...+

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

"นักเทคโนโลยีดีเด่นจาก มช." พัฒนาแผ่นห้ามเลือดจากข้าวเจ้า

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2552 11:15 น.

รศ. นพ.สิทธิพร บุณยนิตย์
ทรัพยากรใกล้ตัว ที่คนทั่วไปเห็นเป็นสิ่งธรรมดา
แท้จริงนั้นอาจจะพัฒนานำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง ดังเช่น
นักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ที่ใช้แป้งข้าวเจ้ามาสร้างประโยชน์ด้านการแพทย์ นำไปสู่สิ่งผลิตอย่าง
"วัสดุห้ามเลือดจากแป้งข้าวเจ้า" และ
"วัสดุเย็บแผลผ่าตัดชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า"
จนสามารถคว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นปี ประจำปี 2552

รองศาสตราจารย์ นพ.สิทธิพร บุณยนิตย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าของผลงาน "ข้าวเจ้ากรดห้ามเลือด"
และผลงาน "วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้"
ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประเภทบุคคล ประจำปี 2552
จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรตินักเทคโนโลยีของไทยที่มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์
ยิ่งต่อประเทศในเชิงอุตสาหกรรมและสังคม
อีกทั้งจะเป็นตัวอย่างให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ
และที่สำคัญที่สุดจะเป็นแรงจูงใจให้นักศึกษารุ่นหลังมีความสนใจที่จะพัฒนาผล
งานเทคโนโลยีของตนให้สามารถแข่งขันกับเทคโนโลยีของต่างประเทศได้

"ข้าวเจ้ากรดห้ามเลือด"

ผลงานนวัตกรรม "ข้าวเจ้ากรดห้ามเลือด" เป็น
แผ่นไฮโดรเจลชนิดชนิดย่อยสลายได้ปลอดภัยในร่างกายมนุษย์ที่ผลิตจากผงแป้ง
ข้าวเจ้าไทยเป็นวัตถุดิบหลัก มีฤทธิ์กรดแก่เมื่อสัมผัสของเหลว
เพื่อใช้ห้ามเลือดต่ออวัยวะอ่อนนุ่มที่ตกเลือดขณะผ่าตัด
งานวิจัยพัฒนาได้ผ่านการตรวจสอบวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
และการทดสอบในสิ่งมีชีวิตจากสัตว์ทดลอง
โดยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลอง
และขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการขอรับรองเชิงจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เพื่อ
การทดสอบทางคลินิก คาดว่าอีกประมาณ 1 ปี
จะสามารถผลิตจำหน่ายเชิงพาณิชย์อุตสาหกรรม

สำหรับผลงานนวัตกรรม
"วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า" เป็น
วัสดุเย็บแผลแบบเส้นใยเดี่ยวชนิดย่อยสลายได้
ผลิตจากแป้งข้าวเจ้าไทยเป็นวัตถุดิบหลัก
เพื่อใช้เย็บแผลหรืออวัยวะอ่อนนุ่มภายในร่างกายมนุษย์ขณะกำลังผ่าตัด
งานวิจัยพัฒนากำลังอยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงโครงสร้างเชิงเคมีฟิสิกส์ทาง
ห้องปฏิบัติการ คาดว่าอีกประมาณ 3 ปี
จึงจะสามารถผลิตจำหน่ายเชิงพาณิชย์อุตสาหกรรมได้ ซึ่งผลงานนวัตกรรม
"วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า" นี้
เคยได้รับรางวัลชนะเลิศประเทศไทยจากการประกวดบทความทางวิชาการเรื่อง "The
Future of Sutures" ของบริษัทบี.บราวน์ ประเทศเยอรมันนี เมื่อวันที่ 26
กันยายน 2551 มาแล้ว


"วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า"
ในการผลิตผลงานต่างๆ นั้น รศ.นพ.สิทธิพร
มีหลักแนวคิดพื้นฐานที่ว่า "
ต้องการผลิตสร้างวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ขึ้นเองในประเทศไทย
เพื่อลดการนำเข้าและเพิ่มการส่งออกสินค้าทางการแพทย์
เป็นผลงานที่ดำเนินงานวิจัยพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ไทย
จากความรู้ความสามารถที่มีความเป็นไทย เพื่ออบรมสั่งสอนนักวิจัยรุ่นใหม่
นอกจากนี้ยังเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นทรัพยากรพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ
ไทย เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต
โดยใช้เทคโนโลยีและวัสดุต้นทุนต่ำ
เพื่อผลิตสร้างสินค้าที่มีราคาไม่แพงเชิงพาณิชย์อุตสาหกรรม
ประกอบกับใช้วัสดุและกระบวนการผลิตที่มีความปลอดภัยขั้นสูงชนิดที่ปราศจาก
ความเป็นพิษและกำจัดทิ้งได้ง่ายด้วยวิถีทางธรรมชาติ
เพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม
ตลอดจนพยายามสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และขั้นตอนการดำเนินการที่มีความเป็น
นวัตกรรมระดับสากลและสามารถขอจดสิทธิบัตรได้
เพื่อการพัฒนาศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถในการวิจัยของประเทศไทยให้สูง
ขึ้นไปสู่ระดับนานาชาติ"


นอกจากนี้ รศ.นพ.สิทธิพร ยังมีผลงานดีเด่นอีกมากมาย อาทิ
"เจลาตินห้ามเลือดเฉพาะที่ทางศัลยศาสตร์" , "ท่อระบายน้ำหล่อเลี้ยงสมอง"
, "เครื่องจับคีมหนีบหลอดเลือดแดงโป่งพองในสมอง" ,
"ไขผึ้งห้ามเลือดที่กระดูก" เป็นต้น

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000132002

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น