...+

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เพื่อไทย และประชาธิปัตย์ ก็น้ำเน่าพอกัน!

โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ 21 ตุลาคม 2552 14:45 น.
20 ตุลาคม 2552 นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ได้แถลงข่าวสรุปใจความได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ยังคงยืน
ยันที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น โดยที่นายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะได้ให้รัฐสภาดำเนินการและนำไปสู่การทำประชามติ

6 ประเด็นที่ต้องการจะแก้ไขนั้นไม่พ้นเรื่องผลประโยชน์ในการทำงานของนักการเมืองกันเองทั้งสิ้น!

6 ประเด็นที่จะแก้ไขได้แก่
ไม่ต้องการให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของกรรมการบริหารหรือยุบพรรคที่
กรรมการบริหารโกงการเลือกตั้ง
ไม่ต้องการให้การทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา
ต้องการให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. แบบเขตเดียวเบอร์เดียว ต้องการให้มี
ส.ว.มาจากการเลือกตั้งอย่างเดียว ต้องการให้
ส.ส.สามารถดำรงตำแหน่งบริหารได้ และก้าวก่ายการทำงานของราชการได้

ข้อเสนอ 6 ประเด็น
ที่จัดทำเพื่ออำนาจและผลประโยชน์นักการเมืองกันเองทั้งหมดนี้
อ้างว่าจะทำให้เกิดความสมานฉันท์ได้จึงเป็นเรื่องเหลวไหลสิ้นดี

"พรรคประชาธิปัตย์"
เดิมทีประชาชนคาดหวังว่าจะเป็นหลักเรื่องนี้ได้
กลับต้องมาเอาใจพรรคร่วมรัฐบาลจนต้องออกมาเป็นมติพรรคประชาธิปัตย์ให้แก้ไข
รัฐธรรมนูญในท้ายที่สุด

"พรรคเพื่อไทย" ก็พอกัน
มีมติไม่เข้าร่วมการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
แต่จะเลือกล้มรัฐธรรมนูญปี 2550 แล้วนำรัฐธรรมนูญปี 2540
มาใช้แทนทั้งฉบับ
ก็เพื่อผลประโยชน์ของนักโทษชายทักษิณและตัวเองเพื่อกลับไปสู่บรรยากาศเผด็จ
การรัฐสภาอีกเหมือนเดิม ใช่หรือไม่?

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 122 บัญญัติเอาไว้ว่า:

"สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย
โดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ
และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์"

ถึงขนาดที่เขียนบัญญัติเอาไว้ในรัฐธรรมนูญขนาดนี้
นักการเมืองไทยส่วนใหญ่ก็ยังพยายามที่จะแก้ไขกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของตัว
เองอยู่อีก ย่อมแสดงให้เห็นว่านักการเมืองไทยส่วนใหญ่มันหน้าด้านและไร้ยางอายจริงๆ

เสนอเอง ชงเอง พอจะอนุมัติเอง
ก็ถูกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศจะเข้าชื่อถอดถอน
ก็ยังพยายามที่จะดันทุรังต่อให้ทำประชามติในเรื่องผลประโยชน์ของนักการเมือง
เองโดยที่ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้นอยู่ดี

ถามว่านักการเมืองไทยทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลจะไม่รู้เชียวหรือว่า
ประเทศนี้ต้องการปฏิรูปการเมือง
และคนที่จะมาร่างรัฐธรรมนูญที่เขียนกติกานั้น
ไม่ควรเป็นนักการเมืองที่แก้ไขหรือร่างเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองกันเอง?

ย้อนเวลากลับไปเมื่อปี 2549
ตอนที่เริ่มมีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่นานมากนัก ปรากฏว่า
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ยุบสภาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549
และให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน 25549

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2549 ฝ่าย ค้านซึ่งนำโดยพรรคประชาธิปัตย์
พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน
ได้จัดประชุมและออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ให้พรรคไทยรักไทยโดย
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ลงนามในสัตยาบันที่จะปฏิรูปการเมืองในวันที่ 27
กุมภาพันธ์ 2549 โดยให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 มาตรา 313 ให้มีมาตรา 313/1 ถึงมาตรา 313/21
กำหนดให้ภายใน 30 วัน
นับตั้งแต่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวบังคับใช้

ซึ่งจะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ
กรรมการ พิเศษจะมาจากการโปรดเกล้าฯ มีจำนวน 7 คน
แบ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญรัฐธรรมนูญ 5 คน
และกรรมการที่มีประสบการณ์ทางการเมืองเคยเป็นนายกรัฐมนตรี 2 คน
ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะต้องยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้เสร็จภายใน 6 เดือน
แล้วส่งให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณา
เพื่อเสนอความเห็นเพิ่มเติมก่อนส่งกลับมาให้คณะกรรมการนำข้อเสนอแนะไปปรับ
ปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นจึงนำไปทำประชามติภายใน 6 เดือน

27 กุมภาพันธ์ 2549 หาก พ.ต.ท.ทักษิณ
มาลงนามในสัตยาบันเสียตั้งแต่วันนั้น
การปฏิรูปการเมืองโดยคนกลางที่ไม่ใช่นักการเมืองคงจะเริ่มต้นขึ้น
และการเลือกตั้งก็คงเริ่มต้นอีกครั้ง
โดยที่ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลก็จะส่งผู้สมัคร ส.ส.ลงเลือกตั้งในทุกพื้นที่

ถ้าเพียงแค่ พ.ต.ท.ทักษิณ
ตัดสินใจลงนามในสัตยาบันเสียตั้งแต่วันนั้น
พรรคไทยรักไทยคงไม่ต้องไปจ้างพรรคเล็กมาลงสมัครรับเลือกตั้ง
หรือตัดแต่งข้อมูลสมาชิกของ กกต. จนต้องถูกยุบพรรคโดยศาลรัฐธรรมนูญ

ถ้าเป็นเช่นนั้นคนอาจเข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยน้อย
ลง เพราะประชาชนสนใจแต่บรรยากาศการเลือกตั้ง
และพรรคไทยรักไทยก็คงได้คะแนนเสียงไม่น้อยและอาจจะยังคงเป็นฝ่ายรัฐบาลต่อไป
โดยไม่มีคณะรัฐประหาร ไม่มี คตส. ไม่มีการอายัดและยึดทรัพย์
และทักษิณอาจจะไม่ต้องติดคุกเพราะยังกุมอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จต่อไป
โดยที่ไม่มีใครสามารถเอาตัวทักษิณขึ้นศาลได้ต่อไป

คนคำนวณมิสู้ฟ้าลิขิต พ.ต.ท.ทักษิณ กลายเป็นนักโทษชายทักษิณ
เพียงเพราะตัดสินใจผิดด้วย "โมหจริต" เพียงเสี้ยววินาทีเดียว
ที่ต้องการเอาชนะในเรื่องศักดิ์ศรีกับฝ่ายค้าน
จึงปฏิเสธที่จะลงนามในสัตยาบันของฝ่ายค้าน
พร้อมกับออกแถลงการณ์ของพรรคไทยรักไทยที่จะประชุมกับทุกพรรคการเมืองทั้งที่
มี ส.ส. และไม่มี ส.ส. พร้อมกับสร้างศัพท์ว่าให้มาลงนามใน "สัญญาประชาคม"
ซึ่งคุยโอ้อวดว่าสำคัญและใหญ่กว่าคำว่า สัตยาบัน โดยวันที่ 27 กุมภาพันธ์
2549 พ.ต.ท.ทักษิณ ได้อ่านแถลงการณ์ของพรรคไทยรักไทยความตอนหนึ่งว่า:

1. พรรคไทยรักไทยยินดีดำเนินการให้มีการประชุมหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ
แต่ปัญหาที่จะหารือเป็นเรื่องอนาคตของชาติ
และขณะนี้ต้องถือว่าทุกพรรคการเมืองไม่มี ส.ส.อยู่เลย
จึงควรให้โอกาสทุกพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้ง
แล้วเข้ามามีส่วนร่วมในการหารือด้วย
เพื่อไม่ให้การปฏิรูปการเมืองถูกจำกัดให้เป็นเรื่องของพรรคการเมือง 4
พรรคเท่านั้น

2. พรรคไทยรักไทยยืนยันว่าได้สนับสนุนการปฏิรูปการเมืองโดยตลอด
ทั้งได้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มาจากการปฏิรูปการเมืองโดยการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนอย่างกว้างขวาง พรรค
ได้ศึกษาถึงข้อบกพร่องและปัญหาอันเกิดจากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
และแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องทั้งในเนื้อหาสาระและขบวนการแก้ไข
รัฐธรรมนูญ ซึ่งพรรคไทยรักไทยจะนำเสนอเรื่องนี้ต่อประชาชนอย่างเป็นระบบในการเลือกตั้งครั้งหน้า

3. เรื่องขบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 313
ที่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคมหาชน และพรรคชาติไทย
เสนอให้มีบุคคลหรือคณะบุคคลที่เป็นกลาง
เป็นผู้ดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น พรรคไทยรักไทยเห็นด้วยในหลักการ
แต่ข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคมหาชน
กับพรรคชาติไทยยังแตกต่างในรายละเอียด ในส่วนของพรรคไทยรักไทยนั้น
เห็นด้วยกับการให้มีคณะบุคคลจำนวนหนึ่ง
ประกอบกันขึ้นเป็นคณะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อาจเป็นสภาร่างรัฐ
ธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เหมือนปี 2539
หรือจะมาจากการเลือกกันเองของบุคคลที่เสนอชื่อมาจากหลากหลายอาชีพทั่วประเทศ
และมีจำนวนมากกว่าที่ต้องการหลายเท่าก็ได้
แนวทางนี้ผู้ที่เคยเห็นระบบสมัชชาแห่งชาติและสภาสนามม้ามาแล้วอาจพอจำได้
แต่ต้องดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัย และแก้ไขข้อบกพร่องบางส่วนเสียใหม่
แต่เมื่อยกร่างเสร็จแล้วควรมีการเชื่อมโยงกับประชาชนด้วยการขอประชามติ
โดยเฉพาะประเด็นที่มีความขัดแย้งไม่มีข้อยุติ

4. พรรคไทยรักไทยขอเรียกร้องให้ทุกพรรคการเมือง
นำเสนอจุดยืนและแนวทางของตนในการปฏิรูปการเมือง
ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
หรือข้อเสนออื่นใดต่อประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างเป็นระบบและเป็น
รูปธรรม เพื่อให้เป็นสัญญาประชาคมว่าหากได้รับการเลือกตั้งแล้ว
จะปฏิบัติตามสัญญาประชาคมดังกล่าว
และในระหว่างนี้ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในครรลองของระบอบประชาธิปไตย
เพื่อความสงบของบ้านเมือง

พรรคฝ่ายค้านอันประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย
และพรรคมหาชน เมื่อถูกปฏิเสธการลงนามในสัตยาบัน
จึงประกาศคว่ำบาตรและถอนตัวออกจากการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
และเป็นจุดเริ่มต้นความล่มสลายของพรรคไทยรักไทย
และพรรคพลังประชาชนในเวลาต่อมา

4 ปีที่แล้วนักการเมืองไม่ว่าฝ่ายค้านหรือรัฐบาล
ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าต้องมีการปฏิรูปการเมือง
และต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 40 และต้องมี คนกลาง
เข้ามาเป็นผู้ปฏิรูปการเมือง

มาวันนี้นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่เคยเป็นฝ่ายค้าน
ต่างเห็นพ้องต้องกันที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผล
ประโยชน์ของนักการเมือง ซึ่งเสนอโดยนักการเมืองด้วยกันเอง
โดยไม่สนใจการปฏิรูปการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของชาติ

ส่วนฝ่ายค้านที่เคยเป็นรัฐบาลมาวันนี้ก็ยังดันทุรังที่จะเอารัฐธรรมนูญ
2540 ต่อไปทั้งที่รู้ว่ามีปัญหา
โดยไม่เคยสนใจสัญญาประชาคมและสัตยาบันที่เคยให้ไว้ว่าจะปฏิรูปการเมือง

สะท้อนให้เห็นว่าความขัดแย้งในทางการเมืองจะยังคงดำเนินต่อไป
ประเทศไทยจะยังคงหาความสงบสุขไม่ได้
เพราะนักการเมืองไทยส่วนใหญ่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
สนใจแต่ที่จะอยู่ในอำนาจทางการเมืองโดยไม่สนใจเรื่องจริยธรรมและไม่แยแสความ
รู้สึกของประชาชนแม้แต่น้อย

นักการเมืองไทยทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านเกือบทั้งหมดมันน้ำเน่าสนิท
จนประชาชนคงไปหวังพึ่งพาคนจำพวกนี้ไม่ได้จริงๆ!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น