...+
▼
วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
เวทีนโยบาย:‘ความเร็ว’ ภูเขาน้ำแข็งแห่งความผิดพลาด
โดย ภาณุเบศร์ มหาเรือนขวัญ 16 พฤศจิกายน 2552 16:05 น.
ยนตกรรมอัตราเร่งเร็วแรงสะใจ 0-100 กม./ชม.ในไม่กี่วินาที ความเร็วสูงสุดกว่า 200 กม./ชม.นั้นนับเป็นสุดยอดความปรารถนาของมนุษย์มาเนิ่นนาน หากแต่ถ้าใช้ผิดที่ผิดทางก็นำแต่ความผิดพลาดสูญเสียมาให้ เพราะแม้แต่เครื่องรถยนต์ไม่แรงทว่าถ้าขับเร็วเสียแล้วอุบัติเหตุก็เกิดได้ เสมอ
ดังประเทศไทยที่สถิติอุบัติเหตุเกิดจากการขับเร็วเกินอัตรากำหนด (Speed limit) มากสุด สอดคล้องกับสหรัฐอเมริกาที่อุบัติเหตุเกี่ยวกับความเร็วคร่าชีวิตถึง 1 ใน 3 ของอุบัติเหตุทั้งหมด อันเนื่องมาจากความเร็วที่เพิ่มขึ้นนอกจากทำให้ความสามารถหลีกเลี่ยง อุบัติเหตุลดลงแล้ว ระยะทางในการหยุดรถยังเพิ่มขึ้นเพราะระยะทางที่ใช้ในการรับรู้และตอบสนอง เพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องใช้ระยะทาง 53 เมตรเพื่อจะหยุดรถเร็ว 80 กม./ชม. และมากถึง 73 เมตรเพื่อจะหยุดรถเร็ว 96 กม./ชม.
ทั้งๆ ทุกๆ ความเร็วที่ลดลง 1 กม./ชม. จะลดอุบัติเหตุได้ร้อยละ 2-3 ขณะที่ทุกๆ ความเร็วที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จะทำให้เกิดอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิตถึงร้อยละ 33 เพราะแรงปะทะจะเพิ่มขึ้น
ความเร็วจึงนำความผิดพลาดและสูญเสียมาสู่ชีวิตทรัพย์สินของผู้คนทั่วโลก รวมถึงไทย
ทั้งนี้ถึงไทยจะดำเนินมาตรการตรวจจับความเร็ว ทั้งตั้งด่านตรวจ ใช้กล้องตรวจจับความเร็ว (Speed camera) กำหนดเขตควบคุมความเร็ว ติดตั้งเครื่องหมายจราจรจำกัดความเร็ว ป้ายเขตชุมชน เขตโรงเรียน ตลอดจนมี พ.ร.บ.จราจรทางบก ฉบับ 8 พ.ศ. 2551 และ พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ. 2535 กำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะแต่ละประเภท และมีการเปรียบเทียบปรับ บันทึกคะแนนเพื่อสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่สำหรับผู้ขับเร็วกว่าอัตรากฎหมาย กำหนดแล้วก็ตาม ทว่าทางปฏิบัติแล้วผู้ขับรถทุกประเภทล้วนฝ่าฝืนจนต้องสังเวยชีวิตพิการบาด เจ็บมหาศาล เฉพาะบนทางหลวงในปี 2551 ก็เสียชีวิตสูงถึง 11,581 คน บาดเจ็บ 71,059 คน จากการเกิดอุบัติเหตุทั้งสิ้น 88,689 ครั้ง
มากกว่านั้นในทุกๆ ปีจะมีรถเพิ่มบนท้องถนน ดังเดือนมกราคม-กันยายน 2552 ที่มีรถจดทะเบียนใหม่ 1,728,737 คัน โดยเป็นรถจักรยานยนต์ถึง 1,211,420 คัน อันเป็นรถเร็วแรงเสียส่วนใหญ่ตามที่ทุกบริษัทใช้เป็นกลยุทธ์โฆษณาให้ โดยกลุ่มเยาวชน ก็ทำให้คาดคะเนได้ว่าอัตราความสูญเสียชีวิตทรัพย์สินและเสียหายทางเศรษฐกิจ จากการขับรถเร็วต้องเพิ่มสูงขึ้นแน่แท้ เพราะแค่ที่มีรถจดทะเบียนสะสมอยู่เดิม 26,420,353 คันในปี 2551 ก็เกิดความสูญเสียจนยากจะยอมรับได้อยู่แล้ว
เมื่อคาดคะเนอนาคตได้ก็ป้องกันการผิดพลาดได้ก่อนจะเกิด และเมื่อสามารถคาดคะเนผลลัพธ์ได้ ก็จะสามารถคิดถึงต้นเหตุและกลไกเพื่อหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดได้ ด้วยเช่นกัน
การ พลัดพราก พิการ บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางท้องถนนอันเนื่องมาจากขับเร็วเป็นผลลัพธ์ของความผิด พลาดที่เกิดขึ้นแล้ว การแก้ไขคลี่คลายจึงต้อง ‘คำนวณย้อนกลับ’ เพื่อค้นหาสาเหตุของความผิดพลาดที่ยังมองไม่เห็น เปรียบประดุจการดิ่งลึกลงใต้มหาสมุทรเพื่อจะประจักษ์สัดส่วนมหึมาของภูเขา น้ำแข็งที่มียอดโผล่พ้นเหนือน้ำมาไม่เท่าใด – มิใช่เห็นแค่ส่วนยอดโฉมเฉกเช่นคนทั่วไป
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การคำนวณย้อนกลับในการเรียนรู้ความผิดพลาดคือการทบทวนจากผลลัพธ์ย้อนกลับไป หาต้นเหตุและกลไกอันเป็นส่วนที่มองไม่เห็นนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ ในโครงสร้างภูเขาน้ำแข็งแห่งความผิดพลาดว่าด้วยอุบัติเหตุจากการขับเร็วนั้น ต้องพิจารณาทั้งด้านต้นเหตุ กลไก และผลลัพธ์ เพื่อจะสามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุกับผลลัพธ์ในการเกิดความผิดพลาด ได้ เพราะต้องเข้าใจก่อนว่าด้วยสาเหตุอะไรทำให้เกิดผลลัพธ์เช่นนี้ แล้วหลังจากนั้นค่อยลดทอนปัจจัยนำเข้าทั้งด้านกลไกและต้นเหตุเพื่อจะไม่ให้ ผลลัพธ์ออกมาเหมือนเดิม
ดังนั้นเมื่อ ‘ผลลัพธ์’ เป็นอุบัติเหตุบนท้องถนนนับหมื่นแสนครั้งอันเกิดจากการขับเร็ว การพินิจสาเหตุอันประกอบด้วยต้นเหตุและกลไกเกี่ยวกับการขับเร็วอย่างถี่ถ้วน จึงจำเป็นยิ่ง เพราะเป็นหนึ่งวิธีทำความเข้าใจและเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากความผิดพลาด ในการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในส่วน ‘ต้นเหตุ’ นั้นเสมือนจะเป็นต้นเหตุร่วมกันของทั้งสังคมไทยเลยคือการชอบขับเร็ว แซงซ้ายป่ายขวา ไม่เคร่งครัดเคารพกฎจราจร โดยเฉพาะป้ายจำกัดความเร็ว สำหรับ ‘กลไก’ ก็คือความย่อหย่อนในการบังคับใช้กฎหมาย (Law enforcement) บทลงโทษบางเบาปรับไม่กี่ร้อยบาท
ทั้งต้นเหตุและกลไกเกี่ยวกับความผิดพลาดด้านความเร็วนั้นมีสถานะดุจ เดียวกับสัดส่วนมโหฬารใต้มหาสมุทรของภูเขาน้ำแข็งที่สะสมความเยียบเย็นมาช้า นาน เพราะก่อนเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจากการขับเร็วสักครั้งมักจะเกิดอุบัติเหตุ เล็กๆ น้อยๆ เพราะขับเร็วแล้วหลายครั้ง และน่าหวาดเสียวเกือบชนอีกไม่น้อย กระทั่งเกิดอุบัติเหตุครั้งรุนแรงในที่สุด เพราะเมื่อใช้ความเร็วบนท้องถนนที่มีรถร่วมทางคันอื่นๆ ทั้งสวนทางหรือวิ่งทางเดียวกัน ก็ยากจะประคับประคองรถหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุไปได้ เพราะการคิดตัดสินใจทำอะไรก็ผิดพลาดเชื่องช้ากว่ายานยนต์ที่ห้อตระบึงไปข้าง หน้า
ความ ต่างระหว่างความผิดพลาดกับเกือบพลาดในการขับรถเร็วนั้นบางเฉียบ และพร้อมขาดผึงเป็นอุบัติเหตุรุนแรงเสมอ เพราะมีองค์ประกอบครบถ้วนของการเกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่จนกระทั่งมีความน่า จะเป็นเท่ากับ ‘1’ คือเกิดขึ้นแน่นอน อีกทั้งการเกือบพลาดถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้สั่งสมจนถึงจุดหนึ่งก็จะหลีกเลี่ยง ความผิดพลาดร้ายแรงไปไม่ได้ในที่สุดไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเล็กน้อยเท่าไร เพราะสุดท้ายเส้นทางความผิดพลาดที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างต้นเหตุ กลไก และผลลัพธ์ยังคงเดิม
เพราะเมื่อไม่วิเคราะห์ต้นเหตุและกลไกของความผิดพลาดว่าด้วย อุบัติเหตุจราจรรอบด้านถ้วนถี่ ควบคู่กับกำหนดมาตรการป้องกันเพื่อเปลี่ยนแปลงต้นเหตุและกลไกอันเป็นปัจจัย นำเข้าของอุบัติเหตุจากการขับรถเร็วแล้ว ไม่เพียงเส้นทางความผิดพลาดจะทอดยาวออกไปจากการที่ต้นเหตุแบบเดิมผ่านกลไก แบบเดิมมาเท่านั้น หากทว่าความเสียหายจะขยายปริมาณความผิดพลาดออกไป
ในระดับบุคคลก็เกือบพลาดขับรถชน ก็เกิดอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ ไม่ร้ายแรง จนถึงประสบอุบัติเหตุรุนแรง บาดเจ็บสาหัส พิการ หรือกระทั่งเสียชีวิต ส่วนระดับประเทศชาติ ความสูญเสียทรัพยากรมนุษย์และเศรษฐกิจของประเทศชาติจากการต้องรักษาดูแลก็จะ ทะยานสูงขึ้นเรื่อยๆ
ฉะนั้นนอกจากต้องแก้ต้นเหตุที่เป็นพฤติกรรมการขับรถและค่านิยมการขับ เร็วแรงของคน โดยเฉพาะเยาวชนที่เป็นกลุ่มหลักในการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการขับเร็วแล้ว ยังต้องแก้ไขกลไกของความผิดพลาด โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษ ดังอเมริกาที่กำหนดค่าปรับสำหรับการขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดใน เมือง Belton ในเขตพื้นที่ทั่วไปว่าถ้าขับเร็วสูงกว่าความเร็วจำกัด 26-30 ไมล์/ชม. จะเสียค่าปรับ 248 เหรียญสหรัฐ และจะเพิ่มขึ้นถ้าเป็นพื้นที่โรงเรียน
ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไทยรู้ว่ามีเส้นทางถึงฝั่งฝันบังคับใช้กฎหมาย ความเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ หากแต่ขณะนี้ไม่รู้ว่าจะก้าวไปเส้นทางใดและตนเองกำลังอยู่ตรงไหน การได้ไปประชุมระดับโลกว่าด้วยทิศทางความปลอดภัยทางถนนที่ประเทศรัสเซีย การมีแบบปฏิบัติที่ดี (Good practice) อย่างออสเตรเลียที่มีโครงการ Speed Campaign รณรงค์ประชาชนตระหนักปัญหาความรุนแรงจากการใช้ความเร็ว และคู่มือการจัดการความเร็ว (Speed management)
สำหรับผู้มีอำนาจตัดสินใจโดยองค์การอนามัยโลกที่เป็นเครื่องมือสำคัญ สำหรับพัฒนาความปลอดภัยทางถนน ตลอดจนมีศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ของไทยที่ใช้ความรู้สู้ความเร็วด้วย และเหนืออื่นใดมีการคำนวณย้อนกลับเพื่อเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากความผิด พลาดอันเนื่องมาจากความเร็วที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ
รัตติกาล เคยมืดมิดก็จะสว่างไสวได้ด้วยลำแสงจากประภาคารเหล่านั้นที่ส่องหนทางถูกต้อง กระทั่งเรือไทยที่บรรทุกกว่าหกสิบล้านชีวิตไว้ไม่หลงทิศชนภูเขาน้ำแข็งแห่ง ความผิดพลาดที่ลอยเคว้งคว้างขวางเส้นทางเดินเรือจนจมดิ่งเหมือนก่อน แม้ระยะแรกอาจหลบไม่พ้น ข้างเรือข่วนขีดเฉี่ยวชนบุบเบี้ยวบ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับล่มจมจนมีผู้เสียชีวิตบาดเจ็บเพราะความเร็วมากมายทุกปี
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น