...+

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ชนเราชาวไทย ผู้ปรารถนาความเป็นเลิศ จำต้องเตรียมแนวทาง เตรียมความคิดไว้ให้พร้อม..อยู่เสมอ

รียน ปวงพี่น้องชาวไทย
เรื่อง ชนเราชาวไทย ผู้ปรารถนาความเป็นเลิศ จำต้องเตรียมแนวทาง
เตรียมความคิดไว้ให้พร้อม..อยู่เสมอ

เหตุการณ์ขณะนี้ จะจบอย่างไร จะตอนนี้หรือตอนไหน ก็เรื่องหนึ่ง
จบแล้วจะทำยังไงต่อ ก็อีกเรื่องหนึ่ง
แม้ ทั้ง ๒ เรื่องสามารถทำให้เป็นเรื่องเดียวกันได้
ก็โดยเอาแนวคิดผลได้อนาคตมาใช้กำกับสภาพปัจจุบัน
ก็ดังเนื้อหายุทธศาสตร์โยกรัฐธรรมนูญหนีการแก้ไขในจดหมายเปิดผนึกถึงนายก
รัฐมนตรีที่ท่านคงได้พิจารณาผ่านตามา
แต่โอกาสจะทำอย่างที่ว่ามันก็ได้ผ่านไปแล้วหลังนายกฯตัดสินใจเลือกแนวทางตน
เมื่อ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓
ทีนี้ที่ต้องคิดต่อก็เหลือแค่..จะทำอะไรยังไงต่อ ?
ก่อน นี้ก็คงเห็นด้วยกันเป็นทั่วไปแล้วว่า
ถึงเวลาจะต้องมีการปฏิรูปสังคมกันขนานใหญ่
แต่ปัญหาที่เคยมีแต่แค่ว่าจะปฏิรูปอะไรอย่างไรนั้นกลับมีเพิ่มมาอีกข้อ
ก็คือจะเริ่มได้เมื่อไหร่ ?
ด้วยเรื่องมันไม่จบจริงหรือจบในลักษณะที่จะสามารถเริ่มการปฏิรูปอย่างที่ว่า
ได้
แต่เอาล่ะ นั่นก็ต้องรอจังหวะคิดหาช่องทางต่อไป
ทว่าในระหว่างนี้ก็น่าจะมาพิจารณาว่าจะปฏิรูปอะไรอย่างไรนั้นกันต่อ
เพราะมิแน่ว่าผลสรุปที่ได้อาจทำให้สามารถมองเห็นช่องทางที่จะตอบปัญหาข้อที่
เพิ่มขึ้นมานี้ได้
อันเป็นการเอาแนวคิดผลได้อนาคตมากรุยเส้นทางตันปัจจุบัน
ก็มาเริ่มอย่างช้าๆหนักๆกันเลย ตรงที่ว่า..

เมื่อพูดถึงการปฏิรูปกันอย่างขนานใหญ่แล้ว
บ้างก็ว่าต้องเริ่มกันที่การแก้รัฐธรรมนูญ
บ้างก็ว่าต้องมาตกลงในหลักการของการปกครองโดยธรรมในหลักประชาธิปไตยกันก่อน
บ้างก็ว่าต้องมีการปฏิรูปสื่อ ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปงานตำรวจ ฯลฯ เป็นต้น
โดย แท้แล้ว ที่กล่าวมาก็มีส่วนถูกทั้งหมดนั่นแหละ
เพราะมันต้องประกอบเข้าด้วยกัน
เป็นเหตุเป็นผลที่บังคับเนื่องต่อกันเป็นชุด
ทั้งยังอาจทำไปพร้อมกันได้บนฐานอ้างอิงเดียวกัน
ประเด็นเพียงอยู่ที่องค์
ประกอบที่บังคับเนื่องกันเป็นสายนั้นมันเข้าลงล็อคเฉพาะต่อกันและกันบนฐาน
ชุดเงื่อนไขเดียวกันนั้นหรือไม่ ซึ่งถ้าเข้าใจตรงกันอย่างนี้มันก็ดี
ไม่ว่าจะเข้าทางไหน ใช้คำไหน เน้นตรงไหน มันก็ไม่แตกต่างกันเท่าใด
จะเริ่มที่ผลที่ปลายมันก็ต้องสาวเป็นทอดไปจนถึงเหตุต้น ถ้าจะเน้นที่ต้น
ก็ต้องรูดไปให้ตลอดถึงปลาย ถ้าจับตรงกลางก็ต้องสาวไปทั้ง ๒ ทาง
และถ้าจะให้ดีจริงมันก็ต้องพยายามสาวจดต้นจดปลายไปมาหลายๆรอบ
ตรวจสอบให้เป็นชุดเดียวกัน ซึ่งเมื่อเป็นประเด็นหลายรอบแล้ว จะเข้าทางไหน
มันก็ยิ่งไม่แตกต่าง
แต่ปัญหาคือ มันไม่อย่างนี้นะสิ
พวกที่เข้าทางต้นก็รูดไม่ถึงปลาย ส่วนพวกที่เริ่มจากปลายก็ดันสาวไม่ถึงต้น
ที่ รูดที่สาวไม่ตลอดก็มิใช่เป็นเรื่องของความเขลา
ตรงกันข้ามพวกเริ่มกันที่ต้นที่หลักการกลับเป็นพวกที่ฉลาดมาก
แต่ที่สาวต่อไม่ได้ก็อาจด้วยมีข้อจำกัดอย่างเช่น
เนื้อหาเป็นนามธรรมที่ค่อนข้างเปิดและมีผู้สนใจน้อยไม่เพียงพอที่จะทำการหา
ข้อสรุป ทำให้ต้องรออยู่ตรงนั้น
ไม่คิดก้าวผ่านเข้าไปทำความละเอียดในปัจจัยองค์ประกอบถัดไป
ทำให้ภาพรวมมันเบลอๆ เจตนา ชุดหลักการ ชุดเครื่องมือ วิธีการ
ชุดการงานรากฐาน ชุดงานนโยบาย ผลได้ใดอื่น ไม่เข้าลงล็อคเป็นชุดเดียวกัน
ส่วน พวกที่เข้าทางปลายเล่า ก็มิใช่ไร้ปัญญาจะเข้าใจอะไร
เพียงแต่ขาดโอกาสคิด
เช่นต้องวุ่นวายกับการทำมาหากินที่รายได้ไม่สมดุลรายจ่าย
วุ่นวายกับปัญหาที่รุมเร้า เป็นต้น
ด้วยดังนี้ ปัญหาที่ตามมาคือ องค์ประกอบส่วนกลางๆขาดหายไปจากความคิดคำนึง
ที่สำคัญมากถึงมากที่สุดก็คือสิ่งที่เปรียบเสมือนเครื่องมือ
ซึ่งก็คือ..ตัวระบบ (ทำหน้าที่..จัดการ)
เมื่อพูดข้ามไปลอยมานานไปก็เกิด ความเคยชิน
แล้วพาลสรุปเอาว่าที่ผลมันไม่ดีเพราะคนยังไม่เข้าใจ
ไม่ตกผลึกความคิดในหลักการปกครองโดยธรรม ในหลักการของประชาธิปไตย
ซึ่งโดยแท้แล้วมันไม่ใช่อย่างนั้น
แต่เป็นเพราะชุดหลักการมันไม่สมบูรณ์ต่างหาก
ที่เรื่องเกี่ยวตัวระบบขาด
หายไปเพราะขาดอยู่หลักหนึ่งซึ่งเป็นหลักที่เราละไว้ในฐานเป็นที่เข้าใจกัน
แต่ไปๆมาๆกลับลืม หลักนี้ถ้าจะเอามาเรียงลำดับก็น่าจะเป็นหลักการที่ ๐
ซึ่งเมื่อลืมไปแล้วก็ต้องยกมาตั้งให้เห็นชัดๆกันใหม่ ก็คือ..
"การปกครอง โดยธรรมจะเกิดขึ้นได้จำจะต้องมีกระบวนจัดการโดยธรรม
หรือมีระบบจัดการที่มีโครงสร้างถูกต้องโดยธรรมเป็นเครื่องมือรองรับ
เจตนารมณ์และหลักการนามธรรมทั้งหลายที่ต้องอาศัยการแสดงผ่านตัวบุคคล
เพื่อนำเจตนารมณ์และหลักการนามธรรมทั้งหลายนั้นไปสู่รูปธรรมความเป็นจริง"
ถึง ตอนนี้ ที่เมื่อมีเรื่องตัวระบบกับเรื่องตัวบุคคล
ก็สามารถแยกหลักการที่เหลือ(ที่มีที่เห็นอยู่แล้ว+ที่เติมเข้ามาใหม่)
ออกได้เป็น ๒ กลุ่ม
กลุ่มแรกเป็นกลุ่มหลักการที่เพื่อการประกอบและปรุงแต่งระบบ กลุ่มที่ ๒
ก็เป็นกลุ่มหลักการที่ปรุงแต่งจิตสำนึกตัวบุคคล เป็นแนวทางการปฏิบัติ
และต้องแสดงผลออกมาผ่านการปฏิบัติของตัวบุคคล
ซึ่งเมื่อเป็นดังนี้กลุ่มนักหลักการก็สามารถแยกออกได้เป็น ๒ กลุ่ม
กลุ่ม ที่ ๑ ก็ถือชุดหลักการที่เกี่ยวตัวระบบแล้วก็เดินหน้าไปเลย ไปสร้าง
ไปตรวจสอบ ไปแก้ไข ให้มีระบบที่ตรงต้องตามหลักแห่งธรรม กลุ่มที่ ๒
ก็ทำหน้าที่เติมเต็มและรวมชุดหลักการกลุ่มที่ ๒
เพื่อนำมาแสดงให้เห็นกันชัดๆต่อไปในขั้นตอนการประกบ

เราเห็นกันแล้ว หรือไม่ว่ามันมีรายละเอียดระดับกลางๆที่ต้องพิจารณา
ไม่ใช่ด้วนๆแค่ต้นกับปลาย หลักการมันต้องแยกประเภท
และเท่าที่มีเท่าที่เห็นอยู่เวลานี้มันก็ไม่สำคัญเท่าที่คิด
ความถูกผิดสำคัญที่ส่งผลกระทบมากกว่าก็คือ..ความถูกผิดของตัวระบบ
ถ้าจะกล่าวไว้ให้ดังๆชัดๆหลังจากล่วงหน้าไปตรวจสอบมาแล้วก็ต้องพูดว่า..ระบบ
มันผิด (ที่มีอยู่ตอนนี้เป็นระบบรัฐสภาเทียม มิใช่ระบบรัฐสภาแท้โดยธรรม)
และเพื่อมิให้เป็นการกล่าวลอยๆ เพื่อให้เห็นภาพ
ก็ลองมาพิจารณาความจริงสักประเด็น
ภายใต้หัวข้อที่ว่า..ความยุติธรรมคือแก่นหลักของสังคม
การอภิปรายไม่ไว้ วางใจเป็นมาตรการเกี่ยวความยุติธรรม
ทำหน้าที่ควบคุมจิตวิญญาณผู้กระทำ ควบคุมคุณภาพการกระทำ
สังกัดอำนาจนิติบัญญัติอันเป็นหัวขบวนอำนาจ มันจึงเป็นความยุติธรรมต้น
ซึ่งที่เป็นอยู่ระเบียบวิธีมันผิด
ก็จะไม่ผิดได้อย่างไรเล่าในเมื่อเป็นระเบียบวิธีที่ใช้พวกมากลากไปให้โจทก์
และจำเลยยกกำลังถล่มกันเอง ไร้ฝ่ายเป็นกลางเข้าถ่วงดุล
ทำให้ต้องใช้จิตสำนึกเต็มๆ ล้วนๆ เมื่อมันไม่ถูก ความชั่วร้ายก็รั่ว
มีการทุจริต ซื้อขายเสียง และอื่นๆ ซึ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือ
การเกิดระบบอิทธิพลอุปถัมภ์ขึ้น
เมื่อมาตรการยุติธรรมต้นมีระเบียบวิธี ไม่ตรงต้องตามหลักแห่งธรรม
ความยุติธรรมกลางและปลายก็ระส่ำระสายทันที เมื่อตัวคุมคุณภาพต้นผิด
คุณภาพของอะไรในระดับกลางปลายจะหวังได้อย่างไรเล่า
การเรียกหาความยุติธรรม เรียกหาความมีคุณภาพ ไม่ว่าเรื่องอะไร ตรงไหน
ระดับไหน กลายเป็นเรื่องเพ้อเจ้อไปทันที
ส่วนหลักการอะไรที่พยายามหามาสรุปรวมชุด
ก็กลายเป็นเช่นไม้หลักปักขี้เลนทันที
อะไรที่เอามาเขียนไว้ก็กลายเป็นเพียงตัวหนังสือ ไม่มีสภาพบังคับจริง
ด้วยดังนี้หลักการชุดที่ ๒ ในมือนักหลักการกลุ่มที่ ๒
จึงยังไม่ต้องไปเพ่งเล็งความเป็นชุดที่สมบูรณ์มากนักในขั้นตอนนี้ก็ได้
เท่าที่มีอยู่ก็เยอะแล้ว
แต่ที่ไม่สามารถแสดงเดชได้เพราะมันไปประกอบอาศัยกับตัวระบบที่ผิด
เอาล่ะ ! เพียงข้อเดียวนี้คงเกิดมโนภาพชัดแล้วว่า
ที่เราเละเทะอยู่ตอนนี้เป็นผลจากความผิดพลาดของตัวระบบ
ที่เราคิดข้ามกันไปข้ามกันมาอยู่ ๗๗ ปีไปไม่ถึงไหนเพราะเราลืมตัวระบบ
ไม่ได้พิจารณาความถูกผิดของตัวระบบ ทั้งที่ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๗
ก็ทรงเตือนไว้แล้วตั้งแต่ต้น
เมื่อระบบผิดมันก็ต้องแก้ระบบ
แต่เมื่อรูปแบบของมันถูกบัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญ ก็ต้องแก้รัฐธรรมนูญ
สำหรับสังคมภายใต้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรมันก็ต้องเป็นแบบนี้
ต่างจากภายใต้ระบบจารีตประเพณีหรือกึ่งจารีตประเพณี ดังนั้น
ใครจะพูดว่าการปฏิรูปสังคมสามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องแก้รัฐธรรมนูญนั้นก็คง
หมายถึงการปฏิรูปเฉพาะหน้า อาศัยจิตสำนึกตัวบุคคล และหวังผลระยะสั้นๆ
แต่ถ้าเป็นการปฏิรูปที่หวังผลสมบูรณ์ระยะยาวและอย่างรวดเร็วเต็มกระบวนและ
ขบวนการแล้ว ก็ต้องแก้ที่ตัวระบบ ซึ่งบัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญ

เอาล่ะ ! ทั้งหมดนี้สรุปเป็นคำ ๒ คำ ก็คือ เฉียบ เร็ว
ใคร จะพูดที่ต้นสาย ปลายสาย จะปฏิรูปสื่อหรืออะไรก็ว่าไปตามสบาย
แต่สิ่งที่ควรต้องได้ก็คือตัวระบบ
อย่าให้เกิดการเหนี่ยวรั้งกีดกันกันโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ที่ทำให้เสียการ
ใหญ่ ตราบใดที่ถือระบบที่ผิดไว้เป็นแก่นตัวตั้ง
หลักการก็จะกลายเป็นตัวหนังสือดังกล่าวมา
ผลอะไรที่หวังที่เขียนไว้จะไม่ได้ หรือได้ก็ไม่เต็ม
ตัวอย่างที่ชัดก็เช่นกรณีเสรีภาพ
คือเมื่อความยุติธรรมต้นผิดความชั่วร้ายก็รั่ว สังคมจะเละ
เพื่อไม่ให้รั่วไม่ให้เละก็ต้องควบคุมบังคับกันต่างๆนานา เป็นทอดๆ
ครอบครบทุกทั่วสาขาประชาชน เรียกว่าเมื่อไม่ยุติธรรมเสรีภาพก็ขาดตาม
ตรงตามอีกข้อที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๗ ทรงเตือน
ระบบกฎหมายกลายเป็นระบบกฎหมายบังคับ กรอบเสรีภาพแคบลง นี้เป็นประการแรก
อีกประการคือ อะไรที่หลุดกรอบบังคับก็ได้ไม่เต็ม เช่นเรามีสิทธิเดินถนน
แต่ถ้ามีโจรเต็ม ๒ ข้างถนน
อย่างนี้มันเป็นเสรีภาพที่มีคุณภาพตามที่เราต้องการหรือ
ด้วยดังนี้คำตอบของเรื่องทั้งหมดจึงอยู่ที่ตัวระบบ
และเมื่อได้แก้ให้ถูกแล้วอะไรที่หวังก็จะได้
โดยที่แทบมิต้องเขียนอะไรลงไปให้ดูรกเลย

ท่านคิดว่า การมีข้อสรุปอย่างนี้มันทำให้ภาพสิ่งที่จะทำ
อันส่งผลเป็นกอบกำต่ออนาคต คมขึ้นไหม ?
ท่าน คิดว่า พอจะใช้แนวคิดนี้ แนวคิดแก้ไขระบบ
ที่ไม่เกี่ยวเรื่องตัวบุคคลอันทำให้เกิดการขัดแย้งตีกัน ไปเบิกกรุยทาง
ทำการอะไรต่อ ในสภาวการณ์ที่กำลังวุ่นวายมืดมัวขณะนี้
ผ่านช่องทางตีบน้อยนิดที่มีอยู่จริง มองเห็นรำไร ได้ไหม ?
ถ้าคิดว่ามอง เห็นอะไรลางๆ คิดจะพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ
ก็มี"ทฤษฎีระบบรัฐสภาสายพันธุ์แท้-แยกอำนาจ"
เป็นฐานการพิจารณาเพื่อหาข้อสรุปที่ดียิ่งๆขึ้นไป..เป็นของตัวท่านทั้งหลาย
เอง..อยู่แล้ว ถ้าคิดว่าน่าจะได้ แต่ลองทำแล้วฝ่าเส้นทางไม่ได้
ก็ไม่เห็นจะเสียหายอะไร ถือเป็นการปูทางไว้โอกาสต่อไปที่เงื่อนไขเปิด
อันจะส่งผลต่อความเร็วในสัมฤทธิผล
ท้ายนี้หวังว่า สิ่งที่จะได้มาต่อไปมันจะคุ้มเกินค่าต้นทุนที่ลงไปในครั้งนี้
หากเดินหมากตาถัดไปผิด ไทยเราก็หมดสิทธิติดอันดับ World Top 10 ตลอดกาล
นะครับ

ขอแสดงความนับถือ
นายกลาง ไม่กลวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น