...+

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พระเจ้าอโศกมหาราช ...ชาวพุทธตัวอย่าง

ชีวประวัติ

September 18 2010
พระเจ้าอโศก มหาราช
การ์ตูน Add Comment

พระ เจ้าอโศกมหาราช เป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร และพระนางสุภัทรา ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 184 เมื่อพระชนมายุได้ 18 พรรษา ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปราช เมืองอุชเชนี แคว้นอวันตี

ต่อมาได้อภิเษก กับพระนางเวทิสะมหาเทวี แห่งเมืองเวทิสา และมีพระราชโอรสพระนามว่า มหินทะ (พ.ศ. 204) และมีพระราชธิดา พระนามว่า สังฆมิตตา (พ.ศ. 206) ซึ่งต่อมา ทั้งสองพระองค์นี้ได้อุปสมบทในพระพุทธศาสนา และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา


ผลงานที่สำคัญ

จาก หนังสือ “จารึกอโศก” ของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) 2516 ได้กล่าวถึงพระเจ้าอโศกมหาราชไว้ว่า พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์โมริยะ ครองราชสมบัติ ณ พระนครปาฎลีบุตร ตั้งแต่ พ.ศ. 218 ถึง พ.ศ. 260 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของชมพูทวีป และเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถมภ์ภกที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธ ศาสนา เมื่อขึ้นครองราชย์ได้ 8 พรรษา ได้ทรงกรีฑาทัพไปปราบแคว้นกลิงคะ ซึ่งเป็นชาติที่เข้มแข็ง แม้จะทรงมีชัยขยายดินแดนแห่งแว่นแคว้นของพระองค์ออกไป จนมีอาณาเขตกว้างใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติอินเดีย เทียบได้กับประเทศอินเดีย ปากีสถาน และบังคลาเทศปัจจุบันรวมกัน แต่ก็ทรงสลดพระทัยในความโหดร้ายทารุณของสงครามเป็นเหตุให้ทรงหันมานับถือพระ พุทธศาสนา และทรงดำเนินนโยบายทะนุบำรุงพระราชอาณาจักร และเจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศโดยทางสันติตามนโยบายธรรมวิชัย ก่อนแต่ทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนา ทรงปรากฎพระนามว่า จัณฑาโศก คือ อโศกผู้ดุร้าย ครั้นหันมาทรงนับถือพระพุทธศาสนา และดำเนินนโยบายธรรมวิชัยแล้วได้รับขนานพระนามใหม่ว่า ธรรมาโศก คือ อโศกผู้ทรงธรรม

พระราชกรณียกิจของพระเจ้าอโศกมหาราช ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา กล่าวเฉพาะที่สำคัญ ได้แก่ การทรงสร้างมหาวิหาร 84,000 แห่ง เป็นแหล่งที่พระภิกษุสงฆ์ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย บำเพ็ญสมณธรรม และสั่งสอนประชาชน ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 3 และทรงส่งพรเถรานุเถระไปประกาศพระศาสนาในแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองแพร่หลายไปในประเทศต่าง ๆ และทำให้ประเทศทั้งหลายในเอเซียตะวันออกมีอารยธรรมเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน
ใน ด้านรัฐประศาสโนบาย ทรงถือหลักธรรมวิชัยมุ่งชนะจิตใจของประชาชน ด้วยการปกครองแผ่นดินโดยธรรม ยึดเอาประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง ส่งเสริมกิจการสาธารณูปการ ประชาสงเคราะห์ สวัสดิการสังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง ทำให้ชมพูทวีปในรัชสมัยของพระองค์เป็นบ่อเกิดสำคัญแห่งอารยธรรมที่แผ่ไพศาล มั่นคง พระนามของพระองค์ดำรงอยู่ยั่งยืนนานและอนุชนเรียกขานด้วยความเคารพเทิดทูน เหนือกว่าปวงมหาราชผู้ทรงเดชานุภาพพิชิตแว่นแคว้นทั้งหลายได้ด้วยชัยชนะใน สงคราม

พระราชจริยาวัตรของพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นกัลยาณจารีตอันมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่สมัยต่อ ๆ มาที่นิยมทางสันติ และได้รับสมัญญาว่าเป็นมหาราช ทรงนับถือเป็นแบบอย่างดำเนินตามโดยทั่วไป ซึ่งพระราชจริยาวัตร และพระราชกรณียกิจของพระเจ้าอโศกมหาราช ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในศิลาจารึก ซึ่งพระองค์ได้โปรดให้เขียนสลักไว้ ณ สถานที่ต่าง ๆ ทั่วจักรวรรดิอันไพศาลของพระองค์ ความที่จารึกไว้เรียกว่า ธรรมลิปิ แปลว่า ลายสือธรรม หรือความที่เขียนไว้เพื่อสอนธรรม ถือเอาความหมายเข้ากรับเรื่องว่าธรรมโองการ ธรรมลิปิที่โปรดให้จารึกไว้เท่าที่พบ มีจำนวน 28 ฉบับ แต่ละฉบับ มักจารึกไว้ในที่หลายแห่ง บางฉบับขุดค้นพบแล้วถึง 12 แห่งก็มี ความในธรรมลิปินั้น แสดงพระราชประสงค์ของพระองค์ที่มีต่อประชาชนบ้าง หลักธรรมที่ทรงแนะนำสั่งสอนประชาชนและข้าราชการบ้าง พระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญแล้วบ้าง กล่าวโดยสรุป อาจวางเป็นหัวข้อได้ดังนี้ คือ.-
ก. การปกครอง
1. การปกครองแบบบิดากับบุตร โดยมีข้าราชการเป็นพี่เลี้ยงของประชาชน
2. การถือประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหน้าที่สำคัญที่สุด เน้นความยุติธรรมและความฉับไวในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
3.การ จัดให้มีเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งสอนธรรม คอยดูแลแนะนำประชาชนในทางความประพฤติและการดำรงชีวิตอย่างทั่วถึง และวางระบบข้าราชการควบคุมกันเป็นชั้น ๆ
4. การจัดบริการสาธารณประโยชน์และสังคมสงเคราะห์ เช่น บ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง ปลูกสวน สงวนป่า โอสถศาลา สถานพยาบาลสำหรับคนและสัตว์

ข. การปฏิบัติธรรม
1. เน้นทาน คือการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกันด้วยทรัพย์และสิ่งของ แต่ย้ำธรรมทาน คือการช่วยเหลือด้วยการแนะนำในทางความประพฤติ และการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ว่าเป็นกิจสำคัญที่สุด
2. การคุ้มครองสัตว์ งดเว้นการเบียดเบียนสัตว์ โดยเฉพาะให้เลิกการฆ่าสัตว์บูชายัญอย่างเด็ดขาด
3. ให้ระงับการสนุกสนานบันเทิงแบบมัวเมามั่วสุมรื่นเริง หันมาใฝ่ในกิจกรรมทางการปฏิบัติธรรมและเจริญปัญญา เริ่มแต่องค์พระมหากษัตริย์เอง เลิกเสด็จเที่ยวหาความสำราญโดยการล่าสัตว์ เป็นต้น เปลี่ยนมาเป็นธรรมยาตรา เสด็จไปนมัสการปูชนียสถาน เยี่ยมเยียนชาวชนบทและแนะนำประชาชน ให้ปฏิบัติธรรมแทนการประกอบพิธีมงคลต่าง ๆ
4. ย้ำการปฏิบัติธรรม ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคม เช่น การเชื่อฟังบิดามารดา การเคารพนับถือครูอาจารย์ การปฏิบัติชอบต่อทาสกรรมกร เป็นต้น
5. เสรีภาพในการนับถือศาสนา และความสามัคคีปรองดอง เอื้อเฟื้อนับถือกันระหว่างชนต่างลัทธิศาสนา

ประวัติ ศาสตร์พระพุทธศาสนาถือว่า สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นสมัยหนึ่งที่พระพุทธศาสนาเจริญสูงสุดในทุก ๆ ด้าน พระเจ้าอโศกมหาราชนอกจากจะทรงอุปถัมภ์การทำสังคายนา และทรงส่งสมณฑูตไปประกาศพระศาสนาในที่ต่าง ๆ แล้ว ยังได้ทรงสร้างปูชนียสถาน และวัตถุอนุสรณ์ในพระพุทธศาสนามากมาย เช่น ทรงสร้างวิหาร 84,000 แห่ง เจดีย์ 84,000 องค์ ในนครทั้งสิ้น 84,000 นคร อนึ่ง พระองค์ทรงนำเอาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาไปใช้ในการปกครองประเทศ ทรงสร้างศิลาจารึกแสดงคำสอนตามหลักพระพุทธศาสนาไว้ในที่ต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหลักฐานในการศึกษาพระพุทธศาสนาในสมัยของพระองค์เป็นอย่างดี
พระโสณะ และพระอุตตระ

ชีวประวัติ

ประวัติ ของพระโสณะและพระอุตตระ ไม่ปรากฏชัด จากการศึกษาพบว่า ปรากฏชื่อของท่านทั้งสองในการทำสังคายนาครั้งที่ 3จึงเชื่อว่าท่านทั้งสองอยู่ในช่วงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (สังคายนาครั้งที่ 3 ประมาณปี พ.ศ. 218) ในประเทศอินเดีย

ผลงานที่สำคัญ

พระโส ณะและพระอุตตระ เป็นสมณทูตที่พระเจ้าอโศกมหาราชและพระโมคคัลลสีบุตรได้คัดเลือกให้พระเถระ ผู้ทรงภูมิธรรมที่สามารถออกไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ พระโสณะและพระอุตตระถูกคัดเลือกให้เป็นพระสมณะทูตคณะที่ 8 และ 9 ดังรายละเอียดปรากฏในพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ดังนี้
พระเจ้าอโศกมหาราช แม้จะทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 3 ของนิกายเถรวาทแต่พระองค์ก็ยังทรงอุปถัมภ์เคารพนับถือสงฆ์ในนิกายอื่น ๆ ด้วย พระสงฆ์นิกายเถรวาทที่ทำสังคายนามีเพียง 1,000 รูป แต่ยังมีพระสงฆ์อรหันตเถระในนิกายอื่นอีกมาก โดยเฉพาะนิกายสราวสติวาทิน (เป็นนิกายย่อยของเถรวาท) พระที่พระองค์ส่งไปทั้ง 9 สายนั้น คงมีหลายนิกาย แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ สายที่ 8 กับสายที่ 9 เป็นสายใต้เป็นพระนิกายเถรวาท ดังนั้น พระโสณะกับพระอุตตระและคณะจึงเป็นเถรวาท ใช้ภาษาบาลีจดจารึกพระไตรปิฏก ปรากฏในคัมภีร์สมันตปาสาทิกา ว่าพระโสณะกับพระอุตตระไปสุวรรณภูมิ ดังคำว่า

สุวณฺณภูมิ คจฺฉนฺตฺวาน โสณุตฺตรา มหิทฺธิกา
ปิสาเจ นิทฺธมิตฺวาน พฺรหฺมชาลํ อเทสิสุ

(ความว่า พระโสณะและพระอุตตระผู้มีฤทธิ์มาก ไปสู่สุวรรณภูมิ ปราบปรามพวกปีศาจแล้ว ได้แสดงพรหมชาลสูตร)
ตาม คัมภีร์สมันตปาสาทิกา กล่าวถึงพระโสณะและพระอุตตระ แสดงอภินิหาริย์ปราบนางผีเสื้อน้ำและทรงแสดงธรรมพรหมชาลสูตร (สูตรว่าด้วยข่ายอันประเสริฐ ประกอบด้วย ศีลน้อย ศีลกลาง และศีลใหญ่) นั่นคือการประพฤติตนอยู่ในสรณะและศีล มีคนทั้งหลายในสุวรรณภูมิประเทศนี้ได้บรรลุธรรมประมาณ 60,000 คน กุลบุตรออกบวชประมาณ 3,500 คน

แสดงให้เห็นว่า พระโสณะและพระอุตตระ เป็นแบบอย่างของผู้ประพฤติอยู่ในสรณะและศีล จึงสามารถปราบพวกภูติผีปีศาจได้ และมีบทบาทสำคัญต่อการนับถือพระพุทธศาสนาของคนไทยก็คือ นิกายเถรวาท ซึ่งเป็นนิกายที่คนส่วนใหญ่ในประเทศไทยให้ความนับถือจนถึงปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น