...+

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พระราชปฏิญาณ ร.5 กับพระพุทธศาสนา

วันเสาร์สบายๆวันนี้ มาคุยกันเรื่อง "พระพุทธศาสนาในไทย" อีกสักวันดีกว่านะครับ หลังจากที่ผมเขียนเรื่อง "อนาคตพุทธศาสนาในไทย" ไปวันก่อน โดยนำความห่วงใยของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่ สมเด็จพระสังฆราช มาถ่ายทอดต่อ ก็มีเสียงสะท้อนกลับมามากพอสมควร
ภาพประกอบ

เวลานี้ การช่วงชิงผู้นับถือศาสนา กำลังเป็นปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ล่าสุด ผู้นำสิงคโปร์ ต้องนำประเด็นนี้ขึ้นมาเป็น ปัญหาวาระแห่งชาติ ในการปราศรัยเมื่อวันชาติสิงคโปร์ที่ผ่านมา
วันฤกษ์ดีในรอบพันปี 09/09/09 ที่ผ่านมา ผมได้รับหนังสือชื่อ "ศาสนาประจำชาติ" เขียนโดย คุณสุทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์ จาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติพระศาสนาพระมหา กษัตริย์ เล่าเรื่อง พระมหากษัตริย์ไทย กับ พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็น ศาสนาประจำชาติไทย มาตั้งแต่สมัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีเรื่องที่น่าสนใจมากมาย
เรื่องที่ผมนำมาเล่าในวันนี้ มาจากพระราชหัตถเลขาของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประพาส ประเทศนอร์เวย์ ซึ่งพระราชหัตถเลขานี้ ไทยได้มาจากประเทศนอร์เวย์ มีความดังนี้ครับ

"ข้าพเจ้าขอปฏิญาณตน เฉพาะหน้าพระสงฆ์เถรานุเถระทั้งหลาย อันประชุมอยู่ ณ ที่นี้ว่า การที่ข้าพเจ้าคิดจะไปประเทศยุโรป ณ ครั้งนี้ ด้วยข้าพเจ้ามุ่งต่อความดีแห่งพระราชอาณาจักร และด้วยความหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ตัวข้าพเจ้าด้วย เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าตั้งใจจะ รักษาตนให้สมควรแก่ที่เป็นเจ้าของประชาชนชาวสยามทั้งปวงจนสุดกำลังที่ ข้าพเจ้าจะป้องกันได้และเพื่อจะให้เป็นเครื่องเตือนใจตัวข้าพเจ้า และเป็นเครื่องเย็นใจแห่งผู้ซึ่งมีความรักใคร่มุ่งหมายความดีต่อข้าพเจ้า ปราศจากวิตกกังวลใจ ด้วยความประพฤติรักษาตัวของข้าพเจ้าๆจึงขอสมาทานข้อทั้งหลายที่จะกล่าวต่อไป นี้
1. ข้าพเจ้าจะไม่มีจิตยินดีน้อมไปในศาสนาอื่น นอกจาก สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระธรรมอันพระองค์ได้ตรัสรู้ชอบดีแล้ว กับทั้งพระสงฆ์หมู่ใหญ่ อันได้ประพฤติตามคำสั่งสอนของพระสัมมา-สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเลยเป็นอันขาด จนตราบกว่าสิ้นชีวิต
2. การที่ข้าพเจ้าไปครั้งนี้ แม้ว่าจะช้านานเท่าใดก็ดี ข้าพเจ้าจะไม่ร่วมประเวณีด้วยสตรีใดจนกว่าจะกลับมาถึงในพระราชอาณาเขต
3. ถึงแม้ว่าจะไปในประเทศซึ่งเขาถือกันว่า การให้สุราเมรัยไม่รับเป็นการเสียกิริยาอันดี ฤาป้องกันโรคภัยอันเปลี่ยนอากาศ เป็นต้น ข้าพเจ้าจะไม่เสพสุราเมรัยให้มึนเมาเสียสติ ฤาแม้แต่มีกายวิกลเกินปรกติเป็นอันขาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น