...+

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

อปริหานิยธรรม คืออะไร มีกี่อย่าง ?

คือ ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว มี ๗ อย่าง ได้แก่

๑. หมั่นประชุมกันเนื่องนิตย์

๒.เมื่อประชุมกันพร้อมเพรียงกัน ประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันช่วยทำกิจที่สงฆ์ต้องทำ

๓.ไม่บัญญัติ สิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ ทรง บัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบท ตามที่พระองค์ ทรงบัญญัติไว้

๔.ภิกษุเหล่าใดเป็นใหญ่เป็นประธาน ในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุนั้น เชื่อฟัง ถ้อยคำของท่าน

๕.ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิด ขึ้น

๖.ยินดีในเสนาสนะ ป่า

๗.ตั้งใจอยู่ว่าเพื่อนภิกษุสามเณร ซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาสขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข

ธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นไม่เสื่อมเลย มีแต่เจริญฝ่ายเดีย


เมื่อนำมาใช้เป็น ข้อปฏิบัติของคฤหัสถ์ จะเกิดผลอย่างไร ?

จะเกิดผล คือ ความสุขความเจริญด้วยประการทั้งปวง

หมั่นประชุมกันเป็นนิตย์ หมายความว่าอย่างไร ?

หมายความว่า หมู่คณะจะเจริญอยู่ได้ ก็อาศัยการติดต่อกัน ไปมาหาสู่กัน รู้ทั่วถึงกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน หรือ เมื่อ มีเรื่องที่จะต้องทำเกิดขึ้น ผู้เป็นใหญ่ใน หมู่จะต้องเรียกประชุม ปรึกษา หารือกัน ผู้น้อยที่นับเนื่องใน หมู ก็ต้องหมั่นเข้าประชุมตามวาระที่ถูกเรียกเข้าประชุม หมู่คณะจึงจะมีความเจริญ และพร้อมเพรียงกัน

การประชุม ทรงอนุญาต คืออะไร อ้าง หลักตอบ ?

คือ การประชุมในทางที่ดีที่ชอบประกอบด้วยสาร ประโยชน์ เช่น ประชุมกันเพื่อสนทนาธรรมและวินัย เช่นนี้ ทรงอนุญาตไว้ในอปริหานิยธรรม มีอยู่ในลักษณะการตัดสินธรรมวินัย ๘ อย่าง

การประชุมที่ทรงห้าม คือ อะไร อ้างหลักตอบ ?

คือ การประชุมด้วยเรื่องอันหาสารประโยชน์มิได้ เช่น คุยกันด้วยติรัจฉานกถา เป็นต้น ทรงห้าม มีอยู่ในลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ อย่าง

หมั่นประชุมกันเนื่องนิตย์นั้น ในที่นี้หมายเอาการประชุมเช่นไร ?

หมายเอาเฉพาะการประชุมในทาง ที่ดีที่ชอบ อันประกอบด้วยสารประโยชน์ เช่นการประชุมสนทนาธรรมวินัย หรือประชุมเพื่อหารือ เพื่อทำกรณียกิจของสงฆ์ ของหมู่คณะ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความ เห็นของกันและกันอันไม่ผิดพระธรรมวินัย

เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิกหมายถึงอะไร ?

หมายความว่า ในการประชุมและเลิกประชุมนั้น ย่อมมีกำหนดเวลา ทุกคนควรตรงต่อเวลา ไม่ใช่ต่างตนต่างเข้าประชุม หรือ ต่างคนต่างออกตามชอบใจ ซึ่งเป็นการเสียระเบียบ เสียมารยาท และอาจทำให้คลาดเคลื่อนเสียประโยชน์ ได้

ความพร้อมเพรียงกันช่วยทำกิจที่ จะพึงทำ มีผลดีอย่างไร ?

มีผลดี คือ เป็นเครื่องแสดงความกลมเกลียว น้ำหนึ่งใจเดียวกัน กิจใดคนเดียว หรือ น้อยคน ทำไม่สำเร็จ เมื่อพร้อมเพรียงกัน หลายคนทำกิจนั้น ย่อมสำเร็จได้ในวันเดียว หรือ ครู่เดียวได้เหมือนปลวกตัวเล็กทำรังได้ใหญ่โต

พร้อม เพรียงกันช่วยทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ หมายถึงอะไร ?

หมายถึง กิจใดที่สงฆ์ คือ หมู่คณะ จะต้องทำร่วมกันด้วยกำลังกาย วาจา ใจ หรือ กำลังความคิด ก็ต้องร่วมกันทำกิจนั้น ช่วยกันทำ ช่วยกันพูด ช่วยกันคิดปรึกษา หารือ ช่วยกันแก้ไขสิ่งไม่ดีให้ดีขึ้น ส่งเสริมสิ่งที่ดีให้ดียิ่งขึ้น

ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บ ัญญัติขึ้น หมายความว่าอย่างไร ?

หมายความว่า ศีล หรือ สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้นับว่าพอดี พองาม ควรแก่การปฏิบัติ สำหรับเพศบรรพชิต และคฤหัสถ์อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องบัญญัติเพิ่มเติมอีก

ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ แล้วหมายความว่าอย่างไร เพราะอะไร ?

หมายความว่า สิกขาบททุกข้อที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ใคร ๆ ไม่พึงถอน คือ ไม่ตัดออกไม่ยกเลิกแม้บางข้ออาจไม่เหมาะแก่กาลและสมัยและสถานที่ ภูมิประเทศมีพระพุทธานุญาตพิเศษไว้ จึงไม่จำเป็นต้องถอนสิกขาบทใด ๆ ทั้งสิ้นเพราะ ถ้าต่างคนต่างเลิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ตามความต้องการของตน ๆ ผลสุดท้ายก็ไม่มีอะไรเหลือไว้เป็นหลัก

การไม่บัญญัติและไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ ทรงบัญญัติไว้ เป็นไปเพื่อความเจริญอย่างไร ?

เป็นไปเพื่อความเจริญอย่างนี้ คือ พุทธศาสนาที่ดำรงมาได้จนทุกวันนี้ก็เพราะพุทธบริษัทได้พร้อมใจกัน ประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว ไม่เพิกถอน

สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้หมายถึงอะไร ?

หมายถึง ต้องมีความเคารพในพระธรรมวินัย ในสิกขาบททั้งปวง ถือสิกขาบทเป็นสิ่งสำคัญ สนใจศึกษาให้เข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้อง

ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ใหญ่ เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน หมายความว่าอย่างไร ?

หมายความว่า ต้องเคารพนับถือและปฏิบัติตาม คำตักเตือน สั่งสอนของท่านผู้เป็นใหญ่ ผู้เป็นประธานไม่ฝ่าฝืนต่อท่าน

การเชื่อฟังภิกษุ ผู้เป็นใหญ่ผู้เป็นประธานในสงฆ์เป็นความเจริญอย่างไร ?

เป็น ความเจริญ คือ พระพุทธศาสนาที่ดำรงถาวรมาได้จนบัดนี้ ก็เพราะอาศัยท่านผู้เป็นใหญ่ เป็นประธานในสงฆ์ ช่วยปกครองหมู่คณะสืบ ๆ กันมา ตามยุคตามสมัยและพุทธบริษัทต่างก็พากันเคารพนับถือท่านผู้เป็นใหญ่ เป็นประธานในสงฆ์ทำตาม การเคารพนับถือผู้ใหญ่จึงเป็นไปเพื่อความเจริญความลุอำนาจแก่ความอยาก หมายความว่าอย่างไร ประพฤติอย่างไร ชื่อว่า ไม่ลุอำนาจแก่ความอยาก ?

ความ ลุอำนาจแก่ความอยาก หมายความว่า ไม่ทำ ไม่พูด ไม่คิดอะไร ตามอำนาจของความอยากไม่ลุอำนาจ แก่ความอยาก คือ ระวังตน คอยข่มจิต อดทนต่อความอยากไม่ปล่อยจิตให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจความอยาก เมื่อควบคุมจิตได้ ชื่อว่า ไม่ลุอำนาจแก่ความอยาก.


ความลุอำนาจแก่ความอยาก ไม่ดี อย่างไร ?

ไม่ดี คือ ทำให้เป็นผู้ดิ้นรนเกินกว่าเหตุไม่ รู้จักจบ ผลที่สุดย่อมจูงใจให้ประพฤติทุจริต ให้เกิดทุกข์ต่าง ๆ

การไม่ประพฤติ ลุอำนาจแก่ความอยาก จะได้รับผลดีอย่างไร ?

การ ไม่ประพฤติลุอำนาจแก่ความอยาก คอยข่มใจไว้ไม่ให้เป็นไปในความยาก เมื่อเป็นเช่นนี้จิตใจย่อมสงบ คุณความดีต่าง ๆ ก็เกิดขึ้น.

ยินดีในเสนาสนะป่า หมายความว่าอย่างไร ?

หมายความว่า พอใจในที่นอน ที่นั่งอันสงัดเงียบในป่า หรือ เหมือนอยู่ในป่า

การยินดีในเสนาสนะป่าเป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียวอย่างไร มีอะไรรับรอง ?

เพราะจะได้รับสุขเกิดแต่วิเวกไม่พลุกพล่าน ปะปนด้วยหมู่คณะเสนาสนะที่ตั้งอยู่ในป่า เป็นเสนาสนะอันสงัด เป็นเหตุรักษาใจไม่ให้ฟุ้งซ่านในอารมณ์ต่าง ๆ ทั้งเป็นอุบายสำหรับจะให้ได้วิเวกมีพระ ดำรัสชักชวนให้ยินดีในเสนาสนะป่า โดยตรัสว่า “การยินดีใน เสนาสนะป่าเป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว” เป็น เครื่องรับรอง


ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณร ผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาสขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข หมายความว่าอย่างไร ?

หมายความว่า ให้มีจิตใจเอื้อเฟื้อโอบอ้อม อารี ไม่หวงที่อยู่ ไม่กีดกันคนที่มีศีลมีธรรม ให้ตั้งใจต้อนรับให้อยู่ร่วมหมู่ และให้แผ่เมตตาต่อผู้ที่มาอยู่ร่วม กัน ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข



มีพุทธประสงค์อย่างไร ?

มีพุทธประสงค์ ให้มีใจเอื้อเฟื้อโอบอ้อมอารีไม่ หวงที่อยู่ และเพื่อไม่ให้เกิดความริษยาต่อผู้ที่อยู่ร่วมกัน

ในอปริหานิยธรรม ๗ ข้อไหนเป็นสำคัญ เพราะเหตุไร ? ข้อ ๕ เป็นสำคัญ เพราะบุคคลผู้ไม่ ตกไปสู่อำนาจแห่งตัณหาแล้วย่อมทำอปริหานิยธรรมข้ออื่น ๆ ให้ไพบูลย์ได้.

ผู้ปฏิบัติตามอปริ หานิยธรรม จัดเข้าในอริยมรรค (มรรค ๘) ข้อ ไหนได้ ? จัดเข้าใน สัมมาทิฏฐิ.

หมั่นประชุมกัน เนืองนิตย์ มีประโยชน์อย่างไร ? มี ประโยชน์ คือ ผู้มาประชุม ย่อมได้ความรู้ ความฉลาดในพระธรรมวินัย ผู้ที่ยัง รู้น้อย ย่อมมีโอกาสที่จะได้ซักถามข้อที่ตนยังไม่รู้กับท่านผู้รู้ ส่วนท่านผู้รู้จะได้อธิบายชี้แจง แนะนำ การทำเช่นนี้ ชื่อว่ารักษาความสามัคคีของหมู่คณะให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย.

ภิกษุไม่ หมั่นประชุมจะเสื่อมได้หรือไม่หากเสื่อมจะเสื่อมจากอะไร ? เสื่อม ได้.คือ จะเสื่อมจากความรู้ความฉลาดในธรรมวินัยที่จะพึงได้ใน ที่ประชุมนั้น และเสื่อมจากสามัคคีคุ้นเคยกัน ในระหว่างเพื่อนพรหมจารีในที่ประชุมนั้น.

วัดก็ดี บ้านก็ดี เว้นอปริหานิยธรรมข้อไหน ย่อมเป็นไปไม่ได้ ? ข้อที่ ๔ (คือ ภิกษุเหล่าใดเป็นใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน หากขาดข้อนี้แล้ว ย่อมเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม อย่างเดียว ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญ)

เพราะเหตุไร ? เพราะ ว่า บุคคลผู้อยู่เป็นหมู่คณะจำต้องรักษาระเบียบ ขนบธรรมเนียมของหมู่คณะ ผู้น้อยต้องเคารพนับถือผู้ใหญ่ ผู้เป็นประธานในที่นั้น ๆ จึงจะเป็นไปเพื่อความเจริญ หาก ผู้น้อยไม่เคารพนับถือผู้ใหญ่ ซึ่ง เป็นประธานในที่นั้น ๆ ย่อมจะเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อมอย่าง เดียว ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญ.

ภิกษุสามเณรชอบเถียงผู้ใหญ่ควรยก ธรรมข้อไหนขึ้นชี้ตำหนิโทษ ?

ควร ยกคุณธรรมข้อที่ ๔ (ภิกษุเหล่าใดเป็นใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน ในอปริหานิยธรรม) ขึ้นมาชี้โทษ


การห้ามไม่ให้ถอนสิ่งที่ทรงบัญญัติไว้ในอปริหานิยธรรม และการที่ทรงอนุญาตไว้ในมหาปรินิพพานสูตร ไม่ขัดแย้งกันหรือ เพราะเหตุไร ?

ไม่ขัดแย้งกัน.เพราะว่า

- ข้อ ที่ตรัสห้ามไว้ในอปริหานิยธรรม โดย ฐานะที่พระองค์เป็นเจ้าของแห่งพระศาสนา และเป็นเวลาที่พระองค์ยังทรงดำรงพระชนม์อยู่ ภิกษุไม่มีอำนาจจะเพิกถอนพระบัญญัตินั้นได้

- ข้อที่ทรงอนุญาตไว้ใน มหาปรินิพพานสูตร มีพุทธประสงค์ เพื่อไม่ให้ขัดกับกาลเทศะ


บ้าน วัด ประเทศชาติ จะเจริญ หรือ เสื่อม เพราะอะไร ?

จะเจริญเพราะมีธรรมคือ อปริหานิยธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น