...+

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สามัคคีเภทคำฉันท์ - วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สามัคคีเภทคำฉันท์ - วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ทำนองแต่ง - ใช้ฉันท์และกาพย์
เรื่องย่อ - ดำเนินเรื่องตามคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี
อัตถกถาทีฆนิกายมหาวรรคว่า พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ
ต้องการขยายพระราชอาณาเขตไปยังแคว้นวัชชี ซึ่งกษัตริย์ลิจฉวีปกครองอยู่
แต่ทรงเกรงว่าจะทำได้ยาก เพราะกษัตริย์ลิจฉวีตั้งอยู่ในอปริหานิยธรรม
มีความสามัคคีกลมเกลียวกันยิ่งนัก ทรงปรึกษากับวัสสการพราหมณ์ปุโรหิต
วัสสการพราหมณ์ออกอุบายให้พระเจ้าอชาตศัตรู
แสร้งขับไล่ตนออกไปจากแคว้นมคธ แล้วไปอาศัยทำราชการอยู่กับกษัตริย์ลิจฉวี
พยายามยุแหย่ให้กษัตริย์ลิจฉวีแตกสามัคคี
แล้วส่งคนมากราบทูลให้พระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพไปตีแคว้นวัชชีได้อย่างง่ายดาย
ข้อคิดเห็น - สามัคคีเภทคำฉันท์
เป็นหนังสือคำฉันท์อันยอดเยี่ยมในรัชกาลที่ ๖ เช่นเดียวกับอิลราชคำฉันท์
การแต่งถูกแผนบังคับทุกประการ การใช้ถ้อยคำสำนวนโวหารเพริศพริ้งโอ่อ่า
ทำนองแต่งเดินตามแบบฉันท์โบราณ
หนังสือเรื่องนี้กระทรวงศึกษาธิการกำหนดใช้เป็นแบบเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น