...+

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หลักนิติรัฐ กับ หลักศรีธนญชัย

จากประเด็นการตั้งข้อหาก่อการร้ายกับ ขบวนการกบฏแดง
ซึ่งพฤติกรรมการกระทำทั้งป่วนบ้านป่วนเมือง เผาบ้านเผาเมือง
และเข่นฆ่าทหาร ประชาชน อย่างโหดอำมหิต
นั้นเข้าข่ายกฏหมายการเป็นผู้ก่อการร้ายอย่างชัดจน

โดยเฉพาะการกล่าว หาก่อการร้าย
ได้มีการนำตัวบทกฏหมายว่าด้วยการก่อการร้ายมานำเสนอต่อสังคมอย่างแพร่หลาย
จนกระทั้งไม่มีใครที่จะปฏิเสธและต่อต้านว่าการกระทำของบรรดาแกนนำและกอง
กำลังติดอาวุธมิใช้เป็นการกระทำลักษณะเป็นผู้ก่อการร้าย
ยกเว้นแต่พวกลิ่วล้อของหัวหน้าผู้ก่อการร้ายสัญชาติมอนเตฯ
เท่านั้นที่ออกมาเถียงและบิดเบือนแบบข้าง ๆ คู ๆ
แต่ไม่สามารถหักล้างภาพการเผาบ้านเผาเมือง
อันเนื่องจากการปลุกระดมนำร่องในระหว่างการชุมนุม "รอตกใจ"
และปิดท้ายก่อนมอบตัวของแกนนำผู้ก่อการร้ายบนเวที โดยประกาศ "เผา"

แต่ การที่ผู้แทนของรัฐบาล
ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ประสานงานติดต่อเจรจากับพวก
แกนนำผู้ก่อการร้าย ออกมาพยายามที่จะชี้นำเปลี่ยนข้อหา "การก่อการร้าย"
เป็น "การก่อจลาจล" เพียงเพื่อช่วยเหลือพ่อค้าแม่ค้า
ที่ได้รับผลกระทบจากการเผาบ้านเผาเมืองของขบวนการผู้ก่อการร้าย
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทประกันภัยนั้น

ความเห็นอกเห็นใจใน
ด้านมนุษยธรรมที่มีต่อบรรดาพ่อค้าแม่ค้าที่ได้รับความเสียหาย
และเดือดร้อน ย่อมเป็นที่เข้าใจของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ
และมีความเห็นว่ารัฐจะต้องรับผิดชอบดูแลบรรเทาความเดือดร้อนความเสีย
หายอย่างแสนสาหัสจากการกระทำของขบวนการกบฏแดง

แต่ความรับผิดชอบที่จะ ต้องชดใช้ค่าเสียหายของบรรดาพ่อค้าแม่ค้า
จะต้องยึดหลักนิติรัฐตามตัวบทกฏหมาย มิใช้บิดเบือนแบบศรีธนญชัย
ซึ่งความรับผิดชอบที่จะต้องชดใช้ความเสียหาย
ควรจะเป็นการฟ้องร้องและยึดทรัพย์จากพวกผู้ก่อการร้าย และพวกท่อน้ำเลี้ยง
เพื่อนำทรัพย์ที่ยึดได้นั้นไปช่วยเหลือพ่อค้าแม่ค้าที่ได้รับผลกระทบจากการ
ก่อการร้าย

ซึ่งไม่จำเป็นต้องแบ่งแยกว่า พื้นที่ใดเป็นการจลาจล
มิใช่เป็นการก่อการร้าย
เพราะเหตการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการชุมนุมของกบฏแดง
ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม เป็นการกระทำลักษณะ มีการวางแผน
มีผู้สั่งการ มีผู้ปฏิบัติการ แต่ละขั้นตอนแต่ละด้านอย่างเป็นระบบครบวงจร
จึงไม่สามารถที่จะแยกและพิสูจน์ได้ว่าพื้นที่ใดเป็นการก่อการร้าย
พื้นที่ใดเป็นการก่อจลาจล
ซึ่งร่วมถึงการส่งสัญญาณสั่งเผาศาลากลางจังหวัดหลาย ๆ แห่งด้วย

เพราะ การก่อจลาจลเพื่อให้เกิดความวุ่นวายวิบัติหายนะแก่บ้านเมืองนั้น
เป็นปฏิบัติการแยกกันทำ ร่วมกันตี
อันเป็นองค์ประกอบที่นำไปสู่การก่อการร้าย ซึ่งเป็นหนึ่งในหลาย ๆ
ขั้นตอนปฏิบัติการ จากเบาหาไปหนัก
ถ้าไม่เกิดการจลาจลจะนำไปสู่ข้อกล่าวหาก่อการร้ายได้อย่างไร

ดังนั้น ความพยายามชี้นำเพื่อบิดพริ้วจาก "การก่อการร้าย" เป็น
"การก่อจลาจล" โดยอ้างความเดือดร้อนของพ่อค้าแม่ค้าที่เสียหายจากการก่อการร้ายนั้น
จึงเป็นข้อกังขาของผู้คนในประเทศว่ามีวาระซ่อนเร้นหรือไม่
เพราะตอนที่ไปตกลงเจรจากับพวกแกนนำผู้ก่อการร้ายให้มอบตัวนั้น
ได้มีการตกลงเจรจาลับอะไรกันไว้บ้าง
จึงทำให้บรรดาแกนนำผู้ก่อการร้ยยอมมอบตัวและมั่นอกมั่นใจว่าจะได้ประกันตัว
เพื่อออกมาต่อสู้คดี และหลุดคดีเช่นเดียวกันเหตุการณ์สงกรานต์ปี 2552

ความ บอบช้ำเสียหายทั้งด้านทรัพย์สิน และด้านจิตใจของคนไทยทั้งประเทศ
ที่เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งส่วนหนึ่งเป็นเพราะการใช้หลักศรีธนญชัย
ทำเสมือนตัวเองเป็นกฏหมายเสียเอง
จึงกล้าชี้นำให้เป็นเช่นใดก็ได้เช่นนั้นหรือ ทั้ง ๆ
ที่กฏหมายบัญญัติไว้ชัดเจนว่า พฤติกรรมใด การกระทำใด
เข้าข่ายการก่อการร้าย และสังคมได้สรุปยอมรับโดยไม่มีข้อกังขาว่า
การป่วนบ้านเผาเมืองของขบวนการกบฏแดง เป็นการก่อการร้าย

เนื่องจาก ข้อหาก่อการร้าย กับ ข้อหาก่อจลาจล โทษหนักเบาต่างกัน
ถ้าบิดเบือนเสียตั้งแต่แรกมิเป็นการสร้างความร้าวฉานเกิดขึ้นในบ้านเมือง
เพิ่มขึ้นอีกหรือ
แทนที่จะปรองดองกลับสุมเชื้องเพลิงให้เผาผลาญเพิ่มมากขึ้น
เพราะไม่ยึดหลักนิติรัฐอย่างเคร่งครัด แต่กลับใช้หลักศรีธนญชัย
ไปตามอารมณ์ และใช้อำนาจตามอำเภอใจ

จึงขอให้ยึดหลักความจริง คือ ยึดทรัพย์ของบรรดาท่อน้ำเลี้ยง และบุคคลอื่น
ๆ ที่ร่วมขบวนการก่อการร้าย (เพราะถ้าไม่มีคนพวกนี้ วางแผน สนับสนุน
สั่งการ ปฏิบัติการ เหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองก็จะไม่เกิดขึ้น)
เพื่อนำทรัพย์ที่ยึดได้บรรเทาความเดือนร้อนของพ่อค้าแม่ค้าทุกคน
ไม่ว่าจะมีประกันหรือไม่มีประกันก็ตาม
เพราะวงเงินประกันที่เข้าข่ายจะได้รับการชดใช้สินไหมทดแทน
ถ้าเข้าข่ายก่อการจลาจลมีจำนวนตามข่าวประมาณ 5,000 ล้านบาทเท่านั้น
แต่ความเสียหายโดยร่วมมีมากกว่านั้นหลายเท่า
จึงไม่ควรจบเพียงเฉพาะผู้เสียหายที่ทำประกันกับบริษัทประกันภัยเท่านั้น

และ เช่นเดียวกันบริษัทประกันก็ต้องไม่พยายามบิดพริ้วทำเป็นพวกศรีธนญชัยหาข้อ
อ้างต่าง ๆ นานา เพื่อปัดความรับผิดชอบ ดังนั้น
รัฐบาลจะต้องกำหนดให้คนของรัฐที่มีความรู้ด้านการประกันภัย
เข้าไปเจรจาสามฝ่าย คือ บริษัทประกัน ผู้เสียหาย และตัวแทนของรัฐ
ในแต่ละราย แต่ละกรณี
มิใช้ปล่อยให้ผู้เสียหายรับชะตากรรมอย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย
อันเนื่องจากการขาดประสิทธิภาพของรัฐในการปราบปรามผู้ก่อการร้าย
จนนำไปสู่การ "เผา" ตามบัญชาการของแกนนำผู้ก่อการร้าย

และมิใช่แก้ ปัญหาแบบง่าย ๆ ด้วยการเปลี่ยนเหตุการณ์ประวัติศาสตร์จาก
การก่อการร้าย เป็น การก่อจลาจล ซึ่งจะเป็นการใช้หลักศรีธนญชัย
แทนที่จะใช้หลักนิติรัฐ

ประชาชน
1 กรกฏาคม 2553
.................

1 ความคิดเห็น:

  1. วาระของพวกศรีธนญชัยใกล้เข้ามาทุกที...

    พญานาคจะช่วยผู้ที่บูชาศรัทธาในพญานาคให้ผ่านพ้นอันตราย จากภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น' http://ainews1.com/article311.html หลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว 3 ปี ...

    ตอบลบ