...+

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

ถึงเวลาเปลี่ยนแปลงแล้วหรือยัง การเมืองการปกครองแบบยั่งยืนพอเพียง

ผู้เขียน: ว่าที่ พ.ท.สมเกียรติ ชูเชิด

วันนี้ ผมมีข้อเสนอแนวความคิดการเมืองการปกครองเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ
ที่เกิดขึ้นบนโลกเราในปัจจุบันและที่จะเกิดในอนาคตซึ่งผมจะให้ชื่อว่า "
การเมืองการปกครองแบบยั่งยืนพอเพียง "
หรือจะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่ท่านทั้งหลายจะตั้งชื่อแต่ขอให้เป็นเป้าหมาย
เดียวกันก็พอคือคิดดีทำดี เป้าหมาย/วัตถุประสงค์/ความต้องการในครั้งนี้


เพื่อให้ผู้คนมีความรักในความสุจริตยุติธรรมและมีความรับผิดชอบ
คิดและทำให้สิ่งที่เป็นประโยชน์
จะได้มีชีวิตอยู่กินกันอย่างมีความสุขสงบสามัคคี
และมีความเท่าเทียมกันทุกคน แต่จะมีความแตกต่างกันที่หน้าที่เท่านั้น
ปฐมเหตุแห่งปัญหา มนุษย์ต้องการความอิสสระเสรีในการดำรงชีวิตทุกคน
ฉะนั้นถ้าจะมีชีวิตที่มีอิสสระเสรีได้ต้องมีอำนาจที่เหนือผู้อื่นและจะทำให้
ได้รับผลประโยชน์ตามที่ต้องการได้
ซึ่งอิสสระเสรีก็คือผลประโยชน์อย่างหนึ่งเช่นกัน
ฉะนั้นมนุษย์จึงดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจและผลประโยชน์โดยไม่นึกถึง
คุณธรรมจึงทำให้เกิดปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ มากมาย

ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
จากปฐมเหตุแห่งปัญหาทำให้เกิดปัญหามามายในปัจจุบันในเรื่องของการดำรงชีวิต
ของมนุษย์และในเรื่องของการเมืองการปกครอง
เพราะผู้นำและประชาชนมุ่งที่จะกระทำการทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่ง
อำนาจและผลประโยชน์จึงทำให้มนุษย์ขาดความสุจริต
ขาดความยุติธรรมและขาดความรับผิดชอบ สิ่งที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน
การแบ่งอำนาจในประเทศในปัจจุบันไม่สมดุลคือทุกคนไม่มีอำนาจในตัวเอง
จะมีอำนาจเฉพาะคนบางพวกบางกลุ่มเท่านั้น
ซึ่งทำให้การใช้อำนาจเป็นไปในลักษณะใช้อำนาจฝ่ายเดียว
ซึ่งลักษณะของอำนาจในปัจจุบันจะแบ่งเป็นได้ ๓ ฝ่ายคืออำนาจบริหาร
อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจตุลาการ แต่แท้ที่จริงแล้วอำนาจต่างๆ ควรจะมี
๕ ฝ่ายจะได้เกิดการสมดุลในอำนาจ เพราะปัจจุบันนี้อำนาจทั้ง ๓
ฝ่ายคือฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการ
มีอำนาจมากและอยู่สูงจนไม่มีใครเอาผิดได้และเมื่อมีความผิดก็จะหาทางแก้ไข
กันจนตัวเองไม่ต้องรับผิดชอบ
ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเป็นอย่างยิ่งและเป็นปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นต่างๆ
มากมายในปัจจุบัน ฉะนั้นการเมืองการปกครองควรจะแบ่งอำนาจออกเป็น ๕
ฝ่ายเพื่อความสมดุลของอำนาจจะได้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้

๑. ฝ่ายบริหาร คือฝ่ายการเมืองมีหน้าที่ในการบริหารบ้านเมืองให้เกิดความมั่นคงทำให้
ประชาชนกินดี อยู่ดี มีสุข
๒. ฝ่ายนิติบัญญัติ
คือฝ่ายกำหนดกติกาของสังคมมีหน้าที่ตรากฎหมายและพิจารณากฎหมายที่ฝ่ายอื่นๆ
เสนอมา เพื่อให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
๓. ฝ่ายตุลาการ คือฝ่ายกรรมการมีหน้าที่ตัดสินความผิด-ถูกตามการประพฤติปฏิบัติของผู้คนใน
สังคมตามกติกาที่ฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้น
๔. ฝ่ายปกครอง คือพนักงาน ข้าราชการ ตำรวจ และทหาร
มีหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตความรับผิดชอบ
ตามกฎหมาย ตามแผนหรือวิธีการปฏิบัติ
๕. ฝ่ายตรวจสอบคือประชาชน หรือองค์กรตรวจสอบ
มีสิทธิและอำนาจในการตรวจสอบ ทุกคน ทุกฝ่าย วิธีการแก้ปัญหา
จากปฐมเหตุของปัญหา ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สิ่งที่เป็นปัญหา
สามารถที่จะแก้ไขได้ด้วยวิธีการทำให้มนุษย์ต้องทำในสิ่งที่เป็นความสุจริต
ยุติธรรมและมีความรับผิดชอบ ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
คือการทำให้ทุกคนมีอำนาจในตัวเองตามหน้าที่และสิทธิของแต่ละคนตามอำนาจต่างๆ
ทั้ง ๕ ฝ่าย ต้นแบบทางความคิด สิ่งที่ศาสนาต่างๆ
บัญญัติไว้ไม่ว่าศาสนาใดสามารถสรุปรวมหัวใจของศาสนาคือความดีกับความไม่ดี
ซึ่งความดีคือความเมตตากรุณา
ส่วนความไม่ดีคือการเบียดเบียนซึ่งกันและกันนั่นเอง
แต่สิ่งที่บัญญัติไว้ในศาสนาต่างๆ
ไม่สามารถบังคับให้มนุษย์ต้องปฏิบัติตามได้เพราะเป็นเสมือนการปลูกฝังความ
เชื่อเท่านั้นไม่สามารถบังคับใช้ให้เป็นรูปธรรมได้ในยุคปัจจุบัน
ฉะนั้นสิ่งที่จะทำให้ความดีความไม่ดีเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมคือทำให้คนที่ทำ
ความดีและทำความไม่ดีได้รับผลการกระทำของตนเองในชาตินี้ได้
นั่นคือการทำให้คนทุกคนมีอำนาจในการตรวจสอบ
เพราะการตรวจสอบนี้เองจะเป็นเครื่องมือในการกำหนดกรรมดีกรรมไม่ดีของผู้คน
และเห็นผลในชาตินี้จากผลการตัดสินของฝ่ายตุลาการนั่นเอง

วิธีการที่จะตรวจสอบ
๑. ผู้ที่จะใช้อำนาจในการตรวจสอบจะต้องขออนุญาตเป็นเรื่องๆ ไป
๒. เมื่อได้รับอนุญาตแล้วบุคคลผู้นั้นย่อมมีอำนาจเสมือนพนักงานสอบสวนทุกประการ
๓. เมื่อดำเนินการรวบรวมหลักฐานแล้วสามารถยื่นฟ้องต่อศาลได้โดยตรง
๔. เมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วผู้ที่ดำเนินการนี้ควรได้รับส่วนแบ่งจากผล
ประโยชน์ที่ทางราชการหรือส่วนรวมได้รับด้วยเพื่อเป็นการตอบแทนในความเสียสละ
และกล้าหาญ
๕. ระบบนี้จะไม่มีใครหรือหน่วยงานใดได้รับการยกเว้นไม่ให้ถูกตรวจสอบได้ทั้งภาค
รัฐและเอกชน ทำไมจึงกล่าวถึงฝ่ายตรวจสอบเท่านั้น
เพราะฝ่ายอื่นๆ มีผู้ปฏิบัติหน้าที่อยู่แล้วและมีอำนาจตามกฎหมาย
จึงไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
แต่ฝ่ายตรวจสอบนี้ต้องการความละเอียดรอบคอบและมีงานมาก
ซึ่งปัจจุบันมีองค์ที่ปฏิบัติหน้าที่นี้แล้วแต่ยังไม่ครอบคลุมไม่สามารถตรวจ
สอบได้ทุกจุดจริงๆ
อีกทั้งประชาชนส่วนที่เหลือที่ยังไม่มีหน้าที่รับผิดชอบควรจะต้องอยู่ในฝ่าย
ตรวจสอบ เพราะถือว่าประชาชนเป็นเจ้าของประเทศเปรียบเสมือนเจ้าของกิจการย่อมมีสิทธิ์
ตรวจสอบลูกจ้างและผู้ร่วมหุ้นได้ตลอดเวลาใช่หรือไม่
สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังมีการใช้ระบบการตรวจสอบ ๑.
อาจจะเกิดความวุ่นวายกันมากเพราะคงมีการตรวจสอบกันอย่างกว้างขวาง
เนื่องจากการกระทำต่างๆ
ที่ผ่านมีสิ่งที่ไม่ดีมากซึ่งในมุมมองของผมถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ๒.
งานต่างๆ อาจจะล่าช้าไปบ้างเนื่องจากมีการตรวจสอบที่เพิ่มเข้ามา
ซึ่งจะเป็นไปในช่วงแรกๆ เท่านั้น ๓. ลักษณะของเกียร์ว่างจะเพิ่มขึ้น
แต่จะลดลงอย่างรวดเร็วจากระบบตรวจสอบ
เพราะว่าผู้ที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่จะไม่สมารถอยู่ในระบบได้ ๔.
ผู้มีหน้าที่ไม่กล้าคิดตัดสินใจในการปฏิบัติหน้าที่เพราะเกรงว่าจะมีความ
ผิด ซึ่งในเรื่องนี้ไม่ต้องกังวลใดๆ
ทั้งสิ้นเพราะถ้าปฏิบัติตามแผนหรือระเบียบตามที่ขออนุมัติไว้แล้วและเป็นการ
กระทำที่สุจริตยุติธรรมโปร่งใส
๕. จะมีการแก้กฎหมายหรือระเบียบต่างๆ มากมาย
เพื่อปันความรับผิดชอบซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี
เพราะนี่คือการการกระจายอำนาจที่ถูกต้อง
๖. ฝ่ายตุลาการและฝ่ายนิติบัญญัติจะมีงานเพิ่มขึ้นเพราะจะมีการฟ้องร้องกันมาก
และต้องตรวจร่างกฎหมายกันมากขึ้น
ตรงนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีเพราะทุกยุคทุกสมัยมีแนวความคิดที่จะปรับปรุง
กฎหมายให้ทันสมัยอยู่แล้ว
หากบุคลากรในด้านนี้ขาดแคลนก็ให้เพิ่มอัตราได้ตามความเหมาะสม
๗. ผู้มีหน้าที่ต่างๆ จะปัดความรับผิดชอบถ้างานนั้นไม่ได้ระบุอย่างชัดเจน
ตรงนี้จะเป็นส่วนที่ดีมากจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องงานทับซ้อนอีกต่อไป
๘. การเงินการคลังจะสะดุดในระยะเริ่มแรก
เพราะยังมีความสับสนกับการเปลี่ยนแปลง
แต่เมื่อดำเนินการไประยะหนึ่งแล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะมีแต่ดี ข้อดี
สำหรับข้อดีคงไม่ต้องพูดถึงเพราะว่าถ้าไม่มีการฉ้อฉลแล้วทุกอย่างจะมีแต่ดี
เพราะฉะนั้นท่านอยากให้อะไรมันดีก็สามารถจินตนาการได้เลยแบบไม่รู้จบ
เพราะทุกคนมีสิทธิ์ที่จะคิดและทำได้ทัดเทียมกันและทุกคนมีสิทธิ์ที่จะสร้าง
บุญบารมีได้คือสามารถทำความดีเพื่อประเทศชาติและส่วนรวมกันได้ทุกคน
หมายเหตุ สิ่งที่ผมคิดและเสนอมานี้จะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับประชาชน
ว่าจะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่จะแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่และเป็นผลดีกับ
ทุกคนและส่วนรวมจริงหรือไม่
ซึ่งแนวความคิดนี้เป็นการมองที่ปัญหาและการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน
โดยเห็นว่าคนทุกคนไม่มีใครอยากทำในสิ่งที่ไม่ดีและยังเป็นการสนับสนุนคนดี
ให้เป็นผู้นำอีกด้วย
ส่วนจะทำให้สำเร็จได้อย่างไรนั้นขอให้ร่วมกันแสดงความต้องการและแสดงพลัง
ด้วยการยกกำปั้นขึ้นมาเมื่อเจอหน้ากัน เพราะกำปั้นคือพลังแห่งความสำเร็จ

ด้วยความปารถนาดี
ว่าที่ พ.ท.สมเกียรติ ชูเชิด ลูกหลานชาวไร่ชาวนา
๑๓ กันยายน ๒๕๕๒
SSSK467@Gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น