...+

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สัสสตทิฏฐิ หนังสือธรรมประทีป ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย หลวงปู่เปรม เปมงฺกโร

หนังสือธรรมประทีป ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย หลวงปู่เปรม เปมงฺกโร


   สัสสตทิฏฐิ

ความเห็นว่าโลกเที่ยง เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ ทิฏฐินี้จัดเป็น มิจฉาทิฏฐิ
เป็นตัวร้ายสำคัญเสมอกันกับ 
อันตคาหิกทิฏฐิ ที่พูดแล้ว

เป็นที่เกรงกลัวกันมาก พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เข้าใกล้ได้ 


ใครทำความเห็นให้พ้องกับทิฏฐินี้ ก็จัดเป็นพวก 
สัสสตทิฏฐิ
มีโทษต้องเป็นหัวตอปักประจำโลก
ห่างไกลจากพระนิพพานลิบอีกเหมือนกัน ให้กู่จนเสียงหลงก็ไม่ได้ยิน


แต่ทิฏฐินี้มีหลักฐานดี
เมื่อเข้าใจเรื่องก็สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นจากเขตวิสัยได้ง่ายๆ

แต่เมื่อไม่ได้ความเข้าใจก็ให้เห็นไปว่า เลี่ยงหลีกให้พ้นได้ยาก 
เพราะไม่เข้าใจความมุ่งหมาย
กลับเป็นอันตรายแก่ความเห็นที่ถูกทางเพิ่มเข้าอีก

ด้วยเอา สัสสตทิฏฐิ ปลอมๆ หลอกๆ มาขู่เข็ญกันให้กลัวเกรง
ฝืนอำนาจแห่งสัจจธรรม


เพราะเหตุนี้คนผู้ไม่รู้จัก สัสสตทิฏฐิ
ก็มักยก สัสสตทิฏฐิ นี้ขึ้นคัดค้านเรื่องที่ดีที่ชอบประกอบด้วยเหตุผล
ทำคนผู้เจ้าของเรื่อง ให้รวนเรลังเลใจ
เสื่อมเสียไปจากความเห็นอันดีอันชอบของตนได้
สัสสตทิฏฐิ เป็นของชนภายนอกพระพุทธศาสนา มีมานานก่อนพุทธกาล
เข้าใจกันว่ามีในศาสนาพราหมณ์


เพราะฉะนั้น พุทธศาสนิกชน จะทำความเห็น
ให้แวะเวียนเข้าใกล้เขตวิสัยแห่ง สัสสตทิฏฐิ นี้ไม่ได้
 

คำอธิบายบางตำรากล่าวว่า
ความเห็นว่าสัตว์ตายแล้ว
จิตเป็นธรรมชาติที่ไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นต่อไป

ความเห็นอย่างว่านี้เป็น มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด จัดเข้าเป็น 
สัสสตทิฏฐิ
หรือแม้เห็นว่าในอัตภาพของคนอันประชุมพร้อมด้วยรูปธรรม นามธรรมนี้
มีอะไรอยู่สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นของยั่งยืนไม่ตายหายสูญ

เขาก็จัดเป็น มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด เข้าใน สัสสตทิฏฐิ เหมือนกัน

เมื่อเช่นนั้น,ที่ได้อธิบายกันมาแล้วในเบื้องต้นว่า
สามัญสัตว์โลก มี อสังขตะ ซึ่งเป็นของไม่ตายไม่หายสูญ
อยู่ด้วยกันทุกคน ทุกตัวตน
 นั้นก็ดี
คนตายแล้ว จิตย่อมไม่ตาย สืบภพชาติต่อไปอีก นั้นก็ดี
ก็เข้าในลักษณะแห่ง สัสสตทิฏฐิ ที่ว่านี้
ผู้แต่งหนังสือฉบับนี้ ก็เป็นพวก สัสสตทิฏฐิ
เป็นคนเห็นผิดนอกพระพุทธศาสนาไปแล้วนะซิ


ก็เขาเห็นกันอย่างไรเล่า จึงนับว่าถูก ไม่เป็น สัสสตทิฏฐิ
คือ ต้องเห็นว่าจิตนั้นเป็นธรรมชาติเกิดดับ จิตตายหายสูญ

และในอัตภาพของคนอันประชุมพร้อมด้วยรูปธรรม นามธรรมนี้
ไม่มีอะไรเป็นสาระ ปราศจากแก่นสาร ไร้ประโยชน์ มีแต่ลามกปฏิกูล
เป็นของสูญ หาชิ้นดีอะไรมิได้ เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา สิ้น

นี้แหละคือ ความเห็นถูก เห็นชอบ ที่นิยม
พ้นจาก สัสสตทิฏฐิ เป็นของพุทธศาสนา
ขอเพิ่มเติมให้อีกว่า ทำความเห็นเอาเท่าที่ว่านั้นก็พอแล้ว
ไม่ต้องเลือกเฟ้นอะไรอีกต่อไป จะต้องศึกษาเล่าเรียนให้มากไปทำอะไร
เพราะในที่สุดก็จะต้องเป็นอย่างที่ว่านั้นอย่างไรอยู่


ก็ในอัตภาพของสัตว์โลก สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ 
จิต 
ซึ่งเป็นผู้ปกป้องครองอัตภาพ รับผิดชอบให้ทำดีและทำชั่ว
ก็ถ้าหากว่า จิตเป็นของเกิดดับ เป็นของตายหายสูญได้แล้ว
คนตายแล้ว จิตไม่มีร่างกายจะอาศัย
ก็ต้องดับตายหายสูญไปตามกาย
 จะเอาอะไรที่ไหนไปเกิดอีก
กิเลสอาสวะบุญ บาป ความดีชั่วอยู่ที่จิต ก็ดับสูญหายไปตามจิต
หรือว่า ร่างกายตั้งขึ้นใหม่ จิตก็เกิดใหม่
เมื่อเช่นนั้น กิเลสอาสวะ บุญ บาป ความดีชั่วเป็นส่วนเก่าไม่มี
ก็ต้องเป็นของใหม่ทั้งนั้นเหมือนกัน
ก็วิบากผลแห่งการทำดีและทำชั่วเล่า จะรับกันท่าไหน

เช่นว่า จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นเป็นอกุศล ให้ประพฤติชั่วแล้วดับไป
ใครเล่าจะรับวิบากผลแห่งการประพฤติชั่วนั้น
หรือว่าจิตดวงที่เกิดต่อๆไปนั้นแล
เป็นผู้รับวิบากผลแห่งการประพฤติดีชั่วแห่งจิตก่อนๆ

ถ้าเช่นนั้น นายดำทำชั่ว แล้วใช้ผลให้แก่นายแดงก็ได้
คนที่ตายไปแล้วแต่ก่อนๆทำชั่วไว้
คนภายหลังซึ่งเกี่ยวข้องกัน ต้องรับผลแห่งการทำชั่วของคนก่อนๆก็ได้

เมื่อทำดีและชั่วแทนกันได้ เวลานี้ยังไม่มีใครริขายบุญ จำนำบุญ ขโมยบุญ
ก็ควรจะขายบุญ จำนำบุญ ขโมยบุญกันขึ้นบ้างก็ได้
คนมีเงิน ขี้เกียจบำเพ็ญบุญจะได้สะดวกขึ้
ถ้าไม่เป็นเช่นว่า วิบากแห่งการทำดีและทำชั่ว
ก็ต้องใช้กันอย่างเร็วให้ทันชั่วขณะจิตที่ดับไป 

เมื่อดับไปแล้ว ก็ต้องเป็นอโหสิกรรม เป็นกรรมไม่มีผลทั้งดีและชั่ว 


ในพระพุทธศาสนา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า
การทำดีและทำชั่วนั้น เป็น อสาธารณ์ ไม่ทั่วไปแก่คนอื่น
ของใครก็ของใคร

และใครจะทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ก็ไม่ได้
เพราะทำให้บริสุทธิ์แล้วดับไปเสียเกิดโสมมมาใหม่
ปฏิบัติจิตอยู่สักพันชาติ ก็ไม่รู้จักเสร็จสิ้นได้


ถ้าไม่เป็นเช่นกล่าวมานี้
จิตก็ไม่ใช่เป็นธรรมชาติเกิดดับ ไม่ใช่เป็นของตายหายสูญ
สิ่งที่สูญไปแล้วจะกลับมีขึ้นอีกไม่ได้
ถ้าจะมีขึ้นอีกได้จะเรียกว่า สิ่งนั้นสูญ ก็ผิด

หรือว่า จิตนั้นดับสูญไปจริงๆ ไม่กลับเกิดอีกได้ ที่เกิดใหม่ก็เป็นจิตใหม่
ถ้าเช่นนั้น จิตใหม่นั้นนานไปก็จะหมด

แม้คำว่า ดับ หรือ ตาย ก็เหมือนกัน ก็เท่ากับคำว่า สูญ
ดับตายไปแล้ว จะมีขึ้นอีกไม่ได้
เว้นแต่หาย คือ หายตัวไปแต่กลับมีมาอีกได้
ความจริงคำว่า ดับ ตาย สูญ ใช้ได้เฉพาะ สังขารธรรม
ซึ่งเป็น ลักษณะอาการกิริยาอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจเหตุปัจจัย ดั่งว่าแล้ว

อย่างกิริยากรรมแห่งกายและวาจาของคนเราในวันหนึ่งๆ
เราอาจสำแดงอาการกิริยาได้หลายสิบอย่างหลายสิบเท่า
ตามแต่เหตุปัจจัยปรุงให้เป็น
แต่แล้วก็ดับสิ้นสูญไปหมด ไม่มีอะไรเหลือ ฉะนั้น
 
ก็ถ้าหากว่า จิตเกิดดับตายสูญแล้ว
จิตก็ต้องเป็นลักษณะอาการของรูปธาตุทั้ง ๔ หรือเป็นของอะไรสิ่งหนึ่ง
ต้องหาสิ่งนั้นซึ่งเป็นตัวประธานมาให้ได้
  
ถ้าไม่ได้ ก็ จิต นั้นเอง เป็น ตัวประธาน อยู่แล้ว
นามขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เหล่านี้เป็น กิริยากรรมของจิต
เวลานอนหลับสนิท นามขันธ์ ๔ เหล่านั้นก็ดับหมด
เพราะจิตไม่ติดต่อกับอารมณ์ภายนอก
หยุดกิจกรรมการงานเหมือนคนพักผ่อน
แต่ตัวจิตยังอยู่ ควรเรียกว่า จิตฺตนิลินา ความเร้นแห่งจิต
หรือ
 เจตโส ลีนตฺตํ ความเร้นซ่อนตัวแห่งจิต
โดยถีนมิทธะนิวรณ์ครอบงำ,สติไม่คุมตัวเท่านั้น
จิต เป็น ตัวประธาน เป็น ผู้บงการอำนวยการ จะดับสูญหายไปไม่ได้
เป็นฐานะ ที่ตั้งที่เกิดของ นามธรรม ทั้งปวง
คำว่า สมาธิ ตั้งมั่น ก็หมายถึง จิต ที่ตั้งมั่นโดยลำพังตนเอง
คำว่า สนฺติ  สงบ  ก็หมายถึง จิต ที่สงบจากอารมณ์
คำว่า นิโรธ  ดับ  ก็หมายถึง จิต ที่ดับกิเลสและอารมณ์
คำว่า นิพพาน ดับ ก็หมายถึง จิต ที่ดับจากกิเลสและอารมณ์
คำว่า วิมุตติธรรม หลุดพ้น ก็หมายถึง จิต ที่หลุดพ้นจากกิเลสและอารมณ์
คำว่า สุญฺญตา ว่าง เล่า ก็หมายถึง จิต ที่ว่างจากกิเลสและอารมณ์
ถ้าจิตเกิดดับ หรือดับสูญหายไปแล้ว คำต่างๆที่ว่ามานั้น
เช่น สมาธิ เป็นต้น เหลว ไม่มีคุณค่าอะไรเป็นคำหลอกลวง
 
จิตที่บริสุทธิ์ เป็น วิมุตติธรรม เป็น นิพพาน แล้ว
เป็นตัว พุทธะ ธรรมะ สังฆะ ไม่ดับตายหายสูญ

ดับแต่พวกกิริยากรรม
และลักษณะอาการที่เนื่องด้วยกิเลสและอารมณ์ภายนอกของจิต
เป็นพวกสังขารนับเนื่องในขันธ์ ๕ หรือพวกขันธ์ ๕ เท่านั้น.


อนึ่ง จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
การสอนให้ตั้งสติพิจารณาจิตในสติปัฏฐาน
ท่านสอนให้พิจารณาลักษณะอาการจิต หรือดูจิตที่เกิดดับเล่า
ถ้าจิตเกิดดับเอาจิตที่ไหนมาคอยดูจิตที่เกิดดับได้อีก พิจารณากันอย่างไร
ฟังไปดูเหมือนว่าจิตไม่สำคัญอะไร ในส่วนต่างๆแห่งร่างกาย

แต่พระพุทธพจน์ที่ตรัสเห็นว่า ิต นี้สำคัญที่สุด อย่างที่ตรัสว่า 
จิตฺตสงฺกิเลสา ภิกฺขเว สตฺตา สงฺกิลิสฺสนฺติ จิตฺตโวทานา สตฺตา วิสุชฺฌนฺติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์จะเศร้าหมองก็เพราะจิตเศร้าหมอง
สัตว์จะผ่องแผ้วก็ เพราะจิตผ่องแผ้ว ดั่งนี้ 
ไม่เห็นอะไรสำคัญยิ่งไปกว่า จิต

อีกประการหนึ่งเล่า ตรัสว่า 
 
ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจโขอาคนฺตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกิลิฏฺฐํ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์
ก็แต่ว่าจิตนั้นอันอุปกิเลสทั้งหลายเข้ามาทำให้เศร้าหมองเสีย ดั่งนี้


ที่ตรัสว่า จิตเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่องใส
แต่เพราะอุปกิเลสทำให้เศร้าหมองไปนั้น

ส่อให้เห็นว่า จิต เป็นสิ่งยั่งยืน และเป็นอย่างเดียวไม่ใช่หลายอย่าง
ก็ถ้าเป็นสิ่งซึ่งเกิดๆดับๆแล้
จะถือเอาประโยชน์อะไรได้ในพระพุทธพจน์ข้อนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น