...+

วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้แก่

วัยหมดระดูหรือวัยทอง (Menopause) เป็นวัยที่สิ้นสุด การมีระดูอย่างถาวรเนื่องจากรังไข่สร้างฮอร์โมนลดลง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติเกิดขึ้นกับสตรีทุกคน โดยส่วนใหญ่ สตรีจะเข้าสูวัยหมดระดูเมื่ออายุ 47-50 ปี เริ่มจากรังไข่เริ่มทำงานไม่ปกติ ซึ่งทำให้มีระดูถี่ขึ้นจากช่วงห่าง 28 วัน เป็นประมาณ 21 วัน หรือมีระดูไม่สม่ำเสมอ ระยะเวลาระหว่าง รอบระดูจะคอยๆ เพิ่มขึ้น จนกระทั่งไม่มีระดูอย่างถาวร โดยทั่วไป ช่วงนี้ใช้เวลา 2-8 ปี เราเรียกช่วงเวลานี้ว่าวัยใกล้หมดระดู (Perimenopause) หรือวัยเปลี่ยน (Climacteric)
การเปลี่ยนแปลงในวัยหมดระดูเกิดขึ้นได้หลากหลาย ส่วนใหญ่ดำเนินอย่างค่อยเป็นคอยไป ในสตรีบางคนมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างราบรื่นและไม่พบปัญหา แต่ในสตรีบางคนมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงทำให้มีผลกระทบต่อร่างกาย และจิตใจ ซึ่งต้องการการดูแลรักษา ความแตกต่างในสตรี แต่ละคนนั้นอาจเนื่องจากความแตกต่างในพื้นฐานพันธุ์กรรม การดำเนินชีวิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ มีปัจจัยเสี่ยงจาก สิ่งแวดล้อม ซึ่งแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและชุมชน ดังนั้นจึง ควรทราบว่าการเปลี่ยนแปลงในวัยหมดระดูนั้นมีอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเข้าสู่วัยหมดระดู
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในวัยหมดระดูสามารถแบ่งอย่าง ง่ายๆ ออกเป็น 2 อย่าง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น และ การเปลี่ยนแปลงในระยะยาว
การเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัยใกล้หมดระดู และวัยหมดระดูช่วงต้น เกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้แก่
1. อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เกิดอาการร้อน วูบวาบตามตัว (Hot Flashes) มักจะมีอาการร้อนซู่ขึ้นมาทันที่ บริเวณหน้า ลำคอ และหน้าอก มักเกิดอาการอยู่นานประมาณ 3-5 นาที แล้วก็หายไป บางคนพบมีเหงื่อออกมากร่วมด้วย ส่วนใหญ่ มักมีอาการในช่วงกลางคืน ทำให้นอนไม่หลับตามมา
2. อาการของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ได้แก่ ช่องคลอดอักเสบ คันช่องคลอด ช่องคลอดแห้ง ทำให้เจ็บเวลามีการร่วมเพศ
3. อาการช่องระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย
4. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์ ได้แก่ หงุดหงิด ง่าย ซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เครียด กังวล เหนื่อย เพลีย หมดความต้องการทางเพศ เป็นต้น
5. การเปลี่ยนแปลงทางผิวหนัง ในวัยหมดระดูผิวหนังจะ บางลง ความยืดหยุ่นลดลง
6. การเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อและข้อ พบว่า กำลังของกล้ามเนื้อลดลง มีอาการปวดตามข้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น