...+

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ทำความรู้จัก "พญาคชราช" ไม้พันธุ์ศก.จากคณะวนศาสตร์ มก.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 ตุลาคม 2552 15:31 น.
พันธุ์ไม้ศก. "พญาคชราช" หรือ ต้นปอหู
คณะวนศาสตร์ มก. ศึกษาพันธุ์ไม้ศก. "พญาคชราช" หรือ ต้นปอหู
ในเชิงฟิสิกส์ พบคุณสมบัติคล้าย "ยางพารา" เหมาะสำหรับงานเลื่อย ไส กลึง
และขัดเงา ด้านผู้เชี่ยวชาญแนะ เกษตรกรควรศึกษาก่อนลงทุน
หากสนใจจริงควรเน้นด้านบรรจุภัณฑ์ ดีกว่าทำเป็นเฟอร์นิเจอร์

รศ.ทรงกลด จารุสมบัติ หัวหน้าภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์
รศ.ทรงกลด จารุสมบัติ หัวหน้าภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์
กล่าวว่า ต้นพญาคชราช ที่เป็นที่สนใจอยู่ในปัจจุบัน
ทางภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์
ได้ส่งตัวอย่างทางพฤกษศาสตร์ให้หอพรรณไม้ กรมป่าไม้
ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นไม้ปอหู มีชื่อพื้นเมืองคือ ปอหู (สระบุรี,
นครราชสีมา), ปอจง (ปัตตานี, มาเลเซีย) มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Talipariti
macrophyllum (Roxb. Ex Hornem.) Fryxell อยู่ในวงศ์ Malvaceae

"จาก การนำลำต้นไม้ปอหู อายุ 25 ปีมาวิเคราะห์คุณสมบัติของไม้
คุณสมบัติของไม้ปอหู เนื้อไม้จัดอยู่ในชั้นไม้คุณภาพ ปานกลางหรือเกรด B
ความหนาแน่นปานกลางคือประมาณ 630 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
มีความทนทานตามธรรมชาติเฉลี่ยน้อยกว่า2 ปี
ซึ่งจัดอยู่ในไม้ที่มีความทนทานต่ำ ถูกเชื้อราและปลวกเข้าทำลายได้ง่าย
แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการป้องกันรักษาเนื้อไม้ ด้านคุณสมบัติการใช้งาน
การเลื่อย การไส การกลึง และการขัดเงา ทำได้ง่าย
เมื่อเทียบกับไม้ยางพาราที่อายุ 25 ปี จะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน
แต่ในปัจจุบันเพิ่งเริ่มมีการปลูกแบบลักษณะสวนป่าทำให้ด้านการตลาดไม้ยังไม่
ชัดเจน"

ผศ.ดร.ดำรง พิพัฒนวัฒนากุล อาจารย์ประจำภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์
ด้าน ผศ.ดร.ดำรง พิพัฒนวัฒนากุล อาจารย์ประจำภาควิชาวนวัฒนวิทยา
คณะวนศาสตร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า
ในกระบวนการทดแทนทางธรรมชาติของพื้นที่หนึ่ง ๆ
หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว พื้นที่นั้นก็จะมีพืชต่าง ๆ
ตั้งแต่มอสไลเคนเรื่อยมาเป็นหญ้าคาและเรื่อยมาจนถึงระดับที่มีไม้ยืนต้นหลาก
หลายชนิดอย่างที่เห็นเป็นป่าธรรมชาติในปัจจุบัน

"การ ทดแทนของพืชพรรณในระบบนิเวศนั้น ต้นปอหู หรือพญาคชราช
จัดเป็นไม้เบิกนำที่เข้ามาเป็นกลุ่มแรก ๆ ของไม้ยืนต้น
หากพิจารณาลักษณะทางพฤษศาสตร์ของไม้ปอหู จะเป็นไม้ที่มีเมล็ดเล็ก
เบาปลิวลอยลมได้ เมล็ดมีความสามารถในการงอกดี ใบใหญ่ต้องการแสงมาก
สังเคราะห์แสงได้ปริมาณมาก ส่งผลให้การเจริญเติบโตเร็ว"

สำหรับการปลูกป่า เพื่อเศรษฐกิจ อาจารย์ประจำคณะวนศาสตร์ มก.
แนะนำว่า ควรพิจารณาความคุ้มทุนในการปลูกเชิงเดี่ยว
โดยคิดประมาณการการลงทุนปลูกในพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ปานกลาง
ด้วยระยะปลูก 3x3 เมตร ต่อไร่ต้องใช้กล้าไม้ 179 ต้น ราคากล้าไม้ต้นละ 39
บาท ประมาณการรายจ่ายในกิจกรรมเตรียมพื้นที่ ขุดหลุมปลูก ปลูกซ่อม
การดูแลรักษาใส่ปุ๋ยกำจัดวัชพืช

" ตั้งแต่ปีแรกไปจนถึงปีที่ 25 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 7.5%
คิดเป็นเงินลงทุนเพื่อการปลูกประมาณ 20,000 บาท
เมื่อไม้ครบรอบตัดฟันปีที่ 25 ประมาณการให้มีต้นไม้เหลืออยู่ในแปลง 89
ต้น (50%ของไม้ที่เริ่มปลูก) แต่ละต้นจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก 30
ซม. ขายได้ราคาต้นละ 1,200 บาท คิดเป็นรายรับทั้งสิ้น 107,400 บาท
ประมาณการรายจ่ายเป็นค่าดำเนินการธุรกิจปลูกป่า (20% ของค่าปลูก)
คิดเป็นเงิน 4,018 บาท ค่าดำเนินการตัดไม้และค่าขนส่งผลผลิตสู่โรงงาน
10,000 บาท โดยรวมแล้วคิดเป็นกำไรต่อไร่เป็นเงิน 73,291 บาทในเวลา 25 ปี
เฉลี่ยปีละ 2,931 บาท คิดว่าเป็นการลงทุนระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนไม่คุ้มทุน
เพราะระหว่างเวลาปีที่ 1-25 ไม่สามารถได้รายรับกลับคืนมา
หากเปรียบเทียบกับยางพารายังสามารถได้รายรับจากการขายน้ำยาง

ส่วนการปลูกป่า เพื่ออนุรักษ์
ในหลักวิชาการแล้วควรจะปลูกไม้หลากหลายชนิดคละกันไป
โดยเลือกไม้ท้องถิ่นของประเภทป่านั้นๆ
ซึ่งจะเลือกชนิดไม้ปลูกเลียนแบบไม้ในการทดแทนทางธรรมชาติ
หรือจะเลือกเจาะปลูกไม้ชนิดนั้นๆ ให้เหมาะสมกับระบบนิเวศท้องถิ่น
เพื่อสร้างความหลากหลายของชนิดไม้และส่งผลถึงการเป็นอยู่ของสัตว์ในระบบ
นิเวศ

" การปลูกปอหู
ที่เป็นไม้เบิกนำก็ไม่มีปัญหาอะไรเพราะเป็นไม้เบิกนำ ใบใหญ่
สามารถเป็นไม้ พี่เลี้ยงที่ให้ร่มเงากับลูกไม้ชนิดที่ไม่ต้องการแสงมาก
แต่การลงทุนด้วยราคากล้าไม้กล้าละ 39 บาท เป็นราคากล้าไม้ที่แพงเกินจริง
หากเปรียบเทียบกับกล้าไม้ที่ขายกันอยู่ในท้องตลาด ราคาจะอยู่ที่ 3-5 บาท
สำหรับไม้ยูคาลิปตัส 10-15 บาท สำหรับยางพารา และ 5-10 บาท สำหรับไม้สัก"

ทั้งนี้ อาจารย์ประจำคณะวนศาสตร์ มก. กล่าวสรุปได้ว่า การ ปลูก
"พญาคชราช" หรือไม้ปอหู หากพิจารณาความคุ้มทุนแล้ว
ไม่คุ้มทุนในการปลูกป่าเชิงเศรษฐกิจเนื่องจากราคากล้าไม้ที่มีราคาแพง
และยังมีความเสี่ยง
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000120853

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น