...+
▼
วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553
จินดามณี - วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยา
ประวัติ - ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พวกมิชชั่นนารีฝรั่งกำลังเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์และวิชาการ อย่างฝรั่ง จนถึงแก่ตั้งโรงเรียนสอนเด็กไทย สมเด็จพระนารายณ์ทรงเกรงว่า คนไทยจะหันไปเข้ารีตและนิยมอย่างแบบฝรั่ง จึงรับสั่งให้พระโหราธิบดีแต่งจินดามณีขึ้น เพื่อคนไทยจะได้มีแบบเรียนของตนเอง และรู้วิชาการอย่างไทยๆ ไม่หันเหไปฝักใฝ่กับฝรั่ง
ทำนองแต่ง - แต่งด้วยร้อยแก้ว บางตอนเป็นคำประพันธ์ประเภทต่างๆ
ข้อคิดเห็น - จินดามณีเป็นแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรก การจัดลำดับข้อความค่อนข้างสับสน และสำนวนภาษาที่ใช้เข้าใจได้ยาก แต่ก็นับว่ามีความสำคัญต่อภาษาและหนังสือไทยเป็นเวลาช้านาน เพราะได้ใช้เป็นหนังสือเรียนมาจนถึงต้นรัชกาลที่ ๕ ถึงแม้ต่อมาจะได้มีแบบเรียนอื่นๆเกิดขึ้น เช่น ปฐมมาลา และมูลบทบรรพกิจ แต่ก้ได้แนวคิดในการแต่งไปจากจินดามณีทั้งสิ้น ภาคที่ว่าด้วยฉันทลักษณ์ได้ยกตัวอย่างมาจากวรรณคดีเรื่องอื่นๆ ทำให้ทราบอายุของวรรณคดีเรื่องนั้นๆ ว่าแต่งก่อนจินดามณี เช่น ยกกาพย์ยานีมาจากมหาชาติคำหลวงที่ว่า
ครั้นเช้าก็หิ้วเช้า ชายป่าเต้าไปตามชาย
ลูกไม้จึงครันงาย จำงายราชอดยืน
เป็นใดจึงมาค่ำ อยู่จรหล่ำต่อกลางคืน
เห็นกูนี้โหดหืน มาดูแคลนนี้เพื่อใด
และยกโคลงจากลิลิตพระลอมาประกอบคำอธิบายการแต่งโคลงสี่สุภาพคือ
เสียงสือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น