...+

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ตาหุ่นยนต์ช่วยรักษาความปลอดภัย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2552 08:31 น.
กล้องทีวีวงจรปิด (CCTV) นิยมใช้มากในปัจจุบันโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดอาชญากรรมสูง วันก่อนผมได้ยินข่าวว่ากรุงเทพมหานครมีพื่นที่เสี่ยงดังกล่าวเป็นพันๆแห่ง ทางผู้รับผิดชอบจึงได้เร่งแก้ไขปัญหาและกล้องวงจรปิดก็เป็นทางออกหนึ่ง นอกจากจะใช้บันทึกเหตุการณ์เพื่อเป็นหลักฐานแล้วยังสร้างผลทางจิตวิทยาป้อง ปรามคนกระทำผิดได้จนไม่กล้าปฎิบัติการในที่ที่มีการติดตั้งกล้องเหล่านี้ บางแห่งเพื่อลดต้นทุนระบบถึงกับใช้กล้องปลอมปะปนไปด้วยซึ่งก็ได้ผลมากพอ สมควรโดยเฉพาะลดอัตราการลวนลามสุภาพสตรืในที่ลับตาคน


ผมยังได้รับทราบว่าในปัจจุบันหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ความปลอดภัยได้มีการผนวกข้อมูลและเวลาของสัณญานภาพเข้าการใช้มือถือ การส่งอีเมลล์ หลายท่านคงทราบดีอยู่แล้วผู้ให้บริการ (Mobile Operator) สามารถระบุตำแหน่งของผู้ใช้โทรศัพท์ โดยเรขาคณิตคำนวณที่ตั้งของเสาสัณญาน (Cell Site) แม้แต่มือถือบางรุ่นยังสามารถระบุสถานที่ของคู่สนทนาได้ แต่ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจนะครับว่ามือถือรุ่นนี้จะประสบความสำเร็จในตลาดบ้านเรา เพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้รู้ว่าตนเองทำอะไรอยู่ที่ไหนครับ

เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วผมเคยให้คำปรึกษาสมาคมธนาคารไทยในการติดตั้งระบบกล้องทีวีวงจรปิด สมัยก่อนเรื่องของ Digital Recording ยังเป็นเรื่องใหม่ ข้อดีเรื่องความเร็วและความถูกต้องในการเข้าถึงข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่ตื่นตาใจ เมื่อใช้การทำงานแบบ Motion Detector เชื่อมต่อกับตู้เอทีเอ็ม ทำให้ธนาคารต่างๆสามารถบันทึกภาพผู้ที่เดินเข้ามากดเงินได้ ข้อมูลนี้ช่วยให้ทางตำรวจจับค้นร้ายได้หลายราย รวมทั้งกรณีร้องเรียนเรื่องเงินหลายไปจากบัญชี แท้ที่จริงเพื่อนหรือญาติพี่น้องนำบัตรของผู้เสียหายไปกดเสียเองครับ

สำหรับอาคารสำนักใหญ่ๆเมื่อมีการติดกล้องจำนวนหลายตัว ผมมักจะแนะนำว่าให้ติดตั้งเป็นวงและต้องออกแบบให้แต่ละวงมีความสัมพันธ์กัน สามารถส่งข้อมูลถึงกันและกันได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบรักษาความปลอดภัยว่าได้จัดความสมดุลระหว่างการใช้ Human Guard และเทคโนโลยีเพียงใด หากใช้ความเป็นอัตโนมัติของเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวแต่ยามไม่เข้มแข็งก็ยาก ที่จะรักษาความปลอดภัยได้ ในทางตรงกันข้าม การแก้ไขปัญหาจะเชื่องช้ามากหรือหลงทางไปเลยก็ได้ถ้าไม่มีการใช้เทคโนโลยี อาคารที่มีหน่วยงานย่อยหลายองค์กร หรือหลายๆบริษัทอยู่ด้วยและมีการแยกระบบทีวีวงจรปิดออกจากกันนั้นมีความ เสี่ยงต่อการหลบหลีกหรือซ่อนตัวของผู้ก่อการร้ายได้เนื่องจากข้อมูลไม่ต่อ ถึงกัน

เมื่อมีโอกาสผมจะแนะนำเสมอว่าควรต้องทำเป็นระบบเดียวกัน แต่ไม่ค่อยใครฟังเท่าใดนัก เพราะแต่ละหน่วยงานมี “อัตตาวาทุปทาน” สูง ล้วนต้องการมีระบบนี้เป็นของตัวเอง ผมขอย้ำว่ามีผลเสียทางเทคนิคมากไม่ควรทำอย่างยิ่ง ทั้งอันตรายและสิ้นงบประมาณอย่างไม่คุ้มกันเลย

เทคโนโลยีปัจจุบันนั้นได้ผนวกเอาความสามารถทางปัญญาประดิษฐ์เข้าไป ด้วยแล้ว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการวางระเบิดจากกระเป๋าพกพา สนามบินชั้นนำทั่วโลกมีระบบนี้ติดตั้งใช้งาน ฟั่งชั่นสำคัญคือระบบสามารถจำ (Cognitive Module) จากข้อมูลภาพว่าผู้ใดถือสัมภาระมาด้วย แล้วจงใจทิ้งกระเป๋าเกินระยะที่กำหนดไว้ในระบบ ระบบจะทำการเตือนทันที่ ตำแหน่งของคนร้าย ณ. เวลาต่างๆก็สามารถ Trace ได้ภายในเวลาอันรวดเร็วหากระบบต่อถึงกันดังที่ผมกล่าวไว้ข้างต้น นอกจากนี้ทีม นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอนยังได้พัฒนา ระบบจดจำใบหน้า (Face Recognition) ที่สามารถระบุชื่อแซ่ผู้มาติดต่อได้เลย และบอกได้แม้กระทั่ง ความเป็นไปได้หรือหน้าตาละหม้ายคล้ายใครบ้างในกรณีที่มีการปลอมตัวมา ผมได้ยินว่า “ตาหุ่นยนต์อัจฉริยะ” นี้ทางเพนตากอนมีความสนใจมาก เขาคงจะกลัวการปะปนของผู้ก่อการร้ายในที่สาธาณะกระมังครับ

หน้าตาสามารถปลอมแปลงกันได้แต่แววตาไม่สามารถซ่อนความรู้สึกได้เสมอ ไป ผมเชื่อว่าศาสตร์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ยังคงต้องพัฒนาขึ้นไปอีกมาก จนสามารถทำในสิ่งที่เหลือเชื่อในปัจุบันได้ครับ

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th

1 ความคิดเห็น:

  1. นอกจากใช้ตาหุ่นยนตร์แล้ว ก็แวะไปใช้ตาเราเองดูดาวบ้าง



    http://www.ainews1.com/modules.php?name=Web_Board&file=view&No=171

    สมศักดิ์
    http://www.ainews1.com

    ตอบลบ