...+

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

“อ.พิชาย” วิเคราะห์ขุมกำลังมวลชน ลุ้นฉากจบสิ้นระบอบทุนสามานย์



“อ.พิชาย” ชี้พันธมิตรฯ ยังผนึกกำลังเหนียวแน่น มีทิศทางจังหวะเคลื่อนไหวชัดเจน ยกให้เป็นพลังหลักขับไล่ระบอบทุนสามานย์ ต่างจากกลุ่มอื่นที่ยังมีจุดอ่อนอยู่ เชื่อหากมีแนวโน้มว่าจะยับยั้ง พ.ร.บ.ปรองดองได้สำเร็จ รัฐบาลอาจหน้ามืดสั่งสลายการชุมนุม จุดชนวนแตกหักอาจถึงขั้นสิ้นสุดของระบอบเผด็จการทุนสามานย์
      
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 31 พ.ค. เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองคณบดีคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้วิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ หากรัฐบาลดันทุรังขับเคลื่อน พ.ร.บ.ปรองดองฯ ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว พิชาย รัตนดิลก ณภูเก็ต ตามข้อความดังนี้
      
       1. การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร : กองกำลังภาคประชาชนที่นำโดยพันธมิตรฯ ยังคงมีความเหนียวแน่นและยืนหยัดด้วยจิตใจนักต่อสู้ มีวินัยในการเคลื่อนไหวสูง มีจังหวะก้าวชัดเจน แกนนำกุมสภาพได้ มีประสบการณ์การสูงในการเคลื่อนไหว มีการใช้ยุทธวิธีที่หลากหลาย ยืดหยุ่น และที่สำคัญแกนนำกับมวลชนเป็นหนึ่งเดียวกัน พันธมิตรจึงเป็นพลังหลักในการยับยั้ง ขับไล่ และขจัด ทักษิณและเหล่านักการเมืองทุนสามานย์
      
       2 กลุ่มเสื้อหลากสี : มวลชนไม่มากนัก แต่แกนนำกุมสภาพมวลชนได้เพียงบางส่วน มีบางส่วนอาจใจร้อนและหวังผลโดยเร็ว ซึ่งอาจทำให้เกิดเหตุไม่คาดหมายได้ ดังนั้นแกนนำควรเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น
      
       3. มวลชน ปชป. กลุ่มสายล่อฟ้า : ปชป. ประกาศให้มวลชนตนเองออกมาชุมนุมอย่างเต็มตัวและเป็นทางการ เนื่องจากสองวันที่ผ่านมา ประสบกับทางตันต่อการทำหน้าที่ในสภา ส.ส. ปชป. ใช้ชื่อกลุ่มมวลชนของตนเองว่าสายล่อฟ้า
      
       3.1 ผู้สนับสนุน ปชป. ในกทม. ที่จะเดินออกมาสู่ท้องถนน อาจมีจำนวนไม่มากนัก
      
       3.2 หากต้องการคนจำนวนมาก ส.ส.ปชป. ก็คงต้องใช้แนวทางเดียวกับที่ นักการเมืองของเพื่อไทย ใช้ในการจัดการให้มวลชนเสื้อแดงมาชุมนุมในกรุงเทพ
      
       3.3 พรรค ปชป.ชักชวนคนมา โดยไม่ยังไม่ชัดเจนว่าจะให้ใครเป็นแกนนำมวลชน เพราะตัวหลักที่พอจะพูดจากับมวลชนได้ และมีประสบการณ์ด้านมวลชนอยู่พอสมควร อย่างวัชระ หรือเทพไท ก็ต้องไปทำหน้าที่ในสภา นอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลง
      
       3.4 หากนัดมวลชนมาโดยขาดความชัดเจน อาจทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเหตุไม่คาดหมายได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นหาก ปชป. จะเคลื่อนไหวมวลชน ก็ควร จัดตั้งแกนนำมวลชนให้รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง และอยู่กับมวลชนในเวทีนอกสภาตลอดเวลา
      
       4. สำหรับมวลชนลัทธิแดง : มีจำนวนไม่น้อยที่กระเหี้ยนกระหือรือ เข้าร่วมการชุมนุมด้วย แต่จะเป็นการชุมนุมเพื่อสนับสนุนรัฐบาลและร่าง พ.ร.บ. ปรองดอง เป็นหลัก หรืออาจอยากจะเข้ามาก่อกวนการชุมนุมของภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ ส่วนเสื้อแดงในสังคมออนไลด์ ที่ไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ. ปรองดอง ไม่ค่อยมีน้ำยาอะไรมากนัก
      
       5. ส.ส.ทาสทักษิณ : คงจะทำตามคำสั่งอย่างแข็งขัน ดึงดันให้มีการรับร่าง พ.ร.บ.ปรองดองในวาระแรกให้ได้ในสมัยประชุมนี้ โดยไม่แยแสว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้างกับบ้านเมือง ขณะที่ ส.ส.ทาสแม้ว
      
       6. หากภาคประชาชนสามารถใช้ยุทธวิธีที่มีแนวโน้มว่าจะยับยั้ง พ.ร.บ. ปรองดองได้สำเร็จ รัฐบาลและทักษิณ อาจหน้ามืดสั่งกองกำลังตำรวจคอมมานโดเข้าปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรง
      
       7. หากรัฐบาลและทักษิณทำแบบนั้น สิ่งที่ตามมาก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะนำไปสู่การสิ้นสุดของระบอบเผด็จการทุนสามานย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น