...+

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีปราบกบฏเสื้อแดง (ตอนที่ 1)

รัฐบาลและศูนย์ อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ)
ประเมินสถานการณ์พลาดไปในทางต่ำ

เหตุการณ์ ขอพื้นที่คืนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและสะพานผ่านฟ้า
เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 รัฐบาลและศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
(ศอฉ) ประเมินสถานการณ์พลาดไปในทางต่ำ
ทำให้เกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บของทั้งทหารและประชาชนเป็นจำนวนมาก
และสูญเสียอาวุธยุทโธปกรณ์ไปเป็นจำนวนไม่น้อย

การปิดและกระชับวงล้อม พื้นที่สี่แยกราชประสงค์ ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม
2553 ถึงวันนี้ (18 พฤษภาคม 2553) ก็เช่นเดียวกัน รัฐบาลและ ศอฉ.
ก็ยังประเมินสถานการณ์พลาดไปในทางต่ำอีก ในครั้งนี้
แม้ว่าในขณะที่เขียนบทความนี้ แม้จะยังไม่มีการสูญเสียชีวิตของทหาร
แต่ประชาชนก็บาดเจ็บล้มตามจำนวนมาก
และกำลังจะกลายเป็นเกิดการจลาจลและมิคสัญญีไปทั่วกรุงเทพฯ
มีความเสี่ยงที่อาจจะขยายตัวไปในต่างจังหวัดด้วย หากรัฐบาลและ ศอฉ.
วางยุทธศาสตร์และใช้ยุทธวิธีที่ไปถูกต้องเหมาะสม
ประเทศไทยอาจจะเกิดสงครามการเมืองขึ้นและกลายเป็นการสงครามต่อสู้ฆ่าฟันกัน
เองของคนในชาติ ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาเรื้อรังระยะยาว เหมือนประเทศเลบานอน
หรือมีสภาพเหมือน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ
หรือทั่วประเทศ

รัฐบาลและ ศอฉ. คงจะต้องสรุปบทเรียนว่า
ได้ประเมินสถานการณ์ผิดพลาดมาแต่อดีต
ที่ได้ปล่อยให้ขบวนการและเครือข่ายของพวกเสื้อแดงเติบโตอย่างรวดเร็ว
ทั้งในทางลับและทางแจ้ง จนกลายเป็นกลุ่ม "กบฏเสื้อแดง"
ซึ่งอยู่ภายใต้การนำของหัวหน้ากบฏ นช. ทักษิณ ชินวัตร
ที่มีเป้าหมายที่ชัดเจน คือ
"การล้มล้างสถาบันหลักและเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองของประเทศ"
ด้วยวิธีการที่จะให้เกิดการจลาจลและมิคสัญญี
จนรัฐบาลไม่สามารถจะปกครองประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยกลายเป็น "รัฐล้มเหลว
(failed state)" ซึ่งสุดท้ายหัวหน้าและกลุ่มกบฏจะได้กลับมาครองอำนาจ
เพื่อปกครองประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง
แม้ว่าประเทศจะต้องตกอยู่ภายใต้อาณัติขององค์กรระหว่างประเทศหรือรัฐมหา
อำนาจ

กบฏเสื้อแดงมีกำลังเงินมหาศาลและกำลังคนทั้งในระดับมันสมอง
ระดับปฏิบัติการ และฝ่ายสนับสนุน จำนวนมาก
มีเครือข่ายอยู่ในทุกระดับของสังคม (ทั้งในรัฐสภา กองทัพ สตช. กระทรวง
กรม กอง องค์กรส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจ องค์กรเอกชน สื่อมวลชน
และประชาชนทั้งในกลุ่มคนรวย คนชั้นกลาง และคนรากหญ้า)
จึงมีการคิดวางแผนทั้งด้านยุทธศาสตร์และยุทธวิธี
และแผนปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและมีการประสานงานเชื่อมโยงกันเป็นอย่างดี
โดยแผนต่างๆ เหล่านี้ ของกบฏเสื้อแดงก้าวล้ำนำหน้าของรัฐบาลและ ศอฉ.
ไปหลายส่วน ซึ่งได้ดำเนินการทั้งในทางลับและทางแจ้ง มาเป็นเวลาหลายปี

ซึ่ง แม้ว่าหลายเรื่องหลายอย่าง รัฐบาลและฝ่ายความมั่นคงจะรับทราบ
แต่ด้วยเหตุปัจจัยและสถานการณ์ของประเทศหลายอย่าง เช่น
ปัญหาด้านเอกภาพและเสถียรภาพทางการเมือง ความอ่อนแอของรัฐบาลผสม
ปัญหาเร่งด่วนทางเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาปากท้องของประชาชน
การขาดประสบการณ์ด้านความมั่นคงของรัฐบาล
การไม่ได้ความร่วมมือขององค์กรและหน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นมือไม้ของรัฐบาล
ปัญหาการขาดเอกภาพของกองทัพ
ปัญหาการถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ฯลฯ
โดยเฉพาะเหตุปัจจัยสำคัญ คือ
วิสัยทัศน์และประสบการณ์ของรัฐบาลที่จะนำมาใช้ในการประเมินสถานการณ์ด้าน
ความมั่นคงของประเทศ การแสวงหาคนมีฝีมือที่จะช่วยรัฐบาลทำงาน
และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ
ทำให้รัฐบาลและฝ่ายความมั่นคง เกิดความประมาท ชักช้า และชะล่าใจ
ปล่อยให้กระบวนการและเครือข่ายของกบฏเสื้อแดงเติบโตและแข็งแกร่งขึ้นอย่าง
รวดเร็ว ความผิดพลาดที่สำคัญยิ่งของรัฐบาลและฝ่ายความมั่นคง คือ
การปล่อยให้กบฏเสื้อแดงมีการซ่องสุมกำลังคนเพื่อฝึกอวุธและการต่อสู้
และสะสมอาวุธสงครามไว้เป็นจำนวนมาก
เพื่อที่จะนำมาก่อการอย่างที่เห็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเรื่องนี้
แม้จะไม่ได้จงใจที่จะเปิดเผย
แต่ก็ไม่ได้เป็นความลับและเป็นที่รับทราบของสังคมทั่วไป

กบฏเสื้อแดง มีบุคลากรระดับมันสมองและระดับปฏิบัติการที่มีประสบการณ์
ซึ่งมาจากทั้งทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ทั้งในและนอกราชการ
เพื่อวางแผนและปฏิบัติในการใช้กองกำลังติดอาวุธและการก่อวินาศกรรม
อย่างที่ปรากฏแน่ชัดแล้ว

กบฏเสื้อแดงได้ปลุกระดมมวลชนให้มาชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้มีการยุบสภา
โดยโฆษณาชวนเชื่อว่าเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตย
ซึ่งเป็นการชุมนุมโดยสงบสันติและปราศจากอาวุธ
โดยอาศัยเครือข่ายของพรรคการเมือง
นักการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น หัวคะแนน
และผู้นำชุมชนระดับรากหญ้าทั้งในเมืองและต่างจังหวัด
ทำให้สามารถระดมคนมาเป็นจำนวนมาก
และมวลชนเหล่านี้จำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาต่างๆ เช่น ความยากจน
การถูกกดขี่และเอาเปรียบจากสังคม การได้รับความอยุติธรรมจากกลไกของรัฐ
จึงมาด้วยความบริสุทธิ์ใจ
แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่ได้รับผลประโยชน์และถูกจ้างวานให้มาชุมนุม
การชุมนุมนี้หากสามารถทำให้เกิดการยุบสภาขึ้นจริงก็ถือเป็นการนับหนึ่ง
ของกระบวนการ "การล้มล้างสถาบันหลักและเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองของประเทศ"
แต่หากไม่สำเร็จก็สามารถจะเปลี่ยนให้กลายเป็นการประชุมเพื่อก่อการจลาจล
เพื่อให้เกิดการเสียชีวิตของมวลชนและเจ้าหน้าที่
โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลส่งทหารออกมาสลายการชุมนุม
เพื่อทำให้รัฐบาลหมดความชอบธรรมในการปกครองประเทศ
ซึ่งสุดท้ายก็จะนำไปสู่การยุบสภา
หรือไม่เช่นนั้นก็ก่อให้เกิดการจลาจลและมิคสัญญี
จนประเทศไทยกลายเป็นรัฐที่ล้มเหลว
จนต้องเกิดการเจรจากับกบฏเสื้อแดงโดยมีองค์กรระหว่างประเทศหรือรัฐมหาอำนาจ
เป็นตัวกลาง
หาญยุทธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น