...+

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปการวิเคราะห์ตีความเรื่องผลทางนิตินัยจากคะแนนโหวตโนอย่างไม่เป็นทางการของ นายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กูล เ

โปรดทราบ!!! ถึงแม้ว่ากฎหมายเลือกตั้ง (พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2554) มาตรา 88 คะแนนโหวตโนจะมีผลได้เสียต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง เฉพาะเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงเป็นสิ่งที่ไม่มีทางเกิดขึ้น จึงทำให้มีการด่วนสรุปว่า "โหวตโนแล้วไม่เกิดประโยชน์" แต่ทว่ามาตรา 89 ซึ่งดูเผินๆ แล้วอาจเข้าใจว่าเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครหลายคนจะไม่ได้รับผลกระทบจากคะแนนโหวตโนนั้น แท้จริงแล้วกฎหมายได้ซ่อนคำที่มีความหมายลึกซึ้งว่า "มาตรา 89 ภายใต้บังคับมาตรา 88 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งให้ผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเท่ากันหลายคน ให้ใช้วิธีจับสลาก..."

แปลไทยเป็นไทยก็คือ ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดได้คะแนน "น้อยกว่าโหวตโน" ก็ถือว่า "สอบตก" และถ้าได้ ส.ส.ไม่ครบตามจำนวนที่พึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น กกต.จะต้องจัดการ "เลือกตั้งซ่อม" *

*สรุปการวิเคราะห์ตีความเรื่องผลทางนิตินัยจากคะแนนโหวตโนอย่างไม่เป็นทางการของ นายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กูล เลขานุการศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงดำแหน่งทางการเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น