...+
▼
วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา- วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยา
ประวัติ - พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ) เมื่อครั้งเป็น หลวงประเสริฐอักษรนิติ ได้มาจากบ้านราษฎรแห่งหนึ่งที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อ พศ. ๒๔๕๐ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ไปพบจึงเรียกพงศาวดารนี้ว่า " พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ" หรือ เรียกกันทั่วไปว่า "พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ" พงศาวดารฉบับนี้เรียบเรียงเมื่อ จ.ศ. ๑๐๔๒ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์
ทำนองแต่ง - แต่งด้วยร้อยแก้ว ลำดับศักราช และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคล้ายบันทึกปูมโหร
ข้อคิดเห็น - สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า พระราชพงศาวดารชุดนี้คงจะมี ๒ เล่ม แต่ฉบับที่ได้มานี้จบเพียงรัชกาล สมเด็จพระนเรศวร พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ เป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับเหตุการณ์สมัยกรุงศรีอยุธยามากกว่าพงศาวดารฉบับอื่นๆ เช่นเดียวกับศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงให้ความกระจ่างเกี่ยวกับเหตุการณ์สมัยกรุงสุโขทัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น