ได้ประดุจเลือกที่จะหว่านเมล็ดข้าวในนาดี ทรงแนะนำว่าการให้ทานแก่
สมณพรามหมณ์ผู้มีศีลสมบูรณ์ มีผลมากมีอานิสงส์มาก ดังนั้น...เราจะ
เลือกการให้ทานได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ...เวลาที่เหมาะสม...
สถานการณ์...บุคคล และอื่นๆ ที่เราคิดว่าจะเป็นสิ่งที่ดี
...ให้ทานแล้ว ตั้งจิตอธิษฐาน เป็นการกระทำที่ถูกหรือไม่?
ผู้เขียนคิดว่า การตั้งจิตอธิษฐานโดยทั่วไป แท้จริงแล้วแบ่งเป็น2อย่าง
อย่างแรกคือ...ตั้งความปรารถนา ในสิ่งที่ต้องการ อันนี้คือการตั้งความ
ปรารถนา อีกแบบคือ...ตั้งอธิษฐานจิต เป็นอธิษฐานบารมีว่า ตั้งใจแน่ว
แน่จะกระทำความดีต่อไป
ในเรื่องของการ ตั้งความปรารถนา พระพุทธองค์ทรงสอนว่า การให้ทาน
แล้วตั้งความปรารถนาว่า เมื่อตายไปขอเป็นเศรษฐี เป็นกษัตริย์ หรือเป็น
เทวดาชั้นต่างๆ สิ่งที่ขอย่อมเป็นไปได้ถ้ามี
'ศีล'...ประกอบด้วย แต่การตั้งความปรารถนาแบบนี้ ยังไม่ถือว่าดีพร้อม
พระพุทธองค์ยังไม่สรรเสริญ ( ทรงสอนว่า สิ่งปรารถนาสูงสุดที่ควรขอ
คือ...การพ้นทุกข์ หรือพระนิพพาน )
สำหรับ...การอธิษฐานจิต ที่จะทำดีต่อไปนั้น ในอดีตชาติของพระพุทธองค์
ก็ตั้งอธิษฐาน จะเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อนำสัตว์โลกให้พ้นทุกข์เป็นจำนวนมาก
และพระสาวก ก็ตั้งอธิษฐานเพื่อเป็นพระสาวก ที่เป็นเอตทัคคะในด้านต่างๆ
เพื่อตนเองพ้นทุกข์ด้วย และเพื่อจะช่วยผู้อื่น เป็นการตั้งสัจจะอย่างหนึ่งใน
รูปแบบที่ตนต้องการ การตั้งจิตอธิษฐานแบบนี้เป็นการบอกถึง ความตั้งใจ
แน่วแน่ที่จะทำความดีต่อๆไป ถือเป็น...อธิษฐานบารมี ไม่ใช่การหวังผลใน
ทาน แต่เป็นการหวังในเหตุ เพื่อที่จะทำดีต่อไป
ส่วนการตั้งความปรารถนา เช่น...ปรารถนาสวรรค์ ก็จะมีโอกาสได้ตามนั้น
ถ้ามีศีล แต่ก็จะเป็นการหวังผล ดังนั้นจะมีอานิสงส์น้อยกว่า ผู้ที่ไม่หวังผล
ใดๆในการให้ทาน ส่วนการตั้งความปรารถนา ...พระนิพพาน... อันนี้เป็น
การตั้งความปรารถนาที่จะพ้นทุกข์ พระนิพพาน เป็นภาวะที่ไม่มีอะไรอีกเลย
นอกจากความพ้นทุกข์ ทางพระถือว่าไม่เป็นการหวังผล และเป็นสิ่งที่ควรทำ ฯ
~จากหนังสือ...'บุญกริยา' เรียบเรียงโดย น.ท. น.พ. จักรพงศ์ ไพบูลย์~
ขอนอบน้อมในคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์...ฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น