...+

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

@ โรคไข้รากสาดใหญ่ หรือ ไทฟัส (Typhus Fever)

@ โรคไข้รากสาดใหญ่ หรือ ไทฟัส (Typhus Fever)
แบ่งออกได้ ดังนี้

1ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีเหาเป็นพาหะ (Epidemic louse -borne typhus)
2 ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีหมัดหนูเป็นพาหะ (Typhus fever Endemic fever or Murine typhus)
3.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีตัวไรเป็นพาหะ หรือ สครับไทฟัส (Scrub typhus)

สาเหตุ

1 ไข้รากสาดใหญ่ชนิดมีเหาเป็นพาหะโรคนี้มักเกิดในฤดูหนาว หรือในท้องถิ่นที่มีอากาศ หนาวเย็นเช่น ยุโรป อเมริกา โดยเฉพาะในกลุ่มประชาชนที่มีสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ดี เช่น ไม่ อาบนํ้าเป็นเวลานาน อาศัยอยู่ที่ที่คับแคบหรือสถานที่ผิดสุขลักษณะ และมักเกิดในช่วงที่เกิด ภาวะสงคราม หรือหลังสงคราม และในคราวที่เกิดทุพภิกขภัย เป็นต้น

2 ไข้รากสาดใหญ่ชนิดมีหมัดหนูเป็นพาหะ เป็นโรคระบาดที่พบได้ทั่วโลกและมักจะพบ โรคนี้ในที่ที่มีกาฬโรคระบาด ในแหล่งที่มีหนูชุกชุม โดยมากพบในอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ มักจะ เกิดโรคในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง

3.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีตัวไรเป็นพาหะ หรือ สครับไทฟัส เกิดจากตัวไร (Mite) เป็น พาหะนำโรค ดังนั้นจึงมักเกิดในท้องที่ที่มีสัตว์กัดแทะซึ่งเป็นที่อาศัยของตัวไร พบได้ในภูมิภาค ตะวันออก ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ได้แก่ไทย พม่า อินเดีย จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย รวมทั้งตะวันออกเฉียงใต้ของไซบีเรียไปจนถึงภาคกลางของ ออสเตรเลีย โรคมักจะเกิดแก่ผู้ที่ประกอบอาชีพในป่าและทหารที่รบในป่า

@ เชื้อที่ทำให้เกิดโรค

1.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดที่มีเหาเป็นพาหะ เกิดจากเชื้อ ริคเคทเชีย โปรวาเซกิ (Rickettsia prowazeki) ซึ่งเชื้อชนิดนี้อยู่ในตัวเหา หรือตามภาษาชาวบ้านเรียกว่าตัวไร เพราะอาศัยอยู่ ตามร่างกายของคน

2.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีหมัดหนูเป็นพาหะ เกิดจากเชื้อ ริคเคทเชีย ไทฟี (Rickettsia
Typhi)

3.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีตัวไรเป็นพาหะ เกิดจากเชื้อ ริคเคทเชีย ซูซูกามูชิ (Rickettsia
Tsutsugamushi)

@แหล่งของโรค

1.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีเหาเป็นพาหะ-โลหิต

2.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีหมัดหนู เป็นพาหะ หนูเป็นแหล่งของเชื้อโรคตาม ธรรมชาติ โดยเฉพาะหนูแร็ทตัส แร็ทตัส (Rattus rattus) และ แร็ทตัส นอร์วิจิคัส (Rattus norvegicus) เชื้อโรคจะอยู่ใน หมัด (Flea) ของหนู และการติดเชื้อของ หนูนี้จะไม่มีปรากฏอาการให้เห็น คือหนูจะ ไม่มีอาการของโรค แต่สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้โดยหมัดหนูซึ่งมีชื่อว่า ซีนอพชิลลา ชีออฟอิส (Xenopsylla cheopis) นอกจากนั้นสัตว์จำพวกหนูโอพอสซัม (Oppossums) แมว และสัตว์ป่า อื่นๆ อาจเป็นแหล่งของโรคนี้ได้

3.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีตัวไรเป็นพาหะ แหล่งของโรคคือตัวไรพวก เล็พโตทรอมบิเดียม อากามูซิ และ เล็พโตทรอมบิเดียม ดีไลนีซิส (Leptotrombidium akamushi and Leptotrombidium deliensis) ในขณะอยู่เป็นตัวไรอ่อน (larva stage) เชื้อในตัวไรแก่สามารถผ่านทางมดลูกเข้าสู่ตัวไรอ่อนได้

@ การติดต่อ

1.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีเหาเป็นพาหะ เมื่อเหากัดผู้ป่วยเพื่อกินโลหิต เชื้อจะเข้าไปอาศัย อยู่ในตัวเหา เมื่อเหาไปกัดผู้อื่นก็จะถ่ายเชื้อให้ทางนํ้าลาย และเชื้อโรคยังมีอยู่ในอุจจาระของเหา ดังนั้นเมื่อเหาถูกขยี้ตาย เชื้อจะออกจากตัวเหาเข้าสู่ร่างกายทางรอยแผลของคนที่ถูกเหา กัด หรืออาจเข้าทางรอยแผลถลอกที่เกิดจากการเกา การหายใจเอาอุจจาระของเหาที่ติดมากับ ฝุ่นละอองติดตามเสื้อผ้า อาจทำให้ได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้เช่นกัน

2.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีหมัดหนูเป็นพาหะ เมื่อหมัดไปกัดหนูที่เป็นโรค หมัดจะได้รับ เชื้อมา ถ้าหมัดไปกัดมนุษย์มันจะถ่ายอุจจาระที่มีเชื้อโรคออกมา หรือเมื่อหมัดถูกขยี้เชื้อโรคใน ตัวหมัดก็จะเข้าสู่ร่างกายผู้ที่ถูกกัดได้ทางรอยแผลถลอกที่เกิดจากการเกา บางครั้งมนุษย์อาจ ติดเชื้อได้โดยการหายใจเอาขี้หมัดแห้งซึ่งมีเชื้อโรคไข้รากสาดเข้าสู่ร่างกาย

3.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีตัวไรเป็นพาหะ ติดต่อทางบาดแผลที่ถูกตัวอ่อนของตัวไรกัด โดยเฉพาะตัวอ่อนที่มี 6 ขาเรียกว่า Chigger โดยจะดูดเอานํ้าเหลืองและโลหิตเป็นอาหาร เมื่อ ผู้ที่ถูกกัดขยี้เชื้อโรคที่อยู่ในตัวไรจะแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายทางรอยแผลหรือรอยถลอก

@ระยะฟักตัวของโรค

1.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีเหาเป็นพาหะ กินเวลาตั้งแต่ 1-2 สัปดาห์ ตามปกติประมาณ 12 วัน

2.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีหมัดหนูเป็นพาหะ กินเวลาตั้งแต่ 1-2 สัปดาห์ ปกติประมาณ 12วัน

3.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีตัวไรเป็นพาหะ กินเวลา 6-21 วัน ปกติประมาณ 10-12 วัน

@ระยะติดต่อ

1.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีเหาเป็นพาหะ จะไม่ติดต่อโดยตรงจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคล หนึ่ง แต่จะอาศัยเหาเป็นพาหะนำโรค เมื่อเหาไปกัดโลหิตผู้ป่วยที่กำลังเป็นไข้และในช่วง 2- 3 วันที่ไข้เริ่มลดลงจากนั้นประมาณ 2-6 วันจะมีเชื้อโรคอยู่ในอุจจาระของเหา และเหาจะตาย ภายใน 2 สัปดาห์หลังจากที่กินโลหิตของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อโรคนี้เข้าไป แต่เชื้อโรคไข้รากสาดใหญ่ ยังคงมีชีวิตอยู่ในตัวเหาที่ตายได้อีกเป็นอาทิตย์

2.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีหมัดหนูเป็นพาหะ จะไม่ติดต่อโดยตรงจากบุคคลหนึ่งไปยังอีก บุคคลหนึ่งเช่นเดียวกับชนิดที่มีเหาเป็นพาหะ แต่จะติดต่อโดยมีหมัดหนูเป็นพาหะนำโรค และ สามารถติดต่อได้ตลอดอายุของหนูที่มีเชื้อโรคอยู่ในตัวซึ่งอาจนานนับปี

3.ไข้รากสาดใหญ่ชนิดมีตัวไรเป็นพาหะจะไม่ติดต่อโดยตรงจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ตัวอ่อนของไรเท่านั้นที่สามารถเป็นพาหะนำโรคมาสู่คนได้

@ อาการ

1.ไข้รากสาดใหญ่ชนิดมีเหาเป็นพาหะ ผู้ป่วยจะปรากฏอาการชื้นทันที คล้ายกับอาการ ของไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ และปวดตามร่างกายทั่วไป หรืออาจรู้สึกเจ็บหน้าอกเกิดขึ้น 2-3 วันก่อนที่จะมีอาการรุนแรง

หลังจากนั้นจะมีผื่นเกิดขึ้นประมาณวันที่ 5 หรือ 6ลักษณะเป็นผื่นและมีตุ่มสีชมพูแล้ว

จะค่อยๆกลายเป็นจํ้าเลือด โดยมากผื่นจะขึ้นที่ลำตัว ส่วนบริเวณใบหน้า ศีรษะ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าจะ มีผื่นขึ้นเพียงเล็กน้อย เมื่อขึ้นแล้วจะตามด้วยโลหิตเป็นพิษ จากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ ไข้จะ ลดลงอย่างรวดเร็วในกรณีที่ปล่อยโรคทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา อัตราตายของโรคมีประมาณ 10- 40% โดยเฉพาะผู้สูงอายุจะมีอัตราตายมาก (ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ม้ามจะโต)

2.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีหมัดหนูเป็นพาหะ จะมีลักษณะอาการคล้ายกับชนิดที่มีเหาเป็น พาหะ การกระจายของโรคกว้างขวางกว่า โรคนี้จะเกิดขึ้นได้บ่อยแต่มีอาการไม่รุนแรง มีผื่น และโรคแทรกซ้อนน้อย ไม่ค่อยมีการเสียชีวิตของผู้ป่วย คือมีอัตราการตายของโรคเพียงร้อยละ 2% ถือเป็นโรคระบาดเฉพาะถิ่น จะเกิดในท้องที่ที่มีอากาศอบอุ่น หรือเกิดขึ้นในฤดูร้อน

3.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีตัวไรเป็นพาหะ โรคนี้มีอาการไม่แน่นอน ผู้ป่วยจะมีอาการคล้าย เป็นไข้หวัด หรือมีไข้ประมาณ 2 อาทิตย์แล้วไข้จะค่อยๆลดลงโดยอาการเริ่มแรกจะมีไข้นำก่อน1-5 วัน มีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ หนาวสั่น ปวดศีรษะ มีไข้ต่ำ แล้วติดตามด้วยอาการรุนแรง คือ จะเริ่มมีไข้สูงประมาณ 2-3 วัน ตรงตำแหน่งที่ไรกัดจะมีแผลบวมแดง ตรงกลางแผลมีเนื้อ ตายและมีสะเก็ดสีดำๆปีดรอบๆ คล้ายแผลถูกไฟบุหรี่จี้ เรียกว่าแผลเอสคาร์ (Eschar) ตรง บริเวณที่ไรเกาะ จะมีต่อมนํ้าเหลืองโตโดยเฉพาะตรงบริเวณใกล้กับแผล Eschar หนึ่งในสาม ของผู้ป่วยจะมีผื่นแบบเป็นผื่นแดงๆ (Maculo) และขึ้นบริเวณลำตัวเป็นส่วนมาก ไม่ค่อยมีผื่น ตามแขนขา ผื่นจะหายไปในเวลา 2-3 วัน อาการของโรคนี้มักจะมีอาการไอและปอดบวมร่วม อยู่ด้วย

@การตรวจหาเชื้อและวินิจฉัยโรค

ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีเหาเป็นพาหะ ให้ดูจากอาการและ
1.1 เมื่อนำปัสสาวะของผู้ป่วยมาตรวจ จะพบโปรตีนและมีโลหิตเจือปน

1.2 เจาะโลหิตในวันที่ 5-12 หลังจากมีอาการ นำไปทดสอบพบโลหิตมีแอนตี้บอดี และทำปฏิกิริยากับแอนติเจน ทำให้เกิดเป็นตะกอนขุ่นขึ้น

1.3 เจาะโลหิตใน 2-3 วันแรกของโรคนำไปฉีดในหนู เพื่อที่จะแยกตัวเชื้อโรคริคเคท เชียออกมา ให้ผลทดสอบไวล์-ฟิริคซ์ (Weil-Felix test) บวก

ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีหมัดหนูเป็นพาหะ (เหมือนชนิดที่มีเหาเป็นพาหะ)
ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีตัวไรเป็นพาหะ (เหมือนชนิดที่มีเหาและหมัดหนูเป็นพาหะ)

@ การรักษาพยาบาล

1.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีเหาเป็นพาหะ ให้ยา คลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) หรือ

เตทตราชัยคลิน (Tetracycline hydrochloride)

2.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีหมัดหนูเป็นพาหะ รักษาเช่นเดียวกับชนิดที่ระบาดโดยเหาเป็นพาหะ

3.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีตัวไรเป็นพาหะ รักษา เช่นเดียวกับการรักษาไข้ Epidemic Typhus คือให้ยาปฏิชีวนะพวก เตทตราชัยคลิน (Tetracycline)

โรคอื่นๆที่มีอาการคล้ายโรคไข้รากสาดใหญ่ ต้องแยกโรคออกจากโรคเลพโท สไพโรซิส ไข้รากสาดน้อย ไข้จับสั่น และโรคที่เกิดจากเชื้อริคเคทเชียอื่นๆ

โรคแทรกซ้อน

1.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีเหาเป็นพาหะ อาจมีปอดบวม ไตอักเสบ ฯ

2.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีหมัดหนูเป็นพาหะ (ไม่ค่อยมีโรคแทรกซ้อน)

3.ไข้รากสาดใหญ่ ชนิดมีตัวไรเป็นพาหะ มีโรคแทรกซ้อนได้ง่าย เช่นปอดอักเสบ มีไข้ หากไม่ได้รับการรักษา โรคนี้อาจจะอยู่นานถึง 14 วัน การตายจากสาเหตุนี้พบประมาณ 40 % และคนสูงอายุจะตายมากกว่า

@ การปฏิบัติตน

เมื่อเป็นหรือสงสัยว่าเป็น ไข้รากสาดใหญ่ ควรรีบไปพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำ เกี่ยวกับผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อ ดังกล่าวรายละเอียดไว้ในบทนำ

ที่มา healthcarethai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น