สธ.ร่วม สสส. และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเปิดเวทีสัมมนาระดมความคิดเห็น เพื่อเตรียมผลักดัน 4 ร่างอนุบัญญัติ พ.ร.บ.เหล้า เพื่อลดการเข้าถึงของเด็กและเยาวชน-ช่วยแก้ปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ หลังศูนย์วิจัยปัญหาสุรา เผยพบจุดขายเหล้ารอบมหาวิทยาลัย 1,700 แห่ง เฉลี่ย 5.6 ร้าน ในรัศมี 200 เมตร รอบม.ชี้แนวโน้มยอดพุ่ง
วันนี้ (31 ส.ค.) ที่โรงแรมริชมอนด์ อ.เมือง จ.นนทบุรี นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ที่ ปรึกษาสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมเปิดสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็นต่อร่างอนุบัญญัติ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 โดยมีตัวแทนจากองค์กรต่างๆ เข้าร่วมด้วย อาทิ องค์กรภาคเอกชน เครือข่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ประกอบการสถานบันเทิง ผู้ประกอบการด้านการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นักเรียน นักศึกษา จากสถาบันต่างๆ ฯลฯ
โดย นพ.สมาน กล่าวว่า สธ.ได้จัดทำร่างอนุบัญญัติทั้ง 4 ฉบับ ได้แก่ 1.ร่างคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ฉลาก พร้อมทั้งข้อความเตือนสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิต หรือนำเข้า เพื่อป้องกันและควบคุมความรุนแรงของปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับรู้ถึงโทษภัยจากการดื่มแอลกอฮอล์ และให้ข้อมูลเพื่อลดความสามารถในการซื้อและพกพาได้อย่างสะดวกในกลุ่มเด็กและ เยาวชน รวมทั้งการปรากฏภาพคำเตือน จำนวน 6 ภาพ บนผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฯที่แสดงให้ผู้บริโภครับรู้ ถึงโทษและพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย เพราะภาพเตือนสามารถสื่อความหมายชัดเจนเข้าถึงทุกกลุ่มทั้งผู้ดื่มและคนรอบ ข้อง 2.ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องกำหนดสถานที่ หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากพบว่า นักเรียน นักศึกษา อาศัยท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เป็นร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ร้านที่ล้อมรอบสถานศึกษา ร้านค้าปลีกในหอพัก ซึ่งมีส่วนในการเพิ่มแรงจูงใจให้อยากดื่ม
“ในส่วนของการกำหนดสถานที่นั้นจะเน้นรายละเอียดของขอบเขตที่ชัดเจนใน เรื่องของระยะห่างระหว่างสถานศึกษาและร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ม สถานบันเทิง เป็นต้น ส่วนกรณีห้ามขายนั้นเราจะยกเว้นในบางกรณีที่ร้านค้า หรือสถานบันเทิงที่ห้ามผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 เข้าใช้บริการ” นพ.สมาน กล่าว
นพ.สมาน กล่าวด้วยว่า 3.ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดวิธีการ หรือลักษณะในการห้ามเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะพบมีการจำหน่ายในรูปแบบเหล้าปั่น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดนักดื่มหน้าใหม่ ซึ่งในปัจจุประเทศไทยมีนักดื่มหน้าใหม่อย่งต่อเนื่องปีละประมาณ 2.6 แสนคน 4.ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการกำหนดสถานที่ หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ระบุว่า ห้ามดื่มใน/บนยานพาหนะทางบกที่อยู่ในที่สาธารณะตามกฏหมายว่าด้วยการสาธารณ สุข เนื่องจากพบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุถึงร้อยละ 40-60
ผอ.สนง.คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อสรุปในเวทีสัมมนาจากทุกภาคส่วนครั้งนี้ จะนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ในขั้นต่อไป
ด้าน ศ.นพ.อุดมศิลป์ กล่าวว่า สภาพ ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่น่าเป็นห่วง จากการตรวจสอบและวิจัยสถาบันระดับอุดมศึกษา ใน กทม.พบว่า มีร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ย 5.6 ร้าน ต่อมหาวิทยาลัยหนึ่งแห่ง และตั้งอยู่ในรัศมี 200 เมตรรอบมหาวิทยาลัย และมีแนวโน้มว่าจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
น.ส.วีรนุช วิ่งวรรธนะกุล นักวิจัยจากศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สุ่มสำรวจมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพฯ 15 แห่ง พบว่า ภายในระยะ 500 เมตร มีจุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากถึง 1,712 แห่ง
ส่วนภญ.อรทัย วลีวงศ์ นัก วิจัยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) กล่าวว่า ความนิยมดื่มเหล้าปั่นนั้นเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดนักดื่มหน้าใหม่ที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม เด็กมัธยมต้น และวัยรุ่นหญิง สำหรับนักดื่มประจำนั้นมักใช้ร้านเหล้าปั่นเพื่อเป็นจุดอุ่นเครื่องก่อนไป ใช้บริการต่อในผับ บาร์ แต่อันตรายที่มากกว่านั้น ซึ่งหลายคนมักไม่ทราบ คือ ธุรกิจเหล้าปั่นเป็นการลงทุนที่น้อยและได้ผลกำไรมหาศาลในเวลาอันรวดเร็ว โดยผู้ประกอบการบางร้านมักเลือกผสมน้ำผลไม้รวมกับเหล้าขาวหรือเหล้าเถื่อน ซึ่งมีเมทิลแอลกอฮอล์ เป็นส่วนผสม และจำหน่ายในราคาถูกเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค ซึ่งอันตรายจากการบริโภคเหล้าเถื่อนเป็นเวลานานจะส่งผลต่อการเสื่อมสภาพระบบ ประสาทตาได้ นอกจากนี้ ยังพบว่า เด็กที่เคยดื่มแอลกอฮอล์มีอายุต่ำสุดเพียงแค่ 7 ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น