...+
▼
วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553
ทวาทศมาส - วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยา
ผู้แต่ง - พระเยาวราช ขุนพรหมมนตรี ขุนศรีกวีราช ขุนสารประเสริฐ บางท่านว่ากวีสามคนแต่ง
ทำนองแต่ง - โคลงดั้นวิวิธมาลี
เรื่องย่อ - ตอนต้นสรรเสริญเทพเจ้าและพระเจ้าแผ่นดิน ชมความงามของนางที่ต้องจากมา กล่าวถึงบุคคลในวรรณคดี เช่น พระอนิรุทธ์ พระสมุทโฆษ พระสุธน พระสูตรธน แล้วแสดงความน้อยใจที่ตนไม่อาจได้อยู่ร่วมกับนางอีก อย่างบุคคลเหล่านั้น ตอนต่อไปนำเหตุการณ์ต่างๆ และลมฟ้าอากาศในรอบเดือนหนึ่งๆ ตั้งแต่เดือน ๕ ถึงเดือน ๑๒ มาพรรณนา เดือนใดมีพิธีอะไรก็นำมากล่าวไว้ละเอียดลออ เช่น เดือนสิบเอ็ดมีพิธีอาศวยุช เดือนสิบสองมีพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป เดือนยี่ประกอบพิธีตรียัมพวาย และเดือนสี่กระทำพิธีตรุษ เป็นต้น ต้อจากนั้นถามข่าวคราวของนาง จากปี เดือน วัน และยาม ขอพรเทพเจ้าให้ได้พบนาง ตอนสุดท้ายกล่าวสรรเสริญพระบารมีพระเจ้าแผ่นดิน
ข้อคิดเห็น - โคลงทวาทศมาส มีแนวการบรรยายบทครวญสวาท พิสดารกว่าวรรณคดีเรื่องอื่นๆ โคลงเรื่องเป็นทำนองนิราศ แต่ไม่ปรากฏว่าจากนางไปที่ใด แทนที่จะทำตำบลต่างๆ มาพาดพิงกับความอาลัยรัก กลับใช้ฤดูกาลกับเหตุการณ์ต่างๆ ในรอบเดือนแทน ถ้อยคำสำนวนโวหารบรรเจิดบรรจงยิ่งนัก เป็นพื้นฐานให้กวีในภายหลัง เช่น นายนรินทร์ธิเบศรและพระยาตรังได้ใช้เป็นแนวความคิด คำศัพทฺ์ที่ใช้เป็นคำโบราณ คำเขมรและคำบาลีสันสกฤตปนอยู่มาก ซึ่งยากที่จะเข้าใจความหมายได้ วรรณคดีเรื่องนี้นอกจากจะประกอบด้วยรสกวีนิพนธ์สูงดังกล่าวมาแล้ว ยังให้ความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีและสภาพความเป็นอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น