...+
▼
วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
อย่าได้จุ่มลวกช้อนส้อม
เรื่อง กินเรื่องใหญ่ ใครๆ ก็รู้ และเพื่อสิ่งที่ดีกว่า เราต่างก็มีความพิถีพิถันเสาะหาสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อให้มื้ออาหารนั้นมีความปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายของเรา การเลือกสรรอุปกรณ์การกินที่เรารู้สึกว่าสะอาดปลอดภัยก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ ผู้บริโภคทำอย่างสม่ำเสมอ ขอเปลี่ยนได้ก็ขอ เช็ดได้ก็เช็ด(แม้ ว่าจะต้องใช้กระดาษทิชชู่สีชมพูก็ตาม) และอีกอย่างหนึ่งที่ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมการกินของเราที่พบมากขึ้น เรื่อยๆ โดยเฉพาะบริเวณศูนย์อาหารในศูนย์การค้า หรือโรงอาหารในสถาบันต่างๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ คือหม้อหุงข้าวเปิดฝาบรรจุน้ำร้อนสำหรับให้ผู้บริโภคนำช้อนส้อมตะเกียบมาลวก ฆ่าเชื้อโรค
กล่าว กันว่า การลวกช้อนส้อมได้กลายมาเป็นที่นิยมในประเทศไทยหลังจากมาตรการควบคุมการ ระบาดของโรคไวรัสตับอักเสบเอที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งทำให้ศูนย์อาหารหลายแห่งนำไปใช้บ้างจนหม้อหุงข้าวลวกอุปกรณ์การกินแพร่ กระจายไปทั่วประเทศ หลักการของการจุ่มลวกช้อนส้อมเหล่านี้ ก็มาจากการที่เราทราบกันว่า น้ำร้อนสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ เชื้อโรคที่น่ากลัวเหล่านั้น ก็คือพวกจุลินทรีย์ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า พวกไวรัส และแบคทีเรียก่อโรคต่างๆ ที่หากร่างกายได้รับเข้าไปแล้วนั้น จะทำให้มีอาการเจ็บป่วยตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนร้ายแรงถึงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นทำให้ผู้บริโภคท้องเสีย อาเจียน เป็นโรคต่างๆ ปวดศีรษะ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ นั่นก็คือสาเหตุที่ทำให้คนเราเกลียดชังเชื้อโรคกันมาก และหวังว่าจะสามารถกำจัดออกไปจากอุปกรณ์ช้อนส้อมของเราได้ด้วยตนเอง
แต่ การทำลายเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ต้องการอุณหภูมิที่สูงกว่า98 องศาเซลเซียส และใช้เวลานานถึง4 นาที คำถามจึงมีอยู่ว่า ถ้าเช่นนั้น ลวกเพียงครู่เดียวแล้วได้อะไรขึ้นมา
การ แก้ปัญหาเบื้องต้นสำหรับผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็คือ ยืนจุ่มช้อนส้อมและจับเวลาให้ได้4 นาที เพื่อให้ได้ช้อนส้อมที่สะอาดปราศจากเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ แต่ปัญหาของน้ำร้อนในหม้อหุงข้าวตามศูนย์อาหารทั่วไปความจริงแล้วคือ อุณหภูมิน้ำไม่สูงพอที่จะทำลายเชื้อโรคได้ นอกจากจะไม่ทำให้เชื้อโรคตาย ยังทำให้เชื้อโรคเพิ่มจำนวนมหาศาลสะสมอยู่ในน้ำนั้นอีกด้วย ด้วยความที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกชั่วโมง และที่สำคัญในการเอาตัวรอดของสิ่งมีชีวิตตัวอย่างเช่นแบคทีเรียบางพวก ซึ่งโดยปกติแล้วสามารถเจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิหนึ่งๆ อย่าง 20-45 องศาเซลเซียส หากเรานำไปจุ่มในน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า45 องศา เซลเซียส แต่เป็นอุณหภูมิที่ยังไม่สามารถฆ่าแบคทีเรียเหล่านั้นให้ตายได้ ถือว่าเราได้สร้างสภาวะความเครียดต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่แบคทีเรีย เป็นสัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิตในการดำรงเผ่าพันธุ์นั่นเองที่ทำให้แบคทีเรีย เพิ่มจำนวนขึ้นอีกมากมายเพื่อให้รุ่นต่อไปอยู่รอดได้มากที่สุดเนื่องจากมัน รู้สึกว่า วิกฤตของชีวิตได้มาถึงแล้ว
ฉะนั้น จะเห็นได้ว่า การจุ่มลวกด้วยระยะเวลาสั้นๆ และอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม รังแต่จะทำให้มีเชื้อโรคปนเปื้อนมากับอาวุธรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้นไปกว่า เดิมเสียอีก หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มักลังเล ไม่กล้าที่จะจุ่มลวกช้อนส้อมลงในหม้อหุงข้าวเหล่านั้นก่อนนำไปใช้ และอาจต้องทำหน้าเบ้เมื่อเห็นเศษข้าวลอยปนอยู่ในหม้อนั้นอีกต่างหาก ดิฉันขอสนับสนุนให้คุณทำหน้าเบ้ต่อไป และ อย่าได้เอาช้อนส้อมและตะเกียบของคุณไปจุ่มลงในน้ำร้อนนั้นอีกเลยนะคะ
อ่านแล้ว เรา ไม่ลวกเลย ยิ่งเพิ่มเชื้อโรค เอาทิชชู้เช็ดแทน ค่ะ..
แนะนำนวัตกรรมที่ใช้ฆ่าเชื้อแทนการจุ่มช้อนในน้ำร้อนค่ะ. www.dkhthailand.com
ตอบลบ