...+

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

อโหสิกรรม (กรรมที่ตามไม่ทัน )

กรรมที่ได้กระทำลงไปแล้ว แต่ไม่มีโอกาสให้ผล เรียกว่า "อโหสิกรรม"

คนเราเกิดมามักกระทำทั้งกรรมดี และกรรมชั่วสลับกันไป

กรรม หลายอย่าง ที่เป็นกรรมชนิดที่ให้ผลในชาตินี้ เป็นกรรมทันตาเห็น
ซึ่งเป็นผลหนักเบาต่างกัน เมื่อได้กระทำลงไปแล้ว กรรมทันตาเห็น
ประเภทหนักสุด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายดี หรือฝ่ายชั่ว ย่อมให้ผลก่อน
แต่ให้ผลไปจนกระทั่งเราตายจากชาตินี้ไป กรรมทันตาเห็นประเภทรองๆ ลงไป
ซึ่งเป็นกรรมที่ต้องให้ผลในชาตินี้เหมือนกัน เมื่อชาตินี้หมดไปแล้ว
กรรมเหล่านี้ก็กลายเป็น อโหสิกรรม

อย่าง เช่น พระเทวทัต ได้ทำกรรมหนักไว้หลายอย่าง
ที่ต้องให้ผลในชาติปัจจุบัน
แต่เมื่อถูกธรณีสูบไปอย่างปัจจุบันทันด่วนเสียก่อน
กรรมประเภทต้องให้ผลในชาติอย่างอื่น ก็เป็นอันไม่ได้ส่งผล เลยกลายเป็น
อโหสิกรรม

หรือ บางคนอาจจะสร้างความดีหลายๆ อย่าง ซึ่งจะค่อยๆ ให้ผล แต่ได้รับโชคดี
เลื่อนฐานะยากจนกลายเป็นเศรษฐีอย่างทันตาเห็นในชั่วร ะยะเวลาข้ามคืน
เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว กรรมอื่นๆ ประเภทต้องให้ผลชาตินี้ ก็กลายเป็น
อโหสิกรรม

กรรมหลายอย่าง ที่กระทำไว้ในชาตินี้ แต่เป็นกรรม ชนิดที่ให้ผลในชาติหน้า
และได้กระทำไว้หลายอย่างด้วยกัน เมื่อกรรมชนิดหนักที่สุดให้ผลก่อนแล้ว
จนกระทั่งหมดสิ้นชาติหน้าไปแล้ว กรรมที่ให้ผลชาติหน้า
ชนิดที่รองลงไปก็ไม่มีโอกาสให้ผล กรรมเหล่านี้ก็กลายเป็นอโหสิกรรม

อย่าง เช่น อนันตริยกรรม ซึ่งมีกรรมสังฆเภท
มีโทษหนักสุดเมื่อชักนำให้ไปเกิดเป็นสัตวนรก ในนิรยภูมิ
(ซึ่งมีอายุยืนยาวมาก) แล้วอนันตริยกรรม ประเภทมีโทษรองลงไป
หรือกรรมประเภทให้ผลชาติหน้าอื่นๆ ก็ไม่มีโอกาสให้ผล จนตลอดอายุชาติหน้า
กรรมเหล่านี้จัดเป็น อโหสิกรรม คือ ไม่มีโอกาสให้ผล

หรือผู้ที่ได้ฌานต่างๆ ตั้งแต่ ฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 ฌาน 4 ฌาน 5 ฌาน 6 ฌาน
7 และฌาน 8 เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า
คือตายแล้วไปเกิดเป็น พระพรหมผู้วิเศษ
ซึ่งเป็นชั้นที่มีอานิสงส์มากที่สุด ส่วนอานิสงส์ของชั้นอื่นๆ
ตั้งแต่ชั้นฌาน 1 ถึง 7 ไม่มีโอกาสให้ผล เพราะเสวยชั้นสูงสุดอยู่แล้ว
อานิสงส์หรือกรรมของ ฌาน 1-7 นี้ก็กลายเป็น อโหสิกรรม

สำหรับ กรรมชนิดที่ให้ผลตั้งแต่ชาติที่ 3 เป็นต้นไป
จนกว่าจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ถึงซึ่งพระนิพพานนั้น
มีผลยืนยาวมากกว่ากรรมชนิดให้ผลในชาติปัจจุบัน และชนิดที่ให้ผลในชาติหน้า
จึงไม่กลายเป็นอโหสิกรรม ได้ง่ายๆ ย่อมติดตามไปอย่างเหนียวแน่น และยาวนาน
ใน สมัยพุทธกาล ณ กรุงราชคฤห์ มีสาวโสภา
บุตรเศรษฐีคนหนึ่งพอได้เห็นหน้าโจรที่ถูกจับประหารผ่ านหน้าบ้าน
ก็ให้เกิดอาการหลงรัก แล้วเจ็บป่วยอย่างกระทันหัน
เศรษฐีผู้เป็นพ่อจึงไปซื้อโจรประหารมาให้เป็นสามี

เมื่อ อยู่กินเป็นสามีภริยา กันได้ระยะหนึ่ง
สันดานโจรก็กำเริบจึงได้ลวงธิดาเศรษฐีขึ้นไปบนภูเขา
เพื่อจะฆ่าให้ตายแล้วชิงทรัพย์ แต่ด้วยปัญญาไม่ทันเท่า
จึงถูกธิดาเศรษฐีผลักตกลงหน้าผาถึงแก่ความตาย
ธิดา เศรษฐีรู้สึกเบื่อหน่ายและกลัวบาปที่ตนได้ฆ่าสาม ี
จึงไปบวชอยู่นอกศาสนาพุทธ แล้วก็เจนจบมีวิชา มีปัญญา ที่ใครๆ
ก็ไม่อาจตอบปัญหา 1,000 ข้อ ของนางได้

แต่เมื่อมาพระสารีบุตรได้แถลงไขในปัญหาเหล่านี้ได้
นางจึงได้ขอบวชเป็นพระภิกษุณี แล้วก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
เมื่อนิพพานไปแล้ว กรรมที่ได้ฆ่าสามีไว้ จึงตามไม่ทันกลายเป็นอโหสิกรรม

เพราะฉะนั้น การตัดกรรม การหนีกรรม จะกระทำได้ ก็ด้วยวิธีเหล่านี้ทั้งนั้น

การ ตัดกรรมของหลวงพ่อคง จัตตมโล แห่งวัดเขาสมโภชน์ ก็ดี
การตัดกรรมของหลวงพ่อธรรมรส (หลวงพ่อคล้าย ฐิตธัมโม)
แห่งสำนักสงฆ์น้ำตกธรรมรส อ. วังจันทร์ จ.ระยอง ก็ดี
หรือการสวดมนต์เจริญภาวนาตามแบบของหลวงพ่อจรัญ แห่งวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี
จ. สิงห์บุรี ก็ดี หรือวิธีการตัดกรรมของอาจารย์ฤาษีสมพิศ
ก็คือการสร้างทาน ศีล ภาวนา เพื่อตัดกรรม หนีกรรม นั่นเอง

--
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ ทั้งปวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น