ลองดู
ตุลาการรัฐธรรมนูญ ตามรธน.2550
1.ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับจำนวน 3 คน
2.ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับจำนวน 2 คน
3.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความสามารถเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริง และได้รับเลือกตามมาตรา 206 จำนวน 2 คน
4.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา206จำนวน 2 คน
......
คณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญของนิติราษฎร์
ตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ 8 คนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของประธานรัฐสภา โดยมาจากบุคคลซึ่งได้รับเลือกโดย
1.สภาผู้แทนราษฎร 3 คน
2.วุฒิสภา 2 คน
3.คณะรัฐมนตรี 3 คน
โดยที่ตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญซึ่งมาจากการเลือกของสภาผู้แทนราษฎรอย่างน้อย 1 คนต้องเป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษาในศาลฎีกาหรือตุลาการในศาลปกครองสูงสุด
ตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญซึ่งมาจากการเลือกของวุฒิสภาอย่างน้อย 1 คนต้องเป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษาในศาลฎีกาหรือตุลาการในศาลปกครองสูงสุด
.......
เห็นได้ชัดว่า นิติศาสตร์โยนตำแหน่งตุลาการไปไว้ในมือนักการเมือง เพราะมาจากรัฐบาล 3 คน มาจากสภาผู้แทนราษฎร์ 3 คนก็มาจากฐานเดียวกัน ส่วนวุฒิสภาส่วนใหญ่ก็เป็นที่รู้ๆกันอยู่ว่าอยู่ในอุ้งมือของนักการเมืองที่สั่งให้ซ้ายหันขวาหันได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น