...+

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สุนทรียศาสตร์เชิงพุทธในผ้าทอเมืองน่าน = Buddhist aesthetics in Nan Textiles


สุนทรียศาสตร์เชิงพุทธในผ้าทอเมืองน่าน = Buddhist aesthetics in Nan Textiles

เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจในแง่สัญลักษณ์และสุนทรียศาสตร์ในผ้าทอฯ
ทำให้เราได้ทราบความหมายเชิงสัญลักษณ์  สุนทรียศาสตร์  ความงดงาม เชิงพุทธศาสนาที่มีในผ้าทอของไทย
จึงขออนุญาติประชาสัมพันธ์งานวิจัยนี้

สุนทรียศาสตร์เชิงพุทธในผ้าทอเมืองน่าน = Buddhist aesthetics in Nan Textiles

ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ สุนทรียศาสตร์เชิงพุทธในผ้าทอเมืองน่าน

ผู้เขียน นายนาวิน ปัญญาหาญ
ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ปรัชญา)

คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
อาจารย์ ดร.พิสิฎฐ์ โคตรสุโพธิ์ ประธานกรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อินทนนท์ กรรมการ
อาจารย์ ดร.สมหวัง แก้วสุฟอง กรรมการ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง สุนทรียศาสตร์เชิงพุทธในผ้าทอเมืองน่าน มีวัตถุประสงค์คือ
เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความงามเชิงพุทธในผ้าทอเมืองน่าน
การศึกษาใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสารและการวิจัย
ภาคสนาม ด้วยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ โดยใช้แบบสำรวจความคิดเห็นกับ
ผู้ทอผ้าในกลุ่มทอผ้าที่ได้กำหนดเป็นพื้นที่ทางการศึกษา คือ หมู่บ้านซาวหลวง บ้านนามน และ
บ้านป่าฝางสามัคคี ตำบลสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

ผลการศึกษาพบว่า ความงามในพุทธศาสนา ถือว่า ความงามแห่งศีล สมาธิ ปัญญา
เป็นความงามสูงสุด ถ้าหากการใช้ศิลปะมาส่งเสริมในเรื่องความงามดังกล่าวให้คนได้ตระหนักรู้ถึง
ความจริงในศาสนาและอุดมคติแห่งตน ตลอดจนถึงสรรพสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้  การตระหนักถึงความจริงที่แท้จริง
การทอผ้าภายใต้วัฒนธรรมพุทธศาสนาแบบพื้นบ้านเมืองน่าน
มีจุดมุ่งหมาย เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์สุนทรียะ ประสบการณ์สุนทรียะนี้หากเป็นประสบการสุนทรียะทางศาสนาแล้ว
ความศรัทธาจะเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ลวดลายผ้าอีกด้วย

โดยเฉพาะความศรัทธาในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เช่นคำสอนที่เกี่ยวกับมนุษย์ เทพเทวดา นรกสวรรค์
และชีวิตหลังตายหรือแม้กระทั่งเรื่องวิญญาณความเชื่อเหล่านี้สามารถสั่งสมเป็นประสบการณ์สุนทรียะ
แล้วได้ถ่ายทอดความรู้สึกนั้นเป็นสัญลักษณ์เป็นลวดลายลงบนผืนผ้าได้อย่างสร้างสรรค์ตามจินตนาการ
ของผู้ทอผ้าเป็นกิจกรรมที่ควบคุมเทศะเพื่อบรรลุการแสดงออกซึ่งอารมณ์แห่งความงาม ศีล สมาธิและปัญญา
เป็นจุดมุงหมายและสร้างเสริมพอกพูนให้เนื้อแท้ของชีวิตมีเรื่องราว สีสัน ให้เกิดคุณค่าแก่ร่างกายและจิตใจ
เป็นคุณค่าที่เกิดจากวิธีคิดปัญญา ไม่ใช่ภาวะตัณหาจากรูปภายนอกแต่เพียงอย่างเดียว

ซึ่งเป็นหลักการที่ดีตามแนวทางศาสนาได้ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้การทอผ้าของผู้หญิงเมืองน่าน ยังได้แสดงให้เห็นถึงบริบทต่างๆเชิงประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์
ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมไทลื้อ ไทยวน และไทลาว ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญต่อแผนพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน
เพื่อการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ตกทอดมาแต่บรรพบุรุษถือได้ว่าเป็นทรัพยากรอันมีคุณค่ายิ่ง
แต่กระแสโลกาภิวัฒน์แบบสมัยใหม่ นับวันจะพามรดกเหล่านี้เลือนรางหายไป
คุณค่าจะกลายเป็นเรื่องราคาแต่ประการเดียว ในที่สุดการแสวงหาเป้าหมายที่ดีงามในชีวิตมนุษย์ที่ควรพึงประสงค์บางอย่างก็จะล้มเหลว

ที่มา...ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (CMU e-Theses)
สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากวิทยานิพนธ์ (Theses)
และการศึกษาค้นคว้าอิสระ (Independent Study)
ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2519 - 2553

ทุกท่านสามารถดาวน์โหลดและอ่านเพิ่มเติมได้ที่

http://ss.lib.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/fulltext.php?id=20697#

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น