรค์ผิดที่ คนบางคนชอบทำอะไรที่แตกต่าง ซึ่งไม่ใช่เรื่องเลวร้าย ตรงกันข้ามกลับเป็นสิ่งดีดี้วยซ้ำที่ทำสิ่งแตกต่าง ทำสิ่งใหม่ ซึ่งสมียนี้เรียกว่า “นวัตกรรม” แต่พนักงานหลายคนมีความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องที่ไร้ประโยชน์ เวลาบอกให้ร่างจดหมาย ก็พยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบทุกครั้งที่ร่าง คิดแบบนามบัตรใหม่ทุกครั้งที่พิมพ์เพิ่ม เขาคงเข้าใจความหมายของนวัตกรรมเพียงครึ่งเดียว เพราะนวัตกรรมต้องหมายถึง “วิธีการใหม่ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ”
• ดื้อเงียบ จะว่าเป็นคนเข้าใจอะไรยากก็ไม่เชิง อธิบายทีไรคนพวกนี้ก็ดูเหมือนเข้าใจเหตุและผลทุกครั้ง แต่เวลาลงมือทำงานทีไรก็ทำอย่างเดิม ไม่ยอมเปลี่ยน ทั้งที่รู้ว่ามันมีปัญหา
• มารยาทและกาลเทศะ ทั้งสองเรื่องนี้นับเป็นสามัญสำนึกที่ต้องบ่มเพาะกันตั้งแต่เด็ก หรืออาจจะตั้งแต่อยู่ในท้องแม่เลยด้วยซ้ำ ทั้งนี้มารยาทและกาลเทศะแม้จะไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายมากมายแก่บริษัท แต่สิ่งนี้เป็น “แรงเสียดทาน” ระหว่างคนที่เกิดขึ้นกับงาน เมื่อได้คนที่มีปัญหาเรื่องนี้ จะพบว่าต้องใช้พลังงานในการผลักดันงานมากขึ้น ปัญหาที่ไม่น่าเกิดก็เกิดขึ้น เพียงเพราะคนไม่ชอบหน้ากันจากมารยาทที่ไม่ดีกับความไม่รู้กาลเทศะของพนักงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น