...+

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาใน ประเทศไทย

วันวิสาขบูชานี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า
ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มา
จากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ .ศ.
420 พระเจ้าภาติกุราช
กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้
ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร
เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาใน
รัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม
แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่ สมัยสุโขทัย
นั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความ
สัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกัน
มากเพราะ พระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทาง
เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และ
เชื่อว่าได้
นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติใน
ประเทศไทยด้วย
ใน หนังสือนางนพมาศได้
กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูช
าสมัยสุโขทัยไว้ พอสรุปใจความได้ว่า "
เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน
ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน
ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก
หมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความ
สะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัย
เป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม
จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่ว
พระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย
เป็นเวลา 3 วัน 3 คือ พระมหากษัตริย์
และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และ
ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ
ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ดำเนิน
พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และ
นางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการ
ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ
อารามหลวง
เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน
ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล
ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต
ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต
แด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์แจก
เป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า
คนอนาถา คนแก่ คนพิการ
บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์
4 เท้า 2 เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้
เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ
ยืนยาวต่อไป "
ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และ
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วย
อำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้า
ครอบงำประชาชนคนไทย และ
มีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสน
า จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า ได้
มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา
จนมาถึง
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าน
ภาลัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (
พ.ศ. 2360) ทรงดำริกับ
สมเด็จพระสังฆราช (มี)
สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะ
ให้ฟื้นฟู
การประกอบพระราชพิธี วันวิสาขบูชาขึ้น
ใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช
ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรก
ในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ
เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้
จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประก
าร เพื่อมีพระประสงค์ให้
ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็น
หนทางเจริญอายุ และอยู่เย็นเป็น
สุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และ
อุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน
ฉะนั้น การประกอบพิธี
ใน วันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้
รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ 2 และ
ถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
การจัดงานเฉลิมฉลอง
ใน วันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุค
ทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง
วันวิสาขบูชา พ.ศ.2500 ซึ่ง
ทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง 25
พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 18
พฤษภาคม รวม 7 วัน ได้จัดงานส่วน
ใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วน
สถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ
ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่ว
พระ ราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล 5
หรือศีล 8 ตามศรัทธาตลอดเวลา 7 วัน
มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม 2,500
รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และ
งดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14
พฤษภาคม รวม 3 วัน มีการก่อสร้าง
พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร
เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ 2,500 รูป
ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน
วันละ 200,000 คน เป็นเวลา 3 วัน
ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น
รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ใน
บริเวณวัด และหน้าวัดด้วย และได้
มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่
อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณีพิเศษ
ใน วันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย
หลักธรรมที่ควรปฏิบัติ
1. กตัญญู กตเวที
ความกตัญญู คือ ความ
รู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว้ก่อนเป็น
คุณธรรมคู่กับ ความกตเวที คือ
การตอบแทนอุปการะคุณที่ผู้อื่นทำ
ไว้นั้นผู้
ที่ทำอุปการรคุณก่อนเรียกว่า
บุพการี ขอยกมากล่าวในที่นี้คือ
บิดามารดา และครูอาจารย์
บิดามารดา มีอุปการะคุณแก่บุตร
ธิดา ในฐานะเป็นผู้ให้กำเนิดและ
เลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ให้การศึกษา
อบรมสั่งสอน ให้ละเว้นจากความชั่ว
มั่นคงในการทำความดี เมื่อถึง
คราวมีคู่ครองได้
จัดหาคู่ครอบที่เหมาะสมให้และ
มอบทรัพย์สมบัติให้ ไว้เป็นมรดก
บุตร ธิดา
เมื่อรู้อุปการะคุณที่บิดามารดาทำไว้
ย่อมตอบแทนด้วยการ
ประพฤติตัวดี สร้างชื่อเสียงให้
แก่วงศ์ตระกูล เลี้ยงดูท่าน และช่วย
ทำงานของท่าน และเมื่อล่วงลับไป
แล้วก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่าน
ครูอาจารย์ มีอุปการะคุณแก่ศิษย์ใน
ฐานะเป็นผู้ประสาทความรู้ให้
ฝึกฝนแนะนำให้เป็น
คนดีสอนศิลปวิทยาให้อย่างไม่
ปิดบัง ยกย่องให้ปรากฎแก่คนอื่น
และช่วยคุ้มครองศิษย์ทั้งหลาย
ศิษย์เมื่อรู้อุปการคุณที่ครูอาจารย์ท
ำไว้ย่อมตอบแทนด้วย
การตั้งใจเรียน ให้เกียรติ และให้
ความเคารพไม่
ล่วงละเมิดโอวาทของครู ความ
กตัญญูและความกตเวทีนี้ถือว่าเป็น
เครื่องหมายของคนดีส่งผลให้
ครอบครัว และสังคมมีความสุขได้
เพราะบิดามารดาจะ
รู้จักหน้าที่ของตนเองด้วย
การทำอุปการคุณให้ก่อน และบุตร
ธิดา ก็จะรู้จัก หน้าที่ของตนเองด้วย
การทำดีตอบแทน
สำหรับ ครูอาจารย์ก็จะ
รู้จักหน้าที่ของตนเองด้วย
การทำอุปการคุณ คือ
สอนศิลปวิทยาอย่างเต็มที่และศิษย์ก็
จะรู้จักหน้าที่ของตนเอง ด้วย
การตั้งใจเรียน และให้ความเคารพ
เป็นการตอบแทน นอกจากจะใช้ใน
กรณีของบิดามารดากับบุตรธิดา
และครูอาจารย์กับศิษย์แล้ว
คุณธรรมข้อนี้ก็สามารถนำไปใช้ได้
แม้ระหว่าง พระมหากษัตริย์กับ
พสกนิกร นายจ้างกับลูกจ้าง เพื่อน
กับเพื่อนและบุคคลทั่วไป รวมทั้ง
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
ในทางพระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุพการีใน
ฐานะที่ทรงสถาปนาพระพุทธศาสน
าและทรงสอนทางพ้น ทุกข์ให้
แก่เวไนย-สัตว์ พุทธศาสนิกชน
รู้พระคุณอันนี้ จึงตอบแทนด้วย
อามิสบูชา และปฏิบัติบูชา กล่าวคือ
การจัดกิจกรรมใน วันวิสาขบูชา
เป็นส่วนหนึ่งที่ชาวพุทธแสดงออก
ซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์
ด้วยการทำนุบำรุงส่งเสริม
พระพุทธศาสนา และ
ประพฤติปฏิบัติธรรม
เพื่อดำรงอายุพระพุทธศาสนาสืบไป
2. อริยสัจ ๔
อริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐ
หมายถึง ความจริงที่ไม่ผันแปร
เกิดมีได้แก่ทุกคนมี ๔ ประการ คือ
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกข์ คือ
ปัญหาของชีวิต
พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้
ทราบว่า มนุษย์ทุกคนมีทุกข์เหมือน
กันทั้งทุกข์ขั้นพื้นฐานและ
ทุกข์เกี่ยวกับการ
ดำเนินชีวิตประจำวัน
ทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ ทุกข์ที่เกิดจาก
การเกิด การแก่ และการตาย ส่วน
ทุกข์ที่เกี่ยวกับ
การดำเนินชีวิตประจำวันคือ
ทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจาก
สิ่งที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากการประสบ
กับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ทุกข์ที่เกิดจาก
การไม่ได้ตามใจปรารถนา รวมทั้ง
ทุกข์ที่เกี่ยวกับ
การดำเนินชีวิตด้านต่างๆ สมุทัย คือ
เหตุแห่งปัญหา
พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้
ทราบว่า ทุกข์ทั้งหมด ซึ่งเป็น
ปัญหาของชีวิตล้วนมีเหตุให้
เกิดเหตุนั้น คือ ตัณหา อันได้แก่
ความอยากได้ต่างๆ
ซึ่งประกอบไปด้วย ความยึดมั่น
นิโรธ คือ การแก้ปัญหาได้
พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้
ทราบว่า ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต
ทั้งหมดนั้นแก้ไขได้ โดย
การดับตัณหา คือ ความอยากให้
หมดสิ้น มรรค คือ ทางหรือ
วิธีแก้ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงแสดง
ไว้ก็ เพื่อให้ทราบว่า
ทุกข์คือปัญหาของชีวิตทั้งหมดที่
สามารถแก้ไขได้นั้นต้อง
แก้ไขตามมรรคมีองค์ ๘
3. ความไม่ประมาท
ความไม่ประมาท คือ การมีสติทั้ง
ขณะทำ ขณะพูดและขณะคิด สติ
คือ การระลึกรู้ทัน ที่คิด พูดและทำ
ในภาคปฏิบัติเพื่อนำมาใช้ใน
ชีวิตประจำวัน หมายถึง
การระลึกรู้ทันการเคลื่อนไหวอิริยา
บถ ๔ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน การฝึก
ให้เกิดสติ ทำได้โดย
ตั้งสติกำหนดการเคลื่อนไหวอิริยาบ
ถกล่าวคือ ระลึกรู้ทันในขณะยืน
เดิน นั่งและนอน รวมทั้งระลึกรู้ทัน
ในขณะพูดขณะคิด และ
ขณะทำงานต่างๆ
ในวันนี้พุทธศาสนิกชนต่างพากัน
น้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และ
พระสงฆ์ ด้วย
การไปชุมนุมตามพระอารามต่าง ๆ
เพื่อกระทำการบูชาปูชนียวัตถุอันได้แก่
พระธาตุเจดีย์หรือพระพุทธปฏิมา ที่เป็น
พระประธานในพระอุโบสถอย่างใด
อย่างหนึ่ง ด้วยเครื่องบูชามีดอกไม้
ธูปเทียน เป็นต้น เริ่มด้วย
การสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ด้วย
บทสวดมนต์ตามลำดับดังนี้คือ
บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปนโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ
สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม สันทิฏฐิโก
อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ .
บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ
ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย
ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระนีโย
อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ
จากนั้นก็จะกระทำ ประทักษิณ หรือ
ที่เรียกว่า เวียนเทียน รอบพระธาตุเจดีย์
หรือพระพุทธปฎิมาในพระอุโบสถ ด้วย
การเดินเวียนขวาสามรอบ รอบแรกจะ
สวดบทสรรเสริญพระพุทธคุณ รอบที่สอง
จะสวดบทสรรเสริญพระธรรมคุณ และ
รอบที่สามสวดบทสรรเสริญพระสังฆคุณ
เมื่อครบ 3 รอบแล้วจึงนำดอกไม้ ธูป
เทียน ไปบูชาพระธาตุเจดีย์ หรือ
พระพุทธรูปในพระอุโบสถ ณ
ที่บูชาอันควรเป็นอันเสร็จพิธีเวียนเทียน
จากนั้นก็จะมีการแสดงพระธรรมเทศนา
ในพระอุโบสถ ซึ่งปกติจะมีเทศน์
ปฐมสมโพธิ ซึ่งเป็น
เรื่องพระพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้
และปรินิพพาน
พิธีเริ่มตั้งแต่ประชุมฟังพระทำวัตรสวดมน
ต์ แล้วจึงฟังเทศน์ซึ่งจะมีไปตลอดรุ่ง
วันวิสาขบูชาจึงเป็นวันที่พุทธศาสนิกชน
ได้บำเพ็ญประโยชน์ตน และ
สืบต่อพระพุทธศาสนา ให้ดำรงคงอยู่
อย่างถูกต้องตรงทาง
เพื่อประโยชน์สุขของตนและของผู้อื่น
ตลอดชั่วกาลนาน .....เอวํ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น