...+

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

ภรรยา ๗ ประเภท :::

ห่างไกลเกิน คนข้างที่ห่างไกล อย่าน้อยใจให้คอยนาน



พุทธดำรัส ตอบ “......ดูก่อนสุชาดา ภรรยาของบุรุษ ๗ จำพวกนี้... คือ ภรรยาเสมอด้วยเพชฌฆาต ๑ ภรรยาเสมอด้วยโจร ๑ ภรรยาเสมอด้วยนาย ๑ ภรรยาเสมอด้วยแม่ ๑ ภรรยาเสมอด้วยพี่สาวน้องสาว ๑ ภรรยาเสมอด้วยเพื่อน ๑ ภรรยาเสมอด้วยทาสี ๑ ปัญหา ที่ว่าภรรยาเสมอด้วยเพชฌฆาตนั้น เป็นอย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ “.....ภรรยาผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ยินดีในชายอื่น ดูหมิ่นสามี เป็นผู้อันเขาซื้อมาด้วยทรัพย์ พยายามจะฆ่าผัว ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่าวธกาภริยา ภรรยาผู้เสมอด้วยเพชฌฆาต”
ปัญหา ที่ว่าภรรยาเสมอด้วยโจร นั้น มีลักษณะอย่างไร ?
พุทธดำรัส ตอบ “.....สามีของหญิงประกอบด้วยศิลปกรรม พาณิชยกรรม และกสิกรรม ได้ทรัพย์ใดมา ภรรยาปรารถนาจะยักยอกทรัพย์แม้มีอยู่น้อยนั้นเสีย ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่าโจรภริยา ภรรยาผู้เสมอด้วยโจร”
ปัญหา ที่ว่าภรรยาเสมอด้วยนายนั้น มีลักษณะอย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ “.....ภรรยาที่ไม่สนใจการงาน เกียจร้าน กินมาก ปากร้าย ปากกล้า ร้ายกาจ กล่าวคำหยาบข่มขี่สามีผู้ขยันขันแข็ง ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่าอัยยภริยา ภรรยาผู้เสมอด้วยนาย”
ปัญหา ที่ว่าภรรยาเสมอด้วยแม่นั้น มีลักษณะอย่างไร ?
พุทธดำรัส ตอบ “.....ภรรยาใดอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลทุกเมื่อ ตามรักษาสามีเหมือนมารดารักษาบุตร รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้ ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่ามาตาภริยา ภรรยาผู้เสมอด้วยแม่”
ปัญหา ที่ว่าภรรยาเสมอด้วยพี่สาวน้องสาวนั้น มีลักษณะอย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ “.....ภรรยาที่เป็นเหมือนพี่สาวน้องสาว มีความเคารพในสามีของตน เป็นคนละอายาบาป เป็นไปตามอำนาจสามี ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่าภคินีภริยา ภรรยาผู้เสมอด้วยพี่สาวน้องสาว”
ปัญหา ที่ว่าภรรยาเสมอด้วยเพื่อนนั้น มีลักษณะอย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ “.....ภรรยาใดในโลกนี้ เห็นสามีและชื่นชมยินดีเหมือนเพื่อนผู้จากไปนานแล้วกลับมา เป็นหญิงมีตระกูล มีศีล มีวัตร ปฏิบัติสามี ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่าสขีภริยา ภรรยาผู้เสมอด้วยเพื่อน”
ปัญหา ที่ว่าภรรยาเสมอด้วยทาสีนั้น มีลักษณะอย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ “.....ภรรยาสามีเฆี่ยนตี ขู่ตะคอก ก็ไม่โกรธ ไม่คิดพิโรธโกรธตอบสามี อดทนได้ เป็นไปตามอำนาจสามี ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่าทาสีภริยา ภรรยาผู้เสมอด้วยทาสี”

ภริยาสูตร ส. อํ. (๖๐)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น