...+

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แบบเรียนภาษาไทย ๖ เล่ม - วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ทำนองแต่ง - แต่งด้วยร้อยแก้ว
บทนำและบทส่งท้ายแต่ละเรื่องเป็นโคลงสี่สุภาพ
สำหรับเรื่องมูลบทบรรพกิจได้ยกเอากาพย์เรื่องพระไชยสุริยาของสุนทรภู่
ซึ่งแต่งเป็นกาพย์มาแทรกไว้ด้วย
เรื่องย่อ - แบบเรียนชุดนี้มี มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร
อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์วิจารณ์ พิศาลการัตน์ เดิมไวพจน์พิจารณ์
รวมอยู่ในสังโยคพิธาน จึงนับเพียง ๕ เล่ม
ข้อคิดเห็น - ความสำคัญของแบบเรียนภาษาไทยชุดนี้
ปรากฏในคำนำของกรมศิลปากร ในการพิมพ์ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พุทธศักราช
๒๕๐๑ ดังนี้
หนังสือชุดนี้นับว่า
มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การศึกษาของชาติด้วยเป็นแบบฝึกหัดอ่านเบื้องต้น
มองกุลบุตร กุลธิดา ในสมัย ๘๐ กว่าปีมานี้
เวลาก่อนหน้านี้ขึ้นไปเรายังหาได้มีหนังสือเรียน
ซึ่งทางราชการเรียบเรียงจัดพิมพ์ขึ้นเป็นมาตรฐาน
เช่นที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าหน้าที่จัดทำอยู่ทุกวันนี้ไม่
หากแต่ใครมีความรู้มีตำรับตำราอย่างไรก็สอนกันไป
ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงปฏิรูปการศึกษาของชาติ โดยจัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้น
เป็นการเปิดแนวทางที่รัฐจะรับหน้าที่จัดการศึกษาแก่เยาวชนเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย
อาจารยางกูร) เมื่อครั้งเป็นหลวงสารประเสริฐ เรียบเรียงหนังสือชุดนี้ขึ้น
เพื่อใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนหลวงนั้น
มีรายละเอียดแจ้งอยู่ในบานแผนกพิมพ์ อยู่ข้างต้นหนังสือนี้แล้ว
วงการหนังสือสมัยต่อมาก็รับเอาหนังสือเหล่านี้ไปใช้ในการสอน
แทนที่จะสอนกันอย่างไม่มีแบบแผนเยี่ยงก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น