...+

วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

การตั้งโต๊ะหมู่บูชา

ความเป็นมาการจัดโต๊ะหมู่บูชา เป็นวัฒนธรรมประจำชาติไทยมาช้านาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน

ว่ามีมาตั้งแต่สมัยใดสันนิษฐานว่าเดิมอาจจะวางสิ่งเคารพ วัตถุมงคลบนหิ้งหรือบนแท่นมาก่อน ส่วนการจัดวางบนโต๊ะน่าจะได้แบบอย่างมาจากการตั้งโต๊ะน้ำชาของชาวจีนที่มา ค้าขายกับไทยในสมัยก่อน

จากจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๑ ครั้งเมื่อมีงานฉลองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือวัดโพธิ์ ก็มีการเริ่มจัดโต๊ะบูชาเป็นครั้งแรก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทางโปรดเกล้าฯ ให้มีการประกวดจัดโต๊ะหมู่บูชาแบบต่าง ๆ ในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถึง ๑๐๐ โต๊ะ และรูปแบบการจัดดังกล่าวได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีการส่งเสริมพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่ง มีการจัดโต๊ะหมู่บูชาขึ้นเป็นพิเศษในสถานที่ราชการ องค์การและสโมสรทั่วไป

ขณะ เดียวกัน พลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสมัยนั้น ก็สนับสนุนนโยบายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยให้จัดโต๊ะหมู่บูชาในหน่วยงานและสถานศึกษาด้วย รวมทั้งเป็นผู้ริเริ่มให้มีการตั้งเสาประดับธงชาติและพระบรมฉายาลักษณ์เข้า ไว้ในโต๊ะหมู่บูชาในพิธีการต่าง ๆ ที่ราชการจัดขึ้น

เดิมที มีการกราบบูชาพระรัตนตรัยอย่างเดียว พลเอกมังกร เห็นว่าเมื่อเคารพพระรัตนตรัย (ศาสนา) แล้ว ควรจะได้มีการเคารพธงชาติ (ชาติ) และพระมหากษัตริย์ด้วย เมื่อมีการกราบพระรัตนตรัยแล้ว ก็มีการคำนับธงชาติและพระบรมฉายาลักษณ์ด้วย

ต่อมา ได้มีการประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ถือเอาวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองวัน ชาติไทย การเคารพธงชาติและพระบรมฉายาลักษณ์ จึงเปลี่ยนเป็นการคำนับเพื่อแสดงความเคารพเพียงครั้งเดียว ไม่ต้องคำนับ ๒ ครั้งดังแต่ก่อน เพราะถือว่าพระมหากษัตริย์และชาติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน


ปัจจุบัน ในพิธีเกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ในพระราชพิธี รัฐพิธี หรือราษฎร์พิธี ไม่ว่าจะเป็นงานมงคลหรืองานอวมงคลก็นิยมตั้งโต๊ะหมู่บูชาทั้งสิ้น จุดประสงค์ก็เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพร้อมเครื่องบูชาซึ่งสันนิษฐาน ว่า คงจะถือเป็นคตินิยมของชาวพุทธตั้งแต่สมัยพุทธกาลว่า เมื่อพุทธศาสนิกชนต้องการบำเพ็ญกุศลใด ๆ นิยมนิมนต์พระสงฆ์ ซึ่งมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุขมาในงานนั้น ๆ ด้วยเพื่อให้พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ พร้อมบริบูรณ์ คตินิยมนี้จึงถือต่อเนื่องสืบมา

ดังนั้น ศาสนาพิธีทางพระพุทธศาสนาจึงนิยมอัญเชิญพระพุทธรูปเป็นนิมิตแทนองค์พระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ในพิธีด้วย

การ จัดโต๊ะหมู่บูชามีหลายโอกาส อาทิ การจัดโต๊ะหมู่บูชาประจำหน้าพระประธาน การจัดในพิธีสงฆ์ การจัดในการประชุม อบรม สัมมนา เป็นต้น โดยทั่วไปนิยมตั้งโต๊ะหมู่บูชาใน ๒ กรณี คือ

๑.ในพิธีทางพุทธศาสนา เช่น การทำบุญ ฟังเทศน์ ฯลฯ
๒.ในพิธีถวายพระพรหรือตั้งรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

การ จัดโต๊ะหมู่บูชาโดยเฉพาะเครื่องบูชาบนโต๊ะ อันได้แก่ พานพุ่ม แจกันดอกไม้ กระถางธูป เชิงเทียนถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ผู้จัดควรทำด้วยความประณีตบรรจง เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเคารพต่อพระรัตนตรัยและยังเป็นการแสดงออกถึง ศิลปะในการจัดอีกด้วย
๓.การจุดธูป ๓ ดอก เป็นการบูชาพระคุณของพระพุทธเจ้า ๓ ประการคือ

๑. บูชาพระปัญญาคุณ
๒. บูชาพระวิสุทธิคุณ
๓. บูชาพระมหากรุณาธิคุณ การจุดเทียน ๒ เล่ม เป็นการบูชาพระธรรมและพระวินัย เล่มขวาของพระพุทธรูปหรือด้านซ้ายของผู้จุดเป็นเทียนพระธรรม เล่มซ้ายของพระพุทธรูปหรือด้านขวาของผู้จุดเป็นเทียนพระวินัย

หลัก เกณฑ์และวิธีการจัดโต๊ะหมู่บูชามีหลายแบบ ที่สำคัญคือ การตั้งเครื่องบูชาทุกชนิด จะต้องไม่สูงกว่าพระพุทธรูปที่ประดิษฐานบนโต๊ะหมู่บูชาที่อยู่สูงสุด ส่วนปริมาณเครื่องบูชาอาจแตกต่างกันตามประเภทของโต๊ะหมู่ซึ่งมีหลายแบบ เช่น โต๊ะหมู่ ๔, หมู่ ๕, หมู่ ๗, หมู่ ๙ และหมู่ ๑๕ เป็นต้น แต่ละแบบก็จะมีการจัดและความหมายแฝงอยู่ ซึ่งจะขอยกเป็นตัวอย่างการจัดโต๊ะหมู่บูชาที่เป็นที่นิยมจัดกันทั่วไป ดังนี้

โต๊ะหมู่ ๕ ประกอบด้วย กระถางธูป ๑ กระถาง, เชิงเทียน ๓ หรือ ๔ คู่, พานดอกไม้ ๕, แจกัน ๒ คู่ ซึ่งแต่ละอย่างมีความหมายดังนี้
กระถางธูป 1 กระถาง หมายถึง เอกกัคคตา คือ จิตเป็นหนึ่งเดียว หรือบริสุทธ์ หรืออุเบกขา
แจกันดอกไม้ ๔ ชุด หมายถึง อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
พานดอกไม้ ๕ พาน หมายถึง ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เชิงเทียน ๖ อัน (๓ คู่) หมายถึง อายตนภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
เชิงเทียน ๘ อัน (๔ คู่) หมายถึง อริยมรรค มีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

โต๊ะหมู่ ๗ ประกอบด้วย กระถางธูป ๑ กระถาง, เชิงเทียน ๔ หรือ ๕ คู่, พานดอกไม้ ๕, แจกัน ๒ คู่, เชิงเทียน ๑๐ อัน (๕ คู่) หมายถึง ทศบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขา

โต๊ะหมู่ ๙ จะประกอบด้วยกระถางธูป ๑ กระถาง, เชิงเทียน ๖ หรือ ๔ คู่, พานดอกไม้ ๗ พาน, แจกัน ๓ คู่ พานดอกไม้ ๗ พาน หมายถึง โพธิ์ฌงค์ ๗ คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา
เชิงเทียน ๑๒ อัน หมายถึง อาตยภายในและภายนอก คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อนึ่ง ในพิธีส่วนตัว เช่น ทำบุญอัฐิ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ หรือทำบุญใด ๆ เฉพาะตน และมีพื้นที่ในการจัดจำกัดหรือหาโต๊ะหมู่ตามกำหนดไม่ได้หรือมีทุนทรัพย์ จำกัด อาจดัดแปลงเครื่องบูชาและรูปแบบการจัดก็ได้ โดยยึดหลักว่า
๑. พระพุทธรูปต้องอยู่สูงกว่าเครื่องบูชาทุกชนิด
๒. เครื่องบูชาอย่างน้อยที่สุดต้องมีแจกันดอกไม้ ๑ คู่ เชิงเทียน ๑ คู่ และกระถางธูป ๑ กระถาง ส่วนพานดอกไม้จะมีหรือไม่ก็ได้โดยปกติ การตั้งโต๊ะหมู่บูชาที่มีเฉพาะพระพุทธรูป (ไม่มีธงชาติหรือพระบรมฉายาลักษณ์) จะมี ๓ ลักษณะ คือ
๑. งานพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เป็นประธานหรือโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์มางาน เช่น พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ฯลฯ
๒. งานศาสนพิธีวันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา ฯลฯ
๓. งานพิธีที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นสิริมงคล เช่น พิธีวางศิลาฤกษ์ เปิดอาคาร งานขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ

ส่วน การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในบางพิธีของทางราชการ เช่น การอบรม ประชุม สัมมนา ฯลฯ นิยมตั้งธงชาติและพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร่วมกับโต๊ะหมู่บูชาเพื่อให้ครบทั้ง ๓ สถาบัน คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยมีหลักคือ โต๊ะหมู่บูชาอยู่ตรงกลาง ธงชาติอยู่ด้านขวาของโต๊ะหมู่ พระบรมฉายาลักษณ์หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ไว้ทางซ้ายของโต๊ะหมู่สำหรับ การตั้งโต๊ะหมู่ถวายพระพรหรือรับเสด็จ มีหลักว่าไม่ต้องประดิษฐานพระพุทธรูป แต่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ไว้ที่โต๊ะหมู่ตัวสูงสุดแทน โดยมีเครื่องสักการะคือ แจกัน พุ่มดอกไม้ ธูปเทียนแพ(ธูปต้องอยู่ข้างบนเทียน)และกรวยดอกไม้มีฝากรวยครอบวางบนธูปเทียน แพ ธูปเทียนแพจะอยู่โต๊ะหมู่ตัวต่ำสุด ปริมาณเครื่องสักการะจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสวยงามและชนิดของโต๊ะ หมู่ และการจัดโต๊ะหมู่แบบนี้ไม่ต้องมีเสาธงชาติ และส่วนมากไม่นิยมใช้เชิงเทียนและกระถางธูป หากมีก็ไม่มีการจุดทั้งธูปและเทียน ตั้งเป็นเครื่องประดับโต๊ะหมู่เท่านั้น การปฏิบัติเพื่อถวายสักการะให้ถวายคำนับและเปิดกรวยทีครอบออก จากนั้นถวายคำนับอีกครั้งอนึ่ง งานที่ไม่ต้องตั้งโต๊ะหมู่บูชา ได้แก่ งานประชุมนานาชาติและไม่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และงานประชุมคณะกรรมการหรืออนุกรรมการต่าง ๆ ตามปกติ

เรื่อง-ภาพ:ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(จากหนังสือพิมพ์คม-ชัด-ลึก ฉบับวันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2546)

1 ความคิดเห็น: