ผลิตภัณฑ์เพื่อดูแลความงามได้ถูดคิดค้นสูตรโดยคนไทย กำลังได้รับความนิยมในท้องตลาด เนื่องจากคนไทยหันมาให้ความสำคัญใน
เรื่องของสุขภาพมากขึ้น เพราะว่า สารเคมีที่ตกค้างในผลิตภัณฑ์ สร้างปัญหาและทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา “สบู่ถ่านไม้ไผ่” 1
ผลิตภัณฑ์ ในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น จากวิสาหกิจชุมชนบ้านโนนหินผึ้ง ตำบลดงบัง
อำเภอประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ทางเลือกใหม่ ฝีมือคิดค้นโดยคนไทย โครงการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์
ชุมชนจากทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น” เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (
องค์การมหาชน) วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี และชุมชน ร่วมกันทำงานใน
การบูรณาองค์ความรู้ภูมิปัญญา ทรัพยากรชีวภาพท้องถิ่น และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ในการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ชุมชน นำ
ภูมิปัญญาพื้นบ้านในเรื่องการใช้ประโยชน์สมุนไพรไทยที่เป็นพืชประจำท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายในชุมชน ด้วน
กระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมของชุมชน ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ยังไม่ได้มาตรฐาน
ดร.ไฉน น้อยแสง รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานักศึกษาวิทยาการแพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี ผู้คิดค้นสูตรและวิทยากรในการ
ถ่ายทอดความรู้กับชุมชน เล่าว่า เนื่องจากวิสาหกิจชุมชนบ้านโนนหินผึ้ง มีไม้ไผ่จำนวนมาก จึงมีอาชีพเผาถ่านไม้ขาย และทาง
วิสาหกิจนำถ่านไม้ที่เหลือมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ในการดูแลสุภาพ แต่ยังไม่เป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค ทางวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย
มทร.ธัญบุรี จึงได้เข้ามาให้ความรู้ในเรื่องของกระบวนการทางเทคโนโลยี และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือว่าถ่านไม้ไผ่ กำลังได้รับ
ความนิยมในปัจจุบัน สำหรับสูตร “สูบู่ถ่านไม้ไผ่” ที่คิดค้นและนำมาถ่ายทอดให้ชาวบ้านในชุมชน จะเน้นการนำเอาทรัพยากรที่มีใน
หมู่บ้านมาเป็นส่วนผสม
ส่วนผสมหลัก คือ 1. ถ่านไม้ไผ่ ซึ่งช่วยบำรุงผิวพรรณ ขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วให้หลุดออกจากผิวหนัง ดูดซับสารพิษจากผิวหนัง
ซ่อมแซมเซลล์ผิวหนังที่เสื่อมสภาพ 2. ขมิ้นชัน มีสารฤทธิ์ชีวภาพ curcumin , bisdesmethoxycurcumin และ
desmethoxycurcumin และอนุพันธ์อื่นๆ ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและฆ่าเชื้อราจำพวก dermatophytes , black mold ,
white mold และ yeast ได้หลายชนิด 3. น้ำผึ้ง ช่วยในการบำรุงผิว นอกจากสรรพคุณที่กล่าวมาแล้ว มีเปรียบเทียบกับสูตรเดิมเนื้อ
ของสบู่ถ่านไม่ไผ่มีความละเอียดไม่บาดผิว สามารถเก็บไว้ได้ถึง 2 ปี จากเดิมไม่ถึง 3 เดือน เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับผลิตภัณฑ์
ทางมหาวิทยาลัยฯ ยังได้มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับผลิตภัณฑ์ถ่านไม้ไผ่ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ทางมหาวิทยาลัยฯ ภูมิใจและ
ยินดีที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชน การบูรณาการทรัพยากรชีวภาพ ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาผลิตเป็นสบู่ถ่านไม้ไผ่ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้รักสุขภาพ
นายทองย้อย โชฎก ประธานฝ่ายชุมชนและที่ปรึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโนนหินผึ้ง ต.ดงบัง จ. ปราจีนบุรี เล่าว่า อาชีพหลัก
ของชุมชน คือ การทำนา ซึ่งสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มและเนินเตี้ย ชุมชนมีพื้นที่ปลูกไม้ไผ่จำนวนมาก นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วย
สมุนไพรมากมาย โดยทางชุมชนจัดทำโครงการผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ครบวงจร เช่น ผลิตเครื่องจักรสาย ถ่านไม้ไผ่คุณภาพสูง รวมทั้งสบู่
จากถ่านไม้ไผ่สมุนไพร แต่สบู่ถ่านไม้ไผ่ที่ผลิตขึ้น คุณภาพยังเป็นที่ไม่พึงพอใจ ของผู้บริโภค เนื่องจากเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ยังไม่มี
ความรู้ที่ถูกต้อง จนกระทั่งสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ได้นำอาจารย์และนักศึกษาจากวิทยาลัยการ
แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี มาศึกษาวิจัย ให้ความรู้และคิดค้นสูตรขึ้นใหม่ ทำให้สบู่ถ่านไม้ไผ่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภค สร้าง
รายได้ให้กับชุมชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น