...+

วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

5 เทรนด์ เปลี่ยนโลกในทศวรรษหน้า

5 เทรนด์ เปลี่ยนโลกในทศวรรษหน้า และธุรกิจที่คาดว่าจะได้อานิสงค์
จาก Mega Trends

จอห์น แนสบิตต์ (John Naisbitt) นักอนาคตศาสตร์และนักวิเคราะห์ชื่อดังชาวสหรัฐ กล่าวไว้ว่า The Most Reliable Way to Forecast
The Future is To Try Understand The Present. หรือพูดง่ายๆ คือ วิธีที่จะคาดการณ์อนาคตอย่าง
แม่นยำ คือ การพยายามเข้าใจปัจจุบันให้ได้

เขาได้นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง 5 คนของ Price Waterhouse Cooper (PwC) บริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจชั้นนำระดับโลก ซึ่งเผยแพร่ในรายงาน PwC Global Annual Review 2013 เกี่ยวกับวิสัยทัศน์และมุมมองของ Maga Trends ที่จะเกิดขึ้นในทศวรรษหน้ามาให้เผยแพร่เราได้ทราบกัน
แม้จะดูเหมือนเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว แต่หลายประเด็นเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงและ
เห็นผลกระทบบ้างแล้วในปัจจุบัน นอกจากนี้ เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพโอกาสทางธุรกิจที่ชัดเจน
ขึ้นผมจะยกตัวอย่างธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องและธุรกิจที่
คาดว่าจะได้อานิสงค์จาก Mega Trends ดังกล่าวเพิ่มเติมด้วย
󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇
👥 เทรนด์ที่1:
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
(Demographic Shifts)
หลังสิ้นสุดยุค Baby Boom ในช่วงปี 1965-1970 ประกอบกับวิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่ที่
พัฒนาขึ้นมาส่งผลให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นกว่าเดิม ประกอบกับโครงสร้างสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และข้อจำกัดทางด้านเศรษฐกิจส่งผลให้มีการเปลี่ยน
แปลงขนาดของครอบครัวจากครอบครัวที่มีขนาด
ใหญ่เปลี่ยนไปสู่ครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น รวมถึงการแต่งงานมีครอบครัวและมีบุตรมีแนวโน้ม
ลดลงจึงทำให้สัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ขณะเดียวกันสัดส่วนประชากรวัยแรงงานก็ลดลงตาม
ไปด้วย ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างระบบเศรษฐกิจทั้งการผลิตและการบริโภค
ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2050 สัดส่วนประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 21 ของประชากรโลก สูงกว่าปัจจุบันที่มีสัดส่วนราวร้อยละ 10 ของประชากรโลก
ธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ ได้แก่ บริการ ดูแลผู้สูงอายุ โรงพยาบาล อาหารเพื่อสุขภาพ / อาหารสำหรับผู้สูงอายุ ธุรกิจออกแบบที่อยู่
อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ เครื่องจักร / หุ่นยนต์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนแรงงาน
󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇
󾭠 เทรน์ที่ 2:
การเปลี่ยนขั้วอำนาจเศรษฐกิจโลก
(Shift in Global Economic Power)
จากเดิมที่เศรษฐกิจโลกขับเคลื่อนโดยกลุ่มประเทศ
พัฒนาแล้วโดยเฉพาะกลุ่ม G7 (สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี และแคนาดา) แต่ขั้วอำนาจของเศรษฐกิจโลกกำลังจะเปลี่ยนผ่านไป
สู่ประเทศตลาดเกิดใหม่อาทิ กลุ่มประเทศ E7
(จีน อินเดีย บราซิล รัสเซีย อินโดนีเซีย แม็กซิโก และตุรกี) ซึ่งเศรษฐกิจกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากกลุ่มประเทศดังกล่าวยังมีทรัพยากรสมบูรณ์
และมีโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจได้อีกมาก
ทั้งการค้า การลงทุน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบกับจำนวนประชากรมหาศาลและมีระดับ
รายได้ที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความต้องการสินค้า
และบริการใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย
ในปี 2009 GDP ของกลุ่มประเทศ E7 มีขนาดราวสองในสามของ GDP ของกลุ่มประเทศ G7 แต่คาดว่าในปี 2050 GDP ของกลุ่มประเทศ E7 จะเพิ่มขึ้นอย่างมากจนมีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของ
GDP ของกลุ่ม G7 ทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจของกลุ่ม
ประเทศตลาดเกิดใหม่เปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นฐาน
การผลิตและแหล่งแรงงานราคาถูก ก้าวไปสู่การเป็นตลาดบริโภคแห่งใหม่ของโลก
ธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ ได้แก่ ธุรกิจส่งออกที่ปรับสินค้าให้สอดคล้องกับรสนิยม
การบริโภคของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่มากขึ้น
โดยเฉพาะกลุ่ม E7 ซึ่งแต่ละประเทศมีรสนิยมและ
วัฒนธรรมการบริโภคที่แตกต่างกัน รวมถึงธุรกิจที่เติบโตตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ
อาทิ สินค้าฟุ่มเฟือย บริการสุขภาพ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇

󾀋 เทรนด์ที่3:
การเติบโตของสังคมเมือง
(Accelerating Urbanisation)
ปัจจุบันเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลกอาศัย
อยู่ในเมือง แต่หากย้อนหลังไปในปี 1950 จะพบว่า
มีเพียงร้อยละ 30 ของประชากรโลกที่อาศัยอยู่ในเมือง เนื่องด้วยพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ส่งผลให้วิถีชีวิตของประชากรในเมืองมีความสะดวกสบายมากขึ้น อาทิ ระบบคมนาคมขนส่ง ระบบสาธารณูปโภค อาหาร เสื้อผ้า และที่อยู่อาศัยประชากรที่เคยอาศัยอยู่
ในชนบทก็เริ่มย้ายเข้ามาอาศัยในเมืองมากขึ้น เพื่อแสวงหารายได้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ขณะเดียวกันนโยบายของหลายประเทศที่มุ่งกระจาย
รายได้และการพัฒนาไปสู่ชนบทมากขึ้น ช่วยยกระดับและพัฒนาสังคมชนบทไปสู่การเป็น
สังคมเมือง ทำให้คาดว่าในปี 2050 สัดส่วนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองจะสูงถึงร้อยละ 72 โดยเฉพาะในภูมิภาคแอฟริกาตอนเหนือ (Sub-Saharan Africa) และเอเชีย ที่สังคมเมืองเริ่มมีแนวโน้ม
พัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว
ข้อสังเกต: แต่ละประเทศมีนิยามของ “สังคมเมือง” ที่แตกต่างกันออกไป (สามารถดูเพิ่มเติมได้จากรายงาน World Urbanization Prospects 2011 Revision, UN) แต่ภาพรวมจะพิจารณาจากจำนวนประชากร ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสิ่งอำนวยความสะดวกธุรกิจ
ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์: ธุรกิจก่อสร้าง / วัสดุก่อสร้าง พลังงาน โทรคมนาคม / อินเทอร์เน็ต อาหารสำเร็จรูป เสื้อผ้า / เครื่องประดับ รถยนต์󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇

󾀏เทรนด์ที่4: การลดลงของทรัพยากรและการเปลี่ยนแปลง
ทางสภาวะอากาศ (Resource Scarcity and
Climate Change)
การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลกส่งผลให้การ
บริโภคทรัพยากรต่างๆ เพิ่มขึ้นตามไปด้วยโดย
เฉพาะการใช้พลังงาน ทั้งจากถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการบริโภคน้ำและอาหาร ที่นับวันทรัพยากรดังกล่าวมีแต่ลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การบริโภคทรัพยากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิ มลภาวะที่เกิดจากการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ขยะและของเหลือใช้ที่ไม่ได้ถูกนำไปรีไซเคิล และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์จากรถยนต์
ทั้งนี้ การประเมินว่าหากรูปแบบการบริโภคทรัพยากร
ยังเป็นดังเช่นปัจจุบัน จะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศ
ของโลกและทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้ร 0.5-1.5 องศาเซลเซียสในอีก 20 ปี ข้างหน้า ตลอดจนยัง
ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ อาทิ ฝนแล้ง น้ำท่วม และการเปลี่ยนแปลงของระดับ
ความเข้มข้นในน้ำทะเล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่อง
ไปยังภาคการเกษตรและการผลิตอาหารของโลก
ดังนั้นทั่วโลกจึงหันมาให้ความสำคัญกับการดูแล
และรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงในภาคธุรกิจที่มี
การปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือวัตถุดิบที่ใช้ใน
การผลิตเพื่อลดหรือชะลอผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับผลประโยชน์
: ธุรกิจสีเขียว (ธุรกิจที่ใช้วัสดุหรือมีกระบวนการ
ผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมหรือควบคุมการปล่อย
มลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม) บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ พลังงานทางเลือก เกษตร / อาหารอินทรีย์ รีไซเคิลขยะ
และของเสีย ที่ปรึกษาและออกแบบการผลิต
โรงงานที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม บริการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇󾬇
󾟭เทรนด์ที่5:
ความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยี
(Technological Breakthroughs)
การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเปลี่ยนโฉมหน้าของ
โลกไปอย่างมากจากในอดีตทั้งรูปแบบวิถีชีวิต รวมถึงการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงในภาคธุรกิจด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวน
การผลิต การตลาด และการบริหารจัดการภายในกิจการ
นอกจากนี้ เทคโนโลยียังช่วยให้เกิดธุรกิจใหม่
ได้ง่ายในเพียงชั่วข้ามคืน อาทิ ธุรกิจออนไลน์ โดยอาศัยประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารที่ก่อให้เกิดสังคมเครือข่ายออนไลน์ (Social Network) แพร่หลายดังเช่นในทุกวันนี้ ซึ่งช่วยลดข้อจำกัด
ของระยะทาง ทำให้สามารถทำตลาดได้อย่างไร้ขอบเขต
ทั้งนี้ปัจจุบันประชากรโลกมีอุปกรณ์สื่อสารมากกว่า 1.84 เครื่องต่อคน เพิ่มขึ้นจาก 0.08 เครื่องต่อคนต่อ
ในปี 2003 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3.47 และ 6.58 เครื่องต่อคนในปี 2015 และปี 2020 ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นถึงการที่เทคโนโลยีจะก้าวมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น ธุรกิจในอนาคตจึงควรให้ความสำคัญกับการไขว่
คว้าโอกาสจากความสำคัญของเทคโนโลยีดังกล่าว รวมถึงไม่พลาดที่จะติดตามทิศทางของเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการบริโภค
ผ่านเทคโนโลยีสื่อสารต่างๆ ที่นับวันจะเกิดขึ้นและ
เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ตัวอย่างธุรกิจที่คาดว่าจะได้ประโยชน์:
ธุรกิจออนไลน์ (ธุรกิจที่ทำตลาดหรือให้บริการ
ผ่านอินเตอร์เน็ตหรือสังคมออนไลน์) โทรคมนาคม อุปกรณ์สื่อสาร บริการคอนเท้นท์ออนไลน์ พัฒนาซอฟต์แวร์ / แอพพลิเคชั่น

󾬈󾬈󾬈󾬈󾬈󾬈󾬈󾬈󾬈󾬈󾬈󾬈
เรื่องโดย : คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย
ที่มา : วารสาร Marketeer ฉบับเดือนสิงหาคม 2557
ขอบคุณ : Maruey Knowledge and Resource Center

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น