...+

วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ศธ.ชู 3 ยุทธศาสตร์พัฒนาการอ่านเด็กไทย

นายสมบัติ สุวรรณพิทักษ์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาการอ่านของสถานศึกษาว่า แนวทางการพัฒนาการอ่านของสถานศึกษาต้องเริ่มจากสร้างให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชน เห็นความสำคัญและประโยชน์จากการอ่าน เพราะการอ่านเป็นพื้นฐานที่มีความสำคัญในการพัฒนาในทุกด้าน นอกจากนี้ รัฐบาลจะต้องสนับสนุนการอ่าน รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อม โดยเริ่มจากครอบครัวเป็นอันดับแรก ขณะเดียวกันสำนักงานคณะกรรมการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ต้องส่งเสริมและปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับครอบครัว ทำงานอย่างบูรณาการ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ประกาศให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติและประกาศให้ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน
รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการยุทธศาสตร์ส่งเสริมการอ่านจากการเสนอของคณะกรรมการบูรณาการส่ง เสริมการอ่าน ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การพัฒนาคนไทยให้มีความสามารถในการอ่าน มีนิสัยรักการอ่าน และการสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการอ่าน โดยมีเป้าหมายเป็นตัวชี้วัด 6 ประการ ได้แก่ มาตรการส่งเสริมการสร้างนโยบายและการมีส่วนร่วม สร้างความถนัดรู้ในการอ่าน สร้างความเข้มแข็งเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการอ่าน สร้างบุคลากรเพื่อส่งเสริมการอ่าน ส่งเสริมด้านการจัดการทรัพยากรการอ่าน และการวิจัยและพัฒนา
ทั้งนี้ ตั้งเป้าหมายว่าประชากรในวัยทำงานที่อ่านหนังสือเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เพิ่มจากร้อยละ 97 เป็น 99 ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป อ่านออกเขียนได้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.64 เป็น 95 ค่าเฉลี่ยในการอ่านหนังสือของคนไทย เพิ่มจากปีละ 5 เป็น 10 เล่ม การพัฒนาแหล่งการอ่านอย่างมีคุณภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น