เวียนศีรษะมีหลายสาเหตุ. หนึ่งในนั้นคือ น้ำในหูไม่เท่ากัน...
*** เวียนหัว จากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน***
คนไข้ มีอาการเวียนศีรษะ มักถูกเหมาเอาว่าเป็นโรคน้ำในหูชั้นในไม่เท่ากัน ถึงกับมีคนไข้เข้าใจผิดคิดว่า เกิดจากน้ำเข้าไปในหูขณะอาบน้ำ ทำให้เกิดอาการขึ้นมาจริง ๆ แล้ว ตำแหน่งที่เกิดโรคคือ หูชั้นใน ที่อยู่ลึกเข้าไปหลังแก้วหู ไม่เกี่ยวกับน้ำเข้าหูจากภายนอก
ในหูชั้นใน ประกอบด้วยระบบการทรงตัวและระบบการได้ยินที่อยู่ติดกัน ในระบบนี้มีน้ำอยู่ภายใน แต่ถ้ามีความผิดปกติใด ๆ ก็ตามที่ทำให้ ปริมาณน้ำเพิ่มมากผิดปกติ ก็จะทำให้การไหลเวียนไม่ สะดวก ขัดขวางการทำงานของกระแสประสาททั้ง การได้ยินและการทรงตัว ก็จะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะทรงตัวไม่ดี สูญเสียการได้ยิน และตึงๆ หน่วงๆ ในหูข้างนั้น
โรคน้ำในหูชั้นในไม่เท่ากัน หรือ โรคเมเนียร์ (Meniere's disease) พบค่อนข้างบ่อย เป็นโรคที่พบอันดับสองของสาเหตุอาการเวียนศีรษะ มักเป็นหูข้างใดข้างหนึ่งก่อน และมีประมาณ 15-20% ที่เป็นหูทั้งสองข้าง
สาเหตุของโรค
- ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
- กลุ่มที่มีปัจจัยที่อาจจะเป็นสาเหตุ เช่น
1. กรรมพันธุ์ มีโครงสร้างหูชั้นในผิดปกติ แต่กำเนิด
2. โรคภูมิแพ้
3. การติดเชื้อไวรัส, หูชั้นกลางอักเสบ, หูน้ำหนวก, ซิฟิลิส
4. ประวัติเคยประสบอุบัติเหตุที่ศีรษะ
5. โรคทางกาย เช่น เบาหวาน, ไทรอยด์, ไขมันในเลือดสูง
อาการของโรค
1. อาการเวียนศีรษะ อาการเกิดขึ้น ทันทีทันใด อยู่เฉยๆ ก็เป็นขึ้นมาและคงอยู่นาน เกินกว่า 20 นาที (บ่อยครั้งที่เป็นนานหลายชั่วโมง) และอาจรุนแรง แต่ไม่ทำให้หมดสติ หรือเป็นอัมพาต นอกจากนี้อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก, คลื่นไส้, อาเจียน
2. การได้ยินลดลง ขณะมีอาการเวียน ศีรษะ ซึ่งระยะแรกอาจเป็นๆ หายๆ การได้ยินมักจะดีขึ้นเมื่ออาการเวียนศีรษะหายไป แต่ถ้าเป็นซ้ำ ๆ กันหลาย ๆ ครั้ง การได้ยินมักจะเสื่อมลงเรื่อย ๆ และไม่กลับคืนมา จนหูตึงได้
3. หูอื้อ เสียงดังในหู ซึ่งเกิดขึ้นในหูข้าง ที่ผิดปกติ อาจเป็นตลอดเวลา หรือเฉพาะเวลาเวียนศีรษะก็ได้
4. อาการหนักๆ หน่วงๆ ในหู คล้าย มีแรงดันในหู บางคนอาจบอกว่าปวดหน่วง ๆ ความถี่ของอาการแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนเป็นปี ละครั้ง บางคนเป็นหลาย ๆ เดือนครั้ง ไม่แน่นอน
การวินิจฉัย
การซักประวัติอย่างละเอียด และการตรวจร่างกายจะช่วยในการวินิจฉัย ถ้าคนไข้มาด้วยอาการครบ 3-4 อย่าง ดังกล่าวก็มักให้การวินิจฉัย ซึ่งพบว่า 50% เท่านั้น ที่มีอาการเด่นชัด ในกรณีที่อาการไม่ชัดเจน ก็จำเป็นต้องอาศัยการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เพื่อช่วยในการวินิจฉัย ดังนี้
1. การตรวจการได้ยิน (Audiogram)
2. การตรวจการทรงตัว (Electrony stagmography ; ENG)
- เพื่อดูว่าเป็นหูข้างใด ที่มีพยาธิสภาพ
- ความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน
- แยกโรคจากเวียนศีรษะที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลาง
- พบว่า 50% ของผู้ป่วยน้ำในหูชั้นใน ไม่เท่ากัน มีความผิดปกติของการตรวจนี้
3. การตรวจคลื่นไฟฟ้าในหูชั้นใน (Electro cochleography; ECOG) เป็นการวัดการได้ยินระดับหูชั้นใน พบว่า มีความไว 65-70% ในการ ตรวจพบความผิดปกติของคนไข้ แต่มีความเฉพาะเจาะจงสูง (Specificity) 95% (คือถ้าตรวจออกมาได้ผลบวก ค่อนข้างมั่นใจว่าเป็นโรคนี้)
4. การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory Brainstem Response; ABR) เป็นการวัดการได้ยินระดับก้านสมอง เพื่อแยก โรคที่เกี่ยวกับเส้นประสาทการได้ยินหลังหูชั้นใน เข้าไปอีก เช่น การตรวจหาเนื้องอกที่ประสาทการ ได้ยิน
5. การทำ เอ็มอาร์ไอ หรือ ซีที สแกนสมอง และหูชั้นใน มักไม่จำเป็นในการวินิจฉัย แต่อาจใช้กรณีช่วยแยกโรคที่สงสัยว่าเกิดจากเนื้องอกที่เส้นประสาทการได้ยินหรือการทรงตัว
การรักษา
1. การปฏิบัติตัว
- ขณะมีอาการควรหลีกเลี่ยงการขับรถ, การยืนที่สูง
- พักผ่อนให้เพียงพอ การอดนอนมักกระตุ้นให้มีอาการ
- งดอาหารเค็ม
- พยายามลดความเครียด
- งดเหล้า, บุหรี่, ชา, กาแฟ
- หลีกเลี่ยงเสียงดังมาก ๆ
- การบริหารประสาทการทรงตัว จะทำให้สมองปรับตัวเร็วขึ้น
2. การให้ยา 80% จะหายได้ด้วยการให้ยา ได้แก่
- ยาขับปัสสาวะ
- ยาขยายหลอดเลือด
- ยาแก้อาการเวียนศีรษะ
- ยาแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน
- ยากล่อมประสาท หรือยานอนหลับ
3. การฉีดยา Gentamicin เข้าหูชั้น กลาง เพื่อให้ซึมเข้าหูชั้นใน เพื่อควบคุมอาการ เวียนศีรษะ ใช้ในกรณีที่กินยาไม่ได้ และยังเวียน ศีรษะอยู่
4. การผ่าตัด ใช้ในกรณีคนไข้มีอาการมาก และรักษาวิธีการใช้ยาข้างต้นไม่ได้ผล
ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท
* * *
ความประทับใจเกิดขึ้นทุกการเดินทางเสมอ กับเมจิกออนทัวร์
มาร่วมสัมผัสความประทับใจอีกหลากหลายมุม กับหลายเส้นทางท่องเที่ยว หลายโปรแกรมทัวร์ที่น่าสนใจ
คลิกดูรายละเอียดต่างๆที่
Website : http://เมจิกออนทัวร์.blogspot.com
Facebook : http://www.facebook.com/magicontours
Twitter : http://twitter.com/magicontour
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น