...+

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ลมหายใจที่รวยริน ของวัดพระบาทน้ำพุ

ชื่อเสียงของวัดพระบาทน้ำพุ ไม่เพียงเป็นที่รับรู้ของคนไทยในประเทศในฐานะที่พึ่งพิงของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี แต่ยังเป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางของชาวโลกด้วย แต่วิกฤตการณ์การเงินในช่วงหลังที่รายจ่ายไม่สมดุลกับรายรับ กลายเป็นปัญหาหนักใจของ 'พระอาจารย์อลงกต' ผู้อุทิศชีวิตเพื่อผู้ติดเชื้อที่จะต้องหาแนวทางการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน โดยเตรียมตั้งโรงงานขนาดเล็กรับงานผลิตชิ้นส่วนรองเท้าและตัดเย็บเสื้อผ้าจากผู้ผลิตรายใหญ่ รองรับรายจ่าย 1.25 ล้านบาทต่อเดือน เพียงหวังให้ผู้ป่วยที่ถูกญาติมิตรและสังคมขับไล่มีที่พักพิงในวาระสุดท้ายแห่งชีวิต


ทุกคนในนี้มีมือถือใช่ไหมครับ

ขอซัก 9 บาทได้ไหม เพื่อผู้ป่วยโรคเอดส์ ไม่ว่ามือถือคุณจะเครื่องละพัน หรือเครื่องละหมื่น ขอแค่ 9 บาท บริจาคให้วัดพระพุทธบาตรน้ำพุ

ง่ายๆ แค่กด 1900-222-200 และกด 1 แค่นี้ คุณก็ได้ร่วมทำบุญแล้วค่ะ เรื่องจริง โทรไปเช็คที่วัดแล้ว)
รวมค่าบริการทั้งหมด 15 บาท ครับขอบคุณสำหรับทุกสายทานบารมีค่ะ
อนุโมทนา ด้วยนะครับ

อีกไม่เกิน 3 เดือนวัดพระบาทน้ำพุต้องปิดลง!! ถ้าไม่ อ่าน กรุณา Forward
ถ้าไม่ช่วย อีกไม่ เกิน 3 เดือน วัดพระบาทน้ำพุ ต้องปิดลง ทุกคนคงเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับวัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี ที่มีหลวงพ่ออลงกตเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งท่านได้อุทิศตัวช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์และเด็กกำพร้ามาสิบกว่าปี แล้ว ทั้งๆที่ท่านมีพร้อม ทุกอย่าง จบการ ศึกษาระดับปริญญาโทวิศวะจากออสเตรเลีย แต่ท่านก็เสียสละ ได้ เพียงเพราะท่านเห็น ว่า ผู้ป่วยโรคเอดส์นั้นไร้ที่พึ่ง จริงๆ ขนาดบางคนพอพ่อแม่รู้ว่าติดเชื้อ เอดส์ ยังรังเกียจและทอดทิ้งลูกของตัว เองได้เลย หลวงพ่อท่านเห็นว่า ถ้าท่านไม่ช่วยพวกเขาเหล่า นี้ ท่านก็ไม่สามารถเรียกตัวเองว่าเป็น มนุษย์ได้ ทุก วันนี้ ที่วัดมีผู้ป่วยและเด็กกำพร้าที่ หลวงพ่อต้องคอยดูแลรวมถึงพนักงานและอาสาสมัครราวหนึ่งพันคน ค่าใช้จ่ายต่อเดือนประมาณ สามล้าน กว่าบาทแต่ยอดบริจาคกลับน้อยลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา เห็นว่า ลดลงเหลือเพียงเดือนละสองแสนบาทเอง ส่วนรัฐบาลก็ช่วยเหลือเพียงเดือนละหนึ่งแสนบาทเท่า นั้นเคยโทรไปถามที่วัด เกี่ยวกับสถานะทางารเงิน พนักงานก็บอกว่า รายรับเท่าเดิม แต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทุกวัน ค่ายารักษาหรือเพิ่มภูมิต้านทานก็ แสนจะแพง แถมผู้ป่วยก็มีแต่จะเพิ่มมาก ขึ้น ทางวัดจะไม่รับก็ไม่ ได้ เนื่องจากมีคนพาผู้บ่วยมาทิ้งไว้ที่ หน้าประตูวัดเสมอ ซึ่งพวกเขาก็ไม่มีทางไป ที่วัดก็เมตตาช่วยเหลือแม้กระทั่งคน ชราและเด็กที่คนในครอบครัวเสียชีวิต เพราะเอดส์แล้วไม่มีใครดูแล ตอนนี้ต้องมีการส่ง ผู้ป่วยที่อาการดีแล้วและพอมีฐานะกลับบ้านบ้าง แล้ว และอีกสามเดือนอาจต้องปิดตัว ลง!!!!!!
หลวงพ่อเองต้องลงมาบิณฑบาตรที่ กรุงเทพฯทุกสัปดาห์ ต้องไปหลายที่ต่อ หนึ่งวัน เพราะรอนไปช่วยเหลือถึงวัด ไม่ไหว เห็นแล้วก็เหนื่อยแทน จริงๆ เมืองไทยมีผู้ติดชื้อเอดส์มาก เป็นอันดับสี่ของโลกแล้ว และแนวโน้มก็มี มากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนทางกับอายุของผู้ที่ ติดเชื้อเอดส์ซึ่งกลับกลายเป็นว่าอายุน้อยลง ทุกที อยากให้พวกเราเข้าใจว่า เรื่องนี้เป็นปัญหาของประเทศชาติและ เป็นเรื่องของพวกเราทุกคนที่ต้องช่วยกัน พวกเราสามารถช่วยได้หลายรูปแบบ
ขณะนี้หลวงพ่อท่านมารับบริจาคทุกวัน เสาร์ ตั้งแต่ 8.30 น. -10.00 น. ที่สวน ลุมไนท์บาร์ซาร์ ข้างๆอาคารบีอีซี เท โร สามารถบริจาคเป็นเงิน (ดีที่สุด), ยา, ผ้าอ้อม, สำลี, ของอุปโภคบริโภคต่างๆ, หนังสือ, เสื้อผ้า ฯลฯหรือบริจาคผ่านธนาคาร ให้กับ ' กองทุนอาทรประชานาถ ถ้าสามารถทำเป็นรายเดือนได้จะดีมาก ราย ละเอียดของเบอร์บัญชีมีดังนี้
ธ.กรุงเทพฯ สาขา ลพบุรี 289-0-84697-1
ธ.ทหารไทย สาขา ลพบุรี 304-2-41277-9
ธ.กสิกรไทย สาขา ถนนสุรสงคราม 174-2-39000-
ธ.ไทย พาณิชย์ สาขาลพบุรี 579-2-33730- 7
ธ.กรุงศรีอยุธยา สาขา ลพบุรี 111-1-47300-7
ธ.นครหลวง ไทย สาขาลพบุรี 340-2-14976- 0
ธ.เพื่อการเก ษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขานางเลิ้ง 000-2-12022-0
และสุดท้ายที่พวกเราสามารถช่วย ได้เดี๋ยวนี้ คือ การบอกต่อถึงเรื่องนี้ และช่วยส่งเมล์นี้ไปให้คนที่รู้จักทกๆ คน

เพิ่มเติมๆ

1900 222 200 จะใช้บริจาคได้กับโทรศัพท์ทุกระบบยกเว้นฮัทช์

สำหรับท่านที่โทรจากโทรศัพท์พื้นฐานของ tot จะได้บริจาคให้กับทางวัด 9 บาทเต็ม ๆ

แต่ถ้าเป็นระบบอื่นไม่ว่าจะจากมือถือหรืออะไรก็ตามทาง 1900 จะให้วัดพระบาทน้ำพุ 7.50 บาท







ค่าใช้จ่ายเกินรายรับ

ในช่วงกลางปีที่ผ่านมาทางวัดพระบาทน้ำพุซึ่งรับอนุเคราะห์ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่สามารถอยู่กับครอบครัวหรือถูกคนรอบข้างขับไล่จนไม่สามารถอยู่ในสังคมได้ ต้องประสบกับวิกฤตการเงินเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวทำให้ยอดเงินบริจาคลดลงจนน่าตกใจและคาดว่าอาจจะต้องปิดรับผู้ป่วยใหม่ในไม่ช้านี้

ด้วยลำพังภาระค่าใช้จ่ายที่ทางวัดต้องแบกรับถึงเดือนละ 1,250,000 บาท ก็ดูจะหนักเกินกำลังเพราะช่วงนั้นเงินบริจาคที่เข้ามามีเพียงเดือนละ 200,000 บาทเท่านั้น ทำให้พระอุดมประชากร หรือ 'พระอาจารย์อลงกต' เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ จ.ลพบุรี ต้องตระเวนออกบิณฑบาตและเดินทางมายังกรุงเทพฯเพื่อขอรับบริจาคทุกสัปดาห์ ชนิดทีเรียกว่าในหนึ่งสัปดาห์นั้นหลวงพ่อจะมีเวลาอยู่ที่วัดในวันอาทิตย์เพียงวันเดียวเท่านั้น ด้วยหวังเพียงประทังชีวิตผู้ป่วยโรคเอดส์ 283 ชีวิต รวมทั้งเด็กกำพร้าซึ่งพ่อแม่เสียชีวิตเพราะโรคเอดส์ที่หลวงพ่อได้อุปการะไว้

เด็กบางคนต้องเผาศพพ่อแม่ของตัวเอง
‘พระอาจารย์อลงกต’ เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ กับเด็กๆที่ทางวัดให้การอุปการะ


เจ้าหน้าที่ของวัดพระบาทน้ำพุ บอกว่า ปัจจุบันทางวัดมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ทั้งค่าอาหาร ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าน้ำ-ไฟและโทรศัพท์ ค่าพาหนะ เงินเดือนพนักงาน ซึ่งแม้แต่ละคนจะได้ค่าตอบแทนไม่มากนักแต่เมื่อรวมทุกฝ่ายแล้วก็ไม่ใช่น้อยทีเดียว นอกจากนั้นยังมีค่าสมุดหนังสือของเด็กกำพร้าที่หลวงพ่อส่งเรียนด้วย

"ทางวัดพระบาทน้ำพุให้การดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ในนามมูลนิธิธรรมรักษ์ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ โครงการ 1 ซึ่งอยู่ภายในวัดพระบาทน้ำพุ ที่อำเภอเมือง จ.ลพบุรี เป็นพื้นที่สำหรับผู้ป่วยที่อาการหนักหรือผู้ป่วยระยะสุดท้าย และโครงการ 2 อยู่ที่อำเภอหนองม่วง จ.ลพบุรี สำหรับผู้ป่วยที่ร่างกายฟื้นฟูแข็งแรงแล้ว ซึ่งในส่วนนี้ยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 33 ซึ่งหลวงพ่ออลงกตก่อตั้งขึ้นเพื่อให้การศึกษาแก่เด็กกำพร้าที่พ่อแม่เสียชีวิตเพราะโรคเอดส์ โดยเปิดสอนตั้งแต่อนุบาล ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 คือเด็กๆพวกนี้ไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนปกติได้เพราะสังคมรังเกียจที่พ่อแม่ติดเอดส์ ท่านก็เลยต้องตั้งโรงเรียนขึ้นมารองรับเพื่อให้เด็กเหล่านี้มีการศึกษาจะได้สามารถพึงพาตัวเองต่อไปได้



เจ้าหน้าที่พยาบาลดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์อย่างใกล้ชิด

นอกจากจะดูแลรักษาตามอาการแล้ว หลวงพ่อท่านก็พยายามฟื้นฟูทั้งสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย มีการฝึกอาชีพให้ เช่น เย็บผ้า ประดิษฐ์ดอกไม้ ซึ่งเป็นงานเบาๆที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ เพื่อให้เขาเหล่านี้มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคร้าย และหากพร้อมจะกลับไปอยู่ในสังคมภายนอกก็จะได้มีอาชีพเลี้ยงตัวต่อไป บางคนที่แข็งแรงพอที่ทำงานได้ก็จะให้เขาช่วยงานเล็กๆน้อยๆ เช่น โบกรถ ประดิษฐ์ของที่ระลึกออกจำหน่าย เพื่อให้เขาเห็นคุณค่าของตัวเอง

ปัญหาที่นี่จะเยอะมาก เราขาดแคลนบุคลากร โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วย แม้จะมีอาสาสมัครเข้ามาช่วยบ้างแต่ก็ยังน้อยอยู่ ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนก็เยอะ แต่ก็ต้องสู้กันไป เพราะหลวงพ่อท่านมองว่าผู้ป่วยเหล่านี้เขาไม่มีที่ไป อยู่ที่ไหนก็มีแต่คนรังกียจ ถ้าทางวัดผลักไสเขาอีกเขาก็ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน" เจ้าหน้าที่วัดพระบาทน้ำพุ กล่าว





อาสาสมัครมาช่วยดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีโดยไม่มีท่าทีรังเกียจ



รอธารน้ำใจหลั่งไหลกู้วิกฤต

อย่างไรก็ดี หลังจากที่มีผู้ทราบถึงความเดือดร้อนของวัดพระบาทน้ำพุจึงได้พิมพ์ข้อความบอกเล่าถึงปัญหาที่ทางวัดประสบแล้วส่งอีเมลต่อๆกันไป จนเกิดเป็นกระแสธารน้ำใจที่หลั่งไหลเข้ามามากมาย ทั้งข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นและตัวเงินอันเป็นปัจจัยสำคัญในการหล่อเลี้ยงชีวิตผู้ป่วย ทำให้ลมหายใจที่กำลังรวยรินของวัดแห่งนี้กลับฟื้นคืนขึ้นอีกครั้ง

พระอาจารย์อลงกต กล่าวด้วยความตื้นตันใจ ว่า "ช่วงกลางปีนี่เราย่ำแย่มากๆ แต่ตอนนี้สถานการณ์การเงินเริ่มดีขึ้น หลังจากที่ข่าวแพร่ออกไปประมาณเดือนสิงหาคมก็เริ่มมีผู้บริจาคเข้ามาบ้าง ยิ่งในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมานี่มีคนเข้ามาช่วยเยอะมาก เราก็แปลกใจ เพิ่งมารู้ตอนหลังว่ามีผู้ปรารถนาดีช่วยส่งอีเมลบอกข่าวต่อๆกันไปจนกลายเป็นกระแสของสังคม รู้เลยว่ากระแสของคนที่ห่วงใยนั้นมีเยอะ ก็มีโทรศัพท์เข้ามาสอบถาม บ้างแวะเข้ามา บางกลุ่มก็มากัน 2-3 คน บ้างก็มาเป็นหมู่คณะ มาช่วยบริจาคกันเยอะมาก ทำให้วัดเราสามารถพลิกจากสถานการณ์วิกฤตกลับมาอยู่รอดได้โดยไม่ต้องปิดรับผู้ป่วย อาตมาก็ต้องฝากขอบใจคนที่เป็นต้นคิดเรื่องนี้ด้วย"(ยิ้มปลาบปลื้ม)





ให้ผู้ป่วยฝึกอาชีพเพื่อให้เห็นคุณค่าของตัวเอง

แม้สถานการณ์ตอนนี้จะเริ่มดีขึ้น แต่ก็ไม่อาจแน่ใจได้ว่าวัดพระบาทน้ำพุจะไม่ต้องกลับไปเผชิญกับปัญหาดังกล่าวอีก ดังนั้นพระอาจารย์อลงกตจึงมีแนวคิดที่จะสร้างรากฐานทางการเงินของมูลนิธิธรรมรักษ์ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอชไอวีมากว่า 10 ปี ให้มั่นคงขึ้นเพื่อที่จะให้วัดสามารถพึ่งพาตัวเองได้โดยไม่ต้องรอคอยเงินบริจาค โดยกำลังเตรียมที่จะตั้งโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กเพื่อรับงานผลิตสินค้าประเภทเสื้อผ้าและรองเท้าจากผู้ผลิตรายใหญ่ รวมทั้งจะจัดสรรพื้นที่เพื่อทำการเกษตรเพื่อนำผลผลิตที่ได้มาบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้ต่อไป

พระอาจารย์อลงกต เล่าถึงโครงการหารายได้เพื่อเลี้ยงตัวของวัดพระบาทน้ำพุ ว่า

"เรามีแนวคิด 2-3 แนวทางเพื่อให้เราไม่ต้องมาเผชิญหน้ากับวิกฤตในอนาคต ก็พยายามหารายได้เข้ามา โดยหลักๆมี 2 โครงการที่วางไว้ โครงการแรกจะทำในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งเราได้รับความกรุณาจากทางบริษัทพัฒน์ (บริษัทสหพัฒนพิบูลย์ จำกัด (มหาชน) )ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ที่จะจ้างให้เราผลิตงานให้ โดยสหพัฒน์จะนำวัตถุดิบมาให้ เราก็ผลิตเป็นชิ้นส่วนต่างๆของรองเท้าแล้วก็ส่งให้เขาเอาไปประกอบ หรือรับตัดเย็บเสื้อผ้าให้สหพัฒน์ ซึ่งเราจะให้ผู้ป่วยที่แข็งแรงแล้วเขามาช่วยทำ แล้วกำไรที่ได้ก็นำมาหล่อเลี้ยงองค์กร ส่วนอีกโครงการหนึ่งจะเป็นเชิงเกษตร คือเรามีพื้นที่อยู่แล้ว ก็จะใช้พื้นที่ในการปลูกพืชผักไว้กินไว้ขาย

นอกจากนั้นก็จะหากิจกรรมที่จะปฏิสัมพันธ์กับประชาชนทั้งประเทศ คืออยากให้เขาเข้ามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ป่วยเอชไอวี โดยเราจะจัดสร้างพระไภสัชคุรุไวฑูรประภาตถาคต ซึ่งเป็นพระที่ถือหม้อยาและเป็นสัญลักษณ์ของการแพทย์แผนไทย โดยสร้างในนามของมหาเถรสมาคมเพื่อให้สาธุชนได้เช่าไว้บูชา องค์ละ 99 บาท แต่จะให้บูชาได้แค่คนละ 1 องค์เท่านั้น ซึ่งเงินตรงนี้ก็จะเอามาช่วยเหลือผู้ป่วย และไม่ใช่แต่ประชาชนที่มีส่วนร่วมในเรื่องนี้พระภิกษุทั่วประเทศท่านก็เข้ามาช่วยด้วย แต่การที่จะขอบริจาคจากพระก็ดูจะไม่เหมาะ เราจึงให้พระทุกรูปในทุกวัดทั่วประเทศท่านสลักชื่อบนแผ่นทองเหลืองแล้วนำแผ่นทองเหลืองเหล่านี้มาเข้าพิธีหลอมเป็นองค์พระ เพราะเราอยากให้ทุกคนตระหนักถึงความรุนแรงของโรคและเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์"




บ้านพักสำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องแยกให้อยู่คนเดียวเพื่อป้องกันโรคติดต่อบางโรค



ที่วัดมีเตาเผาศพเอง

ความสะเทือนใจของหลวงพ่อ

บางคนอาจมองว่าเหตุใดพระภิกษุรูปนี้จึงเข้ามารับอุปการะผู้ป่วยโรคเอดส์และเด็กที่ได้รับผลกระทบ สิ่งเหล่านี้ใช่กิจของสงฆ์หรือไม่ แต่ในมุมมองของท่านแล้วกลับเห็นว่าการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อที่ไร้ที่พึ่งพิงและถูกสังคมไล่ต้อนจนไร้ที่ยืนนั้นเป็นความเมตตาที่ไม่ว่าพระหรือบุคคลทั่วไปพึงมีให้แก่เพื่อนมนุษย์ บ่อยครั้งที่พระอาจารย์อลงกตและเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิธรรมรักษ์ต้องพบเจอกับภาพสะเทือนใจและอดไม่ได้ที่จะยื่นมือเข้าไปประคองร่างที่ไร้เรียวแรงเหล่านี้

เจ้าหน้าที่ของวัดพระบาทน้ำพุ เล่าว่า นอกจากผู้ป่วยที่เข้ามาขออาศัยวัดเพราะถูกญาติๆและสังคมรังเกียจแล้ว ก็มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ญาติๆนำมาทิ้งไว้ที่วัด และมีญาติน้อยคนนักที่จะตามมาดูแลจนวาระสุดท้ายของพวกเขา

"บางคนญาติไม่ได้รังเกียจนะ แต่ที่บ้านเขาค้าขาย มีผู้ป่วยอยู่ชาวบ้านก็รังเกียจไม่เข้ามาซื้อของ เลยต้องเอามาฝากที่วัด แต่ส่วนใหญ่เอาคนป่วยมาไว้ที่วัดแล้วญาติก็หายไปเลย บางรายตามมาดูแลเฉพาะตอนแรกๆเท่านั้น ส่วนคนที่ดูแลจนวาระสุดท้ายของผู้ป่วยนี่มีน้อยมาก แค่ 1% เท่านั้น บางคนญาติเอาทิ้งไว้หน้าวัด เราเห็นก็พาเข้ามา แต่ที่หดหู่ใจมากคือเขาเอามาทิ้งไว้ในป่าข้าวโพดรอบๆวัด คือคนป่วยนี่ผอมแห้ง ลุกไปไหนไม่ไหว นอนรอความตายอย่างเดียว เราเจอแบบนี้ 2-3 ราย คือเขากลัวว่าเข้ามาติดต่อกับทางวัดแล้วเราจะไม่รับตัวผู้ป่วยไว้เลยเอามาทิ้งในดงข้าวโพด ให้เราออกไปเจอเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด จริงๆถ้าพามาเรารับทุกราย ขอเถอะ อย่าทำแบบนี้เลย แค่เอาผู้ป่วยมาไว้ที่วัดนี่เขาก็รู้สึกแย่มากพอแล้ว อย่าทิ้งเขาเหมือนไม่ใช่คน" เจ้าหน้าที่กล่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ

ขณะที่พระอาจารย์อลงกตก็พบเจอกับภาพสะเทือนใจไม่แพ้กัน แม้ท่านจะใช้หลักธรรมในการมองปัญหาและความเป็นไปของโลกที่วนเวียนอยู่แค่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่บางครั้งท่านก็อดรู้สึกเศร้าใจไม่ได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยซึ่งร่างกายแข็งแรงพอที่จะกลับไปอยู่กับครอบครัวได้แต่เมื่อไปถึงบ้านกลับถูกญาติๆปฏิเสธที่จะให้อยู่ร่วมชายคา ทำให้ผู้ป่วยต้องซมซานกลับมาวัดพระบาทน้ำพุและฆ่าตัวตายเพื่อหนีความโหดร้ายของสังคม

"บางคนบอกว่าจะกลับไปบ้าน อีก 2 วันก็กลับมาใหม่ อาตมาก็เริ่มเห็นความผิดปกติ คือเขาดูซึมเศร้า ก็ถามว่าเป็นอะไร แต่เขาไม่บอก ไม่ยอมเล่าให้ใครฟัง แล้วตอนหลังก็ฆ่าตัวตาย บางคนโดดตึกตาย บางคนผูกคอตาย บ้างก็เชือดคอตาย มันเป็นเรื่องที่น่าสะเทือนใจมาก ก็อยากให้ญาติและคนในชุมชนเปิดใจรับเขาบ้าง คือเราต้องทำความเข้าใจกับทุกส่วนสังคม ไม่อย่างนั้นก็แก้ปัญหาไม่ได้ อาตมาไม่ได้มองเรื่องเงินบริจาคเป็นเรื่องใหญ่ แต่อยากให้รณรงค์เพื่อป้องกันมากกว่า ตราบใดที่คนยังไม่เห็นถึงความรุนแรงของโรคเอดส์ วัดพระบาทน้ำพุก็จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี "

วอนสังคมอย่าซ้ำเติม

แรงผลักสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยโรคเอดส์ต้องเข้ามาพึงพิงวัดพระบาทน้ำพุก็คือกระแสของสังคมที่นอกจากจะไม่ยอมรับผู้ป่วยแล้วยังซ้ำเติมพวกเขาด้วยการแสดงท่าทีรังเกียจและขับไล่ไม่ให้อยู่ในชุมชน

นารี จันทร์เนตร ผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้ายที่ยินดีเปิดเผยตัวเพื่อให้สังคมตะหนักถึงปัญหาที่เกิดจากทัศนคติในเชิงลบที่คนในสังคมมีต่อผู้ป่วยโรคเอดส์ ว่าการที่พวกเขาถูกสังคมรังเกียจนั้นย่อมมิใช่เพียงผู้ป่วยคนเดียวที่เจ็บปวดจนต้องหลบลี้จากโลกภายนอก แม้แต่เด็กน้อยที่ไม่รู้เรื่องราวก็พลอยถูกประณามหยามเหยียดและไร้ที่ยืนในสังคมเพียงเพราะพวกเขามีพ่อแม่เป็นผู้ติดเชื้อ

"สามีพี่เจ้าชู้มาก พี่รู้ตัวว่าเป็นเอดส์ตั้งแต่คลอดลูก แต่ตรวจเลือดของลูกแล้วหมอบอกลูกไม่เป็นเอดส์ เราก็ดีใจ ก็ปิดมาตลอด ไม่ให้ใครรู้ กลัวเขารังเกียจ พี่รับจ้างก่อสร้างหาเงินเลี้ยงลูกจนตอนนี้เขาอายุ 11 ขวบแล้ว เพิ่งมาแสดงอาการเมื่อไม่นานมานี้ เราไม่มีบ้าน อาศัยอยู่กับญาติ พอเขารู้ว่าเป็นเอดส์ก็ไล่ไม่ให้อยู่ จะฝากลูกกับเขาก็ไม่ได้เพราะเขาไม่เชื่อว่าลูกเราไม่ติด ไม่รู้จะไปไหนก็เลยมาขออาศัยที่วัดนี่ เงินก็ไม่มี ก็ขอเงินจากผู้ใหญ่บ้านมา 200 บาทเป็นค่าเดินทาง"





ศิลปะจากเถ้ากระดูกของผู้ป่วยเอชไอวี

ขณะที่ น้องปู (นามสมุติ) ลูกสาววัย 11 ปี ของนารี บอกว่าตอนที่เพื่อนๆที่โรงเรียนรู้ว่าแม่ของเธอเป็นเอดส์เพื่อนๆก็พากันรังเกียจ ไม่มีใครเข้าใกล้ ซึ่งทำให้เธอเสียใจมาก

"เพื่อนๆไม่มีใครเล่นกับหนูเลย คุณครูเขาก็เฉยๆ เขาก็ไม่ช่วยอะไร ตอนนี้หนูมาอยู่เฝ้าแม่ที่วัด เห็นพี่ๆ (เจ้าหน้าที่ของวัดพระบาทน้ำพุ) บอกว่าเปิดเทอมจะให้ไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ไปอยู่ประจำ หนูดีใจที่จะได้เรียนหนังสือ จะได้มีทำงานดีๆ มีเงินมารักษาแม่" น้องปูบอกกับเราด้วยน้ำเสียงที่สดใส

นารีและลูกสาวอาจไม่ใช่คนแรกและคนสุดท้ายที่ได้รับผลกระทบจากความโหดร้ายของสังคม ซึ่งเราก็ได้แต่หวังว่าสังคมจะเข้าใจและให้โอกาสพวกเขาบ้าง

สุดท้าย พระอาจารย์อลงกต ยังได้อยากฝากให้รัฐบาลชุดใหม่ช่วยแก้ไขปัญหาโรคเอดส์อย่างจริงจัง โดยอาจจะจัดสรรรายได้จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลมาช่วยรณรงค์ป้องกันและดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี รวมทั้งลูกๆของผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้ปัญหาเบาบางลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น