...+

วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

สำคัญที่แรงบันดาลใจ..



บันทึกอันน่าสนใจยิ่งนี้ของคุณลำดวน กระตุกความคิดเรื่อง ภาษาอังกฤษกับวิชาชีพ เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
"..เราลงทุนมากอยู่นะคะกับการส่งเสริมการสอนภาษาอังกฤษ แต่ไม่สำเร็จผลดังต้องการ เพราะ...เรายังไม่ค้นพบวิธีสอนภาษาอังกฤษที่ดีพอ.."
.
ข้าพเจ้าเอง ก็มีประสบการณ์ตรงจาก การโดนปฎิเสธจากแหล่งฝึกอบรมหนึ่งในต่างประเทศ
ด้วยเหตุผล "English proficiency" ดังในบันทึกนี้..
ตอนนั้นรู้สึกเหมือนโดนหมัด เมาไปพักหนึ่ง..แต่เพราะเหตุการณ์นั้น จึงเป็นแรงบันดาลใจสำคัญ
ให้อยากพัฒนารุ่นน้อง ไปพร้อมๆ กับพัฒนาตนเอง
..สิ่งใดๆ ที่เกิดขึ้น นั้นดีเสมอ..
.
เร็วๆ นี้มีผู้เล่าถึง ความสำเร็จในการฝึกพูดภาษาอังกฤษของน้องสาว
โดยที่ น้องสาวเธอ ไม่ได้จบนานาชาติ หรือ ไปเรียนเมืองนอกเป็นปีๆ แต่อย่างไร
ข้าพเจ้าจึงถามเคล็ดลับ
"ตอนเด็กๆ น้องคนนี้ชอบดารานักร้อง บอยแบนด์หนึ่ง อย่างคลั่งไคล้..
น้องถึงขนาดอัดเทปสัมภาษณ์ มาเปิดพูดเลียนสำเนียงให้เหมือนกับดารารูปหล่อคนนั้น
วันดีคืนดี มีคนต่างชาติมาบ้าน คุยกับเธอ
"เขาถึงกับถามว่าเคยอยู่เมืองนอกมาก่อนหรือเปล่า.."
น้องจึงยิ่งมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น
จึงสมัครไป "work and travel" เป็นเวลา 3 เดือน..
เจอเหตุการณ์ นายจ้าง เข้าใจผิดเรื่องบัญชี ตอนนั้นน้องต้องสวมหัวใจเสือพูดยืนยันความบริสุทธิใจ
พอกลับมา ทุกคนในบ้าน ยิ่งตะลึงในความสามารถพูดภาษาอังกฤษแบบน้ำไหลไฟดับ
...
เรื่องนี้ ให้แง่คิดบางประการต่อข้าพเจ้า
ความสำเร็จในการฝึกภาษาต่างประเทศ หรืออาจรวมถึงทักษะใหม่ๆ
.
เริ่มต้น ด้วยแรงบันดาลใจ
ต่อยอด ด้วยแรงบวก
ย้ำด้วย สถานการณ์ที่ท้าทาย
.
ข้าพเจ้าฝันกลางวันต่อไป
ถึงหนึ่งในความตั้งใจ จะยกระดับทักษะภาษาอังกฤษแพทย์ประจำบ้าน
ที่จริงแล้ว หน่วยงานข้าพเจ้าโชคดีมีอาจารย์แพทย์ชาวอเมริกัน เป็นทรัพยากรบุคคลอันมีค่า
ท่านผู้นี้ ได้ช่วยการเรียนการสอน medical english แต่ที่ผ่านมามีท่านทำคนเดียว
น่าจะมีการเสริมทีม ทำกระบวนวิชาให้ชัดเจนและยั่งยืน "ฝังในระบบ" ยิ่งขึ้น
.
จากการสังเกตของข้าพเจ้า..โจทย์เพื่อพัฒนาคือ
1. จะใช้อะไรเป็นแรงบันดาลใจ สำหรับแพทย์ประจำบ้าน ที่โดยมากจบแล้วไปทำงาน โรงพยาบาลชุมชน
- การเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน อาจเป็นเรื่องฟังดูไกลตัว สำหรับเขาหรือไม่?
2. จะมีอะไรเป็นแรงบวก ที่ตรงใจแพทย์ประจำบ้านเหล่านี้
- การพูดชื่นชมให้กำลังใจ เป็นแรงบวกหนึ่ง แต่สักพัก เขาจะเกิด "tolerant" ต่อคำชมนั้นหรือไม่?
- สิ่งใดจะเป็นแรงบวกที่ตื่นเต้น ท้าทาย ได้อย่างไม่รู้จบ
3.ทำอย่างไรให้มีความท้าทายในระดับพอดีๆ
- การเรียนตามสมัครใจ โดยไม่มีการวัดผลจริงจัง มีข้อดีและข้อเสีย
ข้อดีคือ ไม่เพิ่มความเครียดให้กับแพทย์ประจำบ้าน ซึ่งมีภาระงานทางคลินิกอยู่แล้ว ข้อเสียคือ ไม่มีตัวบอกความก้าวหน้า และ ผลลัพท์ที่สามารถนำมาปรับปรุงวิธีการสอน
- วิธีการสอน communication skill ด้วยบทบาทสมมติ ในชาติตะวันตกเป็นที่นิยมมาก แต่เมื่อนำมาลองฝึกให้กับนักศึกษาในบ้านเรา ข้าพเจ้าสังเกต ข้อแตกต่างบางประการคือ
- ผู้ออกไปแสดงบทบาทสมมติโดยความสมัครใจหายาก
- การ feedback จากผู้สังเกตการณ์มีน้อย..และถ้ามี มักเป็นเชิงชื่นชม แต่เห็นความยากลำบากที่จะบอกข้อควรปรับปรุง
และข้อ 4.สิ่งที่หนักใจไม่น้อยคือ..ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าควรจะเริ่มเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างไร ในงานที่มีผู้ทำก่อนอยู่แล้ว โดยไม่ให้อาจารย์ที่ท่านสอนอยู่ มีความรู้สึกว่าโดนแทรกแซง
.
คำตอบ เท่าที่ข้าพเจ้าคิดและค้นคว้าจากบทความนี้ คือ
1. สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจของแต่ละคน
-> ค้นหา "value ของภาษาอังกฤษ" ของแต่ละคน
จากการนำเสนอในชั่วโมงแรก ให้หัวข้อ "เล่าความฝัน ความหวัง เป้าหมายชีวิต ของตนเอง"
2. อะไรเป็นแรงบวก
-> สร้างทัศนคติ "ภาษาอังกฤษ = ความสุขที่จะได้เปิดโลกทัศน์ไม่มีพรมแดน"..
ในชั่วโมง มีกิจกรรมที่สร้างความบันเทิงด้วย เช่น การดูคลิปข่าว/หนัง/เพลงภาษาอังกฤษสั้นๆ แล้วจับใจความนำมาอภิปราย
3. ความท้าทายในระดับพอดีๆ
-> มีตัวอย่างให้ดู แล้วจับคู่ฝึกในห้องแยก ไม่มีการตัดสินโดยผู้อื่น แต่ให้พิจารณาตนเอง หากต้องการหาข้อปรับปรุง สามารถขอให้มีผู้สังเกตการณ์ได้
-> แต่มีการสอบปฎิบัติเพื่อวัดผลจริงจัง ในทักษะที่สำคัญต่อวิชาชีพ คือ การใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับผู้ป่วย ในสถานการณ์บางอย่างที่ท้าทาย กว่าการใช้ในชีวิตประจำวัน หรือการตรวจผู้ป่วยนอกธรรมดา
เช่น การแจ้งข่าวร้าย , การหารือถึงเป้าหมายการรักษาร่วมกัน, การบอกความจริงถึงการรักษาที่ผิดพลาด เป็นต้น
ดังที่เอกสารอ้างอิง กล่าว
"New paradigm of Medical English.. is taught from the perspective of medicine and health care first and foremost while reinforcing vocabulary acquisition, grammar and structure secondly. The focus is safety-to-practice.."
.
ส่วน ข้อ 4...(มองหาตัวช่วยอยู่คะ
.
อย่างไรก็ตาม ครูแพทย์ มิได้รับการฝึกฝนให้เป็น ครูภาษาอังกฤษ
ข้าพเจ้ารู้สึกตนเองมีข้อจำกัดอยู่ไม่น้อย
หากท่านใดมีข้อเสนอแนะ ยินดีเป็นอย่างยิ่งคะ จะเป็นประโยชน์ ต่อการเขียนในแผนงานต่อไป
.
.
If you think you will never speak english well
because you are Thai..watch this video..
http://www.gotoknow.org/posts/468262
ที่มา http://www.gotoknow.org/posts/468262

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น