...+

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความกล้ว

คนสมัยโบราณมักจะกลัวฟ้าแล่บ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า กลัวขนาดที่ว่า เมื่อเจอเหตุการณ์นั้นๆถึงกับหมอบกราบกันเลย ที่ฉลาดหน่อยจนตั้งตนเป็นหัวหน้าได้ เพราะไปรู้จักเทพเจ้าหรือผีบ้า ที่อ้างว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดปรากฎการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ
แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป แต่ก็ยังมีคนไม่น้อยยังไม่ละทิ้งความกลัวเช่นนั้น และยังคงไหว้เทพเจ้าและผีบ้าให้คุ้มครองตนเองและครอบครัวอยู่อย่างนั้น
คนสมัยนี้ก็กลัวในสิ่งที่วัตถุสนองตอบไม่ได้ เช่นการเจ็บป่วย การแก่ การตาย ความหม่นหมองมืดมัวเพราะความอยาก ความโกรธ ความหลง แม้จะมีความรู้รอบแค่ไหก็ตาม จิตก็อดที่จะประหวั่นหวนกลับมาถือเทพเจ้าและผีบ้าเหมือนคนสมัยก่อนไม่ได้ จะต่างกันบ้างก็เพียงแต่ทำพิธีให้ดูทันสมัยหน่อย จะได้ไม่มีใครว่าโง่
อย่าว่าแต่คนทั่วไปเลย แม้กระทั่งผู้มีอำนาจและมีเงินในทางธุรกิจ ก็ยังหลงละเมอกับการไหว้เจ้า ถือเคล็ด ถือฤกษ์งามยามดี แม้กระทั่งการดูฮวงจุ๊ย( แต่ไม่ค่อยมีใครชอบดูฮวงซุ้ย ) เพื่อจะให้ตนเองได้มีโอกาสเหนือกว่าผู้อื่นในการเอารัดเอาเปรียบ
ในทางพุทธศาสนามีสอนในเรื่องของความกลัวว่าเป็นรากฐานและเป็นมูลฐานให้เิกิดความโกรธหรือโทสะ หรือจะเรียกว่าเป็นเรื่องดียวกันก็ได้ ( โทสมูลจิต หรือจิตที่มีรากเหง้ามาจาก ไม่ชอบ เสียใจ กลุ้มใจ รำคาญ หงุดหงิด โกรธ เกลียด กลัว ประทุษร้าย ทำลาย )
โทสะนี้แบ่งเป็นสามระดับคือปฎิฆะคือความไม่พอใจลึกๆ ความขัดใจ โกรธะคือความเดือดดาลคือคิดโกรธ และโทสะคือความคิดร้าย คิดทำลาย
ถ้าผู้ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาว่าความโกรธหรือความกลัวเป็นเรื่องเดียวกัน ก็พอจะยกตั วอย่างสำนานสมัยนี้มาเล่าให้ฟังได้ว่า ปากกล้าขาสั่น คือทำไปด้วยความกลัวและโกรธ
ความกลัวจึงเป็นกิเลสตัวหนึ่งที่เกิดมาพร้อมกับความโลภ โกรธ หลง หรือเป็นปัจจัยให้เกิดซึ่งกันและกัน ซึงเราเรียกกันว่าอกุศลมูล หรือรากเหง้าแห่งความโง่หรือความชั่วทั้งปวง ซึ่งก็มีธรรมะฝ่ายตรงกันข้ามคือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ คือความไม่โลภ ไม่คิดประทุษร้าย และความไม่หลงซึ่งจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีสติเป็นผู้นำทาง
พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา คิดค้น ใคร่ครวญ จนเรียกได้ว่าเป็นศาสนาแห่งผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ไสยศาสตร์ศาสนาที่แปลว่า ผู้หลับไหล ผู้หมกมุ่น และผู้หดหู่ สำหรับผู้ศึกษาพุทธศาสนาก็เพื่อจะเพิ่มปัญญาในความรู้ว่าอะไรเป็นอะำไร จวบจนไปถึงความรู้แจ้ง
รากเหง้าแห่งความกลัวก็น่าจะมาจากอวิชชาคือความไม่รู้ สังขารหรือการปรุงแต่ง และความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ที่เรียกว่ าอัตตวาทุปาทาน
ความกลัวไม่มีขอบเขต ดังเช่นคนสมัยนี้ยังกลัวเรื่ิองกรรม และหาหนทางที่จะแก้กรรมกันอยู่ร่ำไป โดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากรรมนั้นคืออะไร สุดท้ายก็หลงลุ่มลึกกับไสยศาสตร์ศาสนายากที่จะถอนตัวขึ้นได้
ใครบอกว่าสวดมนต์แล้วงมงาย ในเมื่อทำให้จิตสงบ
ใครบอกว่าทำสมาธิภาวนาเป็นเรื่องยากและเสียเวลา เคยทำแล้วหรือ
ใครบอกว่าการเจริญสติปัฎฐานสี่เป็นเรื่องของพระ แล้วเคยทำแล้วหรือ
นี่ก็เป็นเรื่องของความกลัว คือกลัวจะรู้ตื่น รู้เบิกบาน และกลัวกรรมจะตามทัน แล้วเรามาคอยดูกันครับ เอวัง


ธรรมะสวัสดี

สะมะชัยโย

ใบโพธิ์แก่นธรรม หลวงปู่พุทธทาสภิกขุ
มีคำกล่าวในพระพุทธศาสนา "ความรู้ ความฉลาด และความสามารถ ที่จะทำให้สำเร็จประโยชน์นั่นแหละ เป็นตัวฤกษ์ที่ดี อยู่ในตัวมันเองแล้ว ดวงดาวในท้องฟ้าจะทำอะไรได้ ประโยชน์ที่ควรจะได้ก็ผ่านพ้น คนโง่ ๆ ที่มัวแต่นั่งคำนวณ ดวงดาวในท้องฟ้าไปเสียสิ้น" ดังนี้ ; และว่า "ถ้าน้ำศักดิ์สิทธิ์ในแม่น้ำคงคา ฯลฯ จะทำให้คนหมดบาปหมดทุกข์ได้แล้ว พวกเต่า ปู ปลา หรือหอยที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ หรือสระศักดิ์สิทธิ์นั้น ก็จะหมดบาปทุกข์ไปด้วยน้ำนั้นเหมือนกัน" หรือ "ถ้าหากว่าคนจะพ้นทุกข์ได้ด้วยการบวงสรวง บูชาอ้อนวอนเอา ๆ แล้ว ในโลกนี้ก็จะไม่มีใคร มีความทุกข์เลย เพราะว่า ใคร ๆ ต่างก็บูชาอ้อนวอนเป็น"
หมายเหตุแก่นธรรม
ผู้เขียนและคณะเป็นผู้เขลาทางปัญญา หากมีข้อผิดพลาดบกพร่อง ขอน้อมรับทุกประการ บุญกุศลที่เกิดจากบทความนี้ขอน้อมถวายแด่หลวงปู่ หลวงตา หลวงพ่อ ครูบาอาจารย์ และขออุทิศให้แก่บรรพบุรุษ อันมีพ่อแม่ปู่ย่าตายายเป็นปฐม เจ้ากรรมนายเวร สรรพสัตว์ทั้งหลายในสากลโลกนี้ รวมทั้งท่านผู้อ่านทุกท่าน ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป
ข้อความบางตอนมาจากหนังสือคู่มือมนุษย์ ของหลวงปู่พุทธทาสภิกขุ ตามอ่านกันนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น