...+

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กูรู้

ในตามหาแก่นธรรมนี้เคยมีผู้เขียนถึงคำว่ากูรูกันมาหลายตอนเหมือนกัน แต่ผู้ที่อธิบายความหมายของคำๆนี้ได้ดีที่สุดน่าจะเป็นผู้เขียนในวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีที่มีผู้ใช้งานในเว็บเป็นอันดับห้าของโลก เป็นเว็บที่ก่อตั้งโดยจิมมี เวลส์ ผู้ที่ไม่ปรารถนาเงินทอง
เพราะไม่มีการลงโฆษณาอะไรเลยในวิกิพีเดีย เป็นห้องสมุดที่มีคุณค่าให้คนทั้งโลกในหลากภาษา
ปัจจุบันวิกีพีเดียขาดแคลนทุนทรัพย์เพราะไม่ใช่เว็บเชิงพาณิชย์ จึงขอแบ่งปันเงินทองคนละเล็กละน้อยเพื่อให้สารานุกรมเสรีนี้คงอยู่ต่อไปได้ หาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากหมายเหตุแนบข้างล่างครับ
คุรุ (สันสกฤต: गुरु) หรือ กูรู (อังกฤษ: guru) หมายถึง ครู หรือ อาจารย์
ถ้าแยกศัพท์ออกมาแล้ว จะมีสองคำ คือ คำว่า คุ ซึ่งแปลว่า แสงสว่าง (เป็นผู้ชี้ทางแสงสว่าง) และคำว่า รุ แปลว่า ความมืดมน
(เป็นผู้ขจัดความเขลาที่มืดมน) ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู มาจากปรัชญาความเชื่อในความสำคัญของการเข้าถึงความรู้ โดยมี คุรุ หรือ อาจารย์เป็นผู้ชักนำไปสู่จุดสูงสุด
ในประเทศอินเดียในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู และซิกข์ คำ คุรุ นี้ยังคงความ
หมายของความศักดิ์สิทธิ์ เช่นคุรุนานัก คุรุปัทมสัมภวะ คุรุนาคารชุน
คุรุ ในภาษาสันสกฤตนั้นยังใช้หมายถึง พฤหัสบดี ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง ซึ่งตรงกับเทพเจ้าจูปิเตอร์ของชาวโรมันนั่นเอง
ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูนั้น ดาว จูปีเตอร์/คุรุ/พฤหัสบดี ถือว่าเป็นดาวที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ในภาษาต่างๆ ของอินเดีย
คำว่า พฤหัสปติวาร(วันพฤหัสบดี) จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าว่า คุรุวาร(วันคุรุ) โดย วาร นั้นหมายถึงวัน
คุรุ ในอินเดียในทุกวันนี้ใช้ในความหมายทั่วไป หมายถึง "ครู"
ในประเทศตะวันตก คุรุ ยังใช้ในความหมายที่กว้างขึ้นหมายถึง บุคคลที่เผยแพร่ศาสนา หรือ กลุ่มความเชื่อตามปรัชญาต่างๆ
คำนี้ยังใช้ในความหมายเชิงอุปมา หมายถึงบุคคลผู้ซึ่งอยู่ในสถานะที่เชื่อถือได้ เนื่องมาจากความรู้ และความชำนาญ ที่เป็นที่ประจักษ์และยอมรับ
ในปัจจุบันระบบการศึกษาของบ้านเราได้ขยายตัวเบ่งบานออกไปมาก จะเห็นได้จากมีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเกิดขึ้นมาก ในระยะเวลาเปรียบเทียบกับสิบปีที่ผ่านมาอย่างเปรียบเทียบกันแทบไม่ได้ ยิ่งถ้ามานับจำนวนครู อาจารย์และนักศึกษาแล้ มากจริงๆ แต่ถ้าจะให้เปรียบเทียบกับประชากรทั้งประเทศแล้ว ก็ยังถือว่าน้อย
แต่ในระบบการศึกษาในประเทศสารขันธ์นี้ ก็ยังมีระบบการศึกษาแบบระบบเปิดคือสามารถดูได้จากสื่อหลายๆสื่อ ตลอดจนหาความรู้ได้จากสื่อทางวิทยุและทีวี ตลอดจนสื่อที่ผ่านทางดาวเทียม อินเตอร์เน็ท และสื่ออื่นๆอีกมากมาย
ผู้คนสมัยนี้จึงมีความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆที่ซึมซับมามาก จะเห็นได้จากการใช้คำพูดของผู้คนในประเทศนี้ที่เริ่มจะมีเหตุผลของตนที่น่ารับฟังอยู่กล้าแสงออกมากขึ้น แม้จะไม่สามารถกำหนดไ้ด้ว่าถูกหรือผิด แต่ก็มีเหตุผลชวนฟังไม่น้อย หากฟังด้วยความเป็นกลาง
การศึกษาในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษา ทำให้หลายๆคนมีความรู้ขึ้นมาก โวหารหรือคำพูดที่แสดงออกมาล้วนแล้วแต่เกิดจากการเรียนรู้ แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดในแต่ละกลุ่มก็ยังมีผู้คนที่ใช้ภาษาที่พูดตามๆกันไป ไม่ว่าจะคิดหรือพิจารณามากันแล้วหรือไม่
การศึกษาในปัจจุบันนี้ ความรู้ได้แตกแขนงออกไปมาก แม้วิทยาการบางด้านยังแตกสาขาออกไปมากจนน่าเวียนหัว แล้วใช้คำว่า"ผู้เชี่ยวชาญเเฉพาะด้าน"มาปิดท้ายความสงสัยที่ว่าจะเรียนรู้เจาะลึกกันไปทำไม
ผู้คนส่วนใหญ่ในหลายๆกลุ่มเริ่มแสดงตนเองว่าเป็นผู้รู้ ไม่ว่าจะจบภาคการศึกษามาจากระดับใดตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนกระทั่งปริญญาเอก ผู้หยั่งรู้ก็เกิดขึ้นมากมาย ไม่เชื่อลองโยนคำถามอะไรก็ได้เข้าไปในกลุ่มผู้ฟัง ผู้วิพากษ์วิจารณ์ต่างก็แสดงตัวตนกันออกมามากมาย จนผู้เขียนยอมรับคำพูดที่ว่าปากมีหนึ่งปากแต่ทำงานมากกว่าหูที่มีสองข้าง เพราะคนที่พูดมีมากกว่าคนฟังหลือจะกล่าว
หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป ไม่ต้องหลับตานึกภาพหรอก ให้ลืมตานึกภาพก็จะเห็นว่าความวุ่นวายทุกหย่อมหญ้าจะเกิดขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะทุกคนที่พูดมักจะโน้มเอียงไปในคำที่ว่า"กูรู้" กูรู้ว่าจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันแก้ได้จริงหรือ
เหมือนผู้เขียนแก่นธรรมตอนหนึ่งที่พูดถึงเรื่องการประชุมในธุรกิจของบริษัท ผู้เข้าร่วมประชุมมานั่งประชุมกันช่วยกันคิดหัวแทบแตก แต่พอถึงเวลาตัดสินใจ คำตอบสรุปมักจะออกมาได้ว่า"กูไม่รู้"เว้นเสียแต่ว่าเจ้าของกิจการหรือเจ้าของธรงกิจมานั่งประชุมด้วย จึงจะมีข้อสรุปว่าจะจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร เพราะเจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของกิจการจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโด ยตรงในสิ่งหรือปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างยากจะหลีกได้
ยกตัวอย่างในขณะนี้เช่นธุรกิจที่ประสบภัยน้ำท่วมที่ประกอบธุรกิจโรงงาน เครื่องจักรเสียหาย สต๊อกสินค้าและวัตถุดิบเสียหาย แม้จะมีประกันครอบคลุมบ้างหรือไม่มีประกันคุ้มครองก็ยิ่งแย่ไปใหญ่
แต่มีปัญาหนักๆรอให้แก้กันมากมายพร้อมคำถามว่า"จะทำหรือแก้อย่างไรดี" และผู้เขียนเชื่อว่าเจ้าของกิจการก็อยากจะได้ยินคนที่จะมาช่วยแก้ปัญหาให้ตนนั้นพูดว่า"กูรู้"และรู้จริงในสิ่งที่เขาหรือเธอพูดออกมา
อย่างน้อยธุรกิจก็ยังมีทางออก และมีหนทางที่จะรอดจากภัยพิบัติในครั้งนี้ ที่ทิ้งปัญหาในระยะสั้นและระยะยาวไว้มากมาย และอาจจะมากจนคนนึกไม่ถึง
ประเพณี วัฒนธรรม ศีลธรรม เป็นปัญญาขั้นต้นให้ผู้คนอยู่กันด้วยความรักและสามมัคคีอย่างสงบสุข ลดความขัดแย้งทางความคิด เพื่อให้ผู้คนมีวิถีชีวิตไปในทางเดียวกัน แบ่งปันความสุขกัน
แต่ในความเป็นจริงในโลกปัจจุบัน ที่เจริญกันทางวัตถุอย่างสุดโต่ง แย่งกันบริโภค แย่งกันใช้ทรัพยากร และยังแข่งกันที่จะแย่งอะไรที่คิดว่าไม่ผิดทั้งทางตรงทางอ้อม โดยไม่ได้พิจารณาให้ถี่ถ้วนเลยว่า สิ่งที่ตามมาคือความเดือดร้อน
แม้กระทั่งเรื่องของธรรมะ ที่มีผู้ถามและผู้ตอบมากกมายในคอลั่มน์ต่างๆ ในfaceในเว็บธรรมะทางอินเตอร์เน็ท แต่จะมีคำตอบที่ถูกต้องและชัดเจนมากน้อยสักเท่าไร ที่มันใช่และจริงตามความรู้ของผู้ตอบ และจะถูกใจผู้ถามหรือไม่
แม้คำตอบจะเป็นความจริงที่ไม่สามารถปฎิเสธได้เลยก็ตาม
ในสังคมของผู้คนในประเทศสารขันธ์ในขณะนี้ มีแต่ผู้รู้เต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด และที่ตามมา็้ก็คือความวุ่นวายของผู้คนที่ล้วนแล้วเกิดมาจากความทุกข์ยากจากภัยพิบัติ แต่ส่วนหนึ่งเกิดจากความเห็นผิด
แม้บางคนถึงกับพูดว่ารู้นะว่าคนอื่นคิดอะไรอยู่ แต่ในความเป็นจริงแล้วท่านรู้เช่นนั้นจริงหรือที่เรียกกันว่าเจโตปริยญาณหรือการหยั่งรู้วาระจิตผู้อื่น
แต่จะมีสักกี่คนกันนะที่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่เรียกว่ามีสติสัมปชัญญะ

ธรรมะสวัสดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น