18.30-20.30 น.วันศุกร์ที่ 25 กันยายน มี น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก
นายชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย และนายประพันธ์ คูณมี เป็นผู้ดำเนินรายการ
โดยวันนี้มีการเชิญ นายโสภณ องค์การ
อดีตบรรณาธิการข่าวเศรษฐกิจของหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
และหนึ่งในพิธีกรรายการ NEWS HOUR สุดสัปดาห์ ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี
และนายสำราญ รอดเพชร แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่น 2
มาร่วมพูดคุยถึงกรณี บทบาทการทำหน้าที่ของอัยการ
ซึ่งถือเป็นทนายของแผ่นดิน แต่กลับเดินทางไปเบิกความเป็นพยานให้ฝ่ายจำเลย
จนสามารถหลุดพ้นจากคดีกล้ายางได้ รวมไปถึงจับตาคำพิพากษาคดีหวยบนดิน 2
ตัว 3 ตัว สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ ยังมีกรณี เว็บไซต์มติชนออนไลน์ นำเสนอผลงานวิจัยของ
นายวิทอง ตัณฑกุลนินาท นักศึกษา วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ปรอ.) รุ่น
21 ในข้อหัว ชำแหละ อิทธิพลของสื่อสาธารณะดิจิตอล ASTV
ต่อพฤติกรรมการบริโภคข่าวของคนกรุงเทพฯ โดยสรุปผลงานวิจัยว่า สื่อ ASTV
ทำให้สังคมเกิดความแตกแยก
โดยเริ่มรายการ น.ส.อัญชะลี
กล่าวเปิดประเด็นถึงกรณีบทบาทการทำหน้าที่ของอัยการ
ซึ่งสืบเนื่องมาจากผลจากการพิพากษาคดีกล้ายาง และต่อเนื่องถึงคดีหวยบนดิน
2 ตัวและ 3 ตัว ซึ่งในส่วนคดีกล้ายาง นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด
(อสส.) และนายวัยวุฒิ หล่อตระกูล รองอัยการสูงสุด
เดินทางไปเป็นพยานให้ฝ่ายจำเลย จนทำให้สามารถหลุดพ้นจากความผิดมาได้
และทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมว่าแท้จริงแล้วด้วยหน้าที่
ทนายแผ่นดิน สามารถกระทำได้หรือไม่ โดยกรณีนี้ นายประพันธ์ กล่าวว่า
นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด (อสส.) และนายวัยวุฒิ หล่อตระกูล
รองอัยการสูงสุด เดินทางไปเป็นพยานให้แก่จำเลยคดีกล้ายาง
ถือว่าเมื่อศาลตัดสินไปแล้ว ทุกฝ่ายต้องยอมรับคำตัดสิน
แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้น คือ คดีหวยบนดิน 2 ตัว และ3 ตัว
ซึ่งมีกระแสข่าวว่า ทั้งนายชัยเกษมและนายวัยวุฒิ
จะเดินทางไปเบิกความเป็นพยานให้จำเลยอีกคดี
ทำให้กระบวนการยุติธรรมและสังคมมองว่าการที่อัยการทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่
สมควร เพราะทั้ง 2
คนเป็นผู้ที่รู้เห็นสำนวนคดีดังกล่าวทั้งหมดที่ทางคณะกรรมการตรวจสอบการ
กระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)
ส่งมาให้อัยการพิจารณาและส่งฟ้องต่อศาล โดยเฉพาะ นายวัยวุฒิ
มีหน้าที่ในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบคดีดังกล่าว ฉะนั้น
ไม่ต้องถามก็รู้อยู่แล้วว่าไม่เหมาะสมที่จะเดินทางไปเบิกความ
นายประพันธ์กล่าวต่ว่า คดีกล้ายาง ทางอัยการพยายามเตะถ่วง
ไม่ยอมส่งสำนวนฟ้องต่อศาล ทาง คตส. จึงต้องตั้งทีมมาดำเนินการฟ้องเอง
โดยหลังจากที่ศาลอาญา แผนกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
อ่านคำพิพากษาคดีกล้ายาง และจำเลยคดีดังกล่าวหลุดพ้นจากความผิด
แทนที่อัยการจะสำนึกที่ได้ส่งเรื่องดังกล่าวของ คตส.
เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล กลับออกมาแถลงข่าวถากถางว่าการทำงานของ
คตส. ไม่มีประสิทธิภาพ ดื้อดึงที่ฟ้องศาล
แม้จะไปท้วงติงไปแล้วว่าให้ไปหาหลักฐานพยานเพิ่มเติม การกระทำดังกล่าว
ตนถือว่าไม่สมควรทำ
มันผิดวิสัยผู้ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง
แต่สิ่งที่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงมากที่สุด คือ คำถามที่ว่า
ทั้งนายชัยเกษมและนายวัยวุฒิ
จะเดินทางไปเบิกความต่อศาลอีกครั้งในคดีหวยบนดิน 2 ตัวและ 3 ตัว
เรื่องดังกล่าวสามารถดำเนินการได้หรือไม่
ซึ่งตนอยากเรียกร้องให้ทั้งคู่ออกมาชี้แจงเหตุผลให้ชัดเจนว่า
เรื่องที่ทำไปแล้วและเรื่องที่จะกระทำถือว่าเหมาะสมหรือไม่
เพราะด้วยหน้าที่อัยการต้องเป็นทนายของแผ่นดิน
ต้องฟ้องในฐานะเป็นทนายโจทย์ฝ่ายรัฐ
ฟ้องร้องจำเลยที่ทำให้ผลประโยชน์รัฐเสียหาย ฉะนั้น ไม่มีหน้าที่ใดๆ
ต้องไปเป็นที่ปรึกษาหรือไปเป็นพยานในคดีใดๆทั้งสิ้น
นายประพันธ์กล่าวอีกว่า
เดิมทีกระบวนการยุติธรรมไม่เคยมีปัญหาเรื่องดังกล่าว โดยอัยการและ คตส.
ทำงานคู่ขนานกันได้ตามปกติ แต่ความขัดแย้งมาเกิดสมัยที่ นายชัยเกษม
นิติสิริ ขึ้น เป็นอัยการสูงสุด และทาง คตส.
ไปตรวจสอบคดีทุจริตโครงการปรับปรุงระบบสายพานลำเลียงกระเป๋าและเครื่องตรวจ
สอบวัตถุระเบิด หรือซีทีเอ็กซ์-9000 ซึ่งนายชัยเกษม
เป็นหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาว่ามีความผิด ในฐานะที่ดำรงตำแหน่ง อดีตบอร์ด
ทอท. จึงทำให้ต่อจากนั้น การทำงานของทั้ง 2 องค์กรไม่ค่อยราบรื่น
ทางอัยการมีการตั้งแง่ด้านการทำงานกับทาง คตส.
โจมตีว่าทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
"คดีกล้ายาง ถือว่าน่ารังเกียจมากกับพฤติกรรมของอัยการ
เพราะก่อนหน้านี้ได้ท้วงติงให้ คตส.ไปหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม แต่จริงๆ
แค่ต้องการประวิงเวลาเพื่อล้วงข้อมูลในเชิงลับ และไปบอกต่อจำเลย
โดยเรื่องดังกล่าวมาแดงขึ้น
เมื่อสิ่งที่จำเลยพูดกับศาลเหมือนข้อแย้งของอัยการ ที่ใช้โจมตี คตส.
เปรียบเสมือนอัยการปลอ่ยความลับในสำนวนให้รั่วไหล
แล้วนำจุดอ่อนสำนวนไปบอกจำเลย
ซึ่งตามมารยาทของการทำงานในระบบกระบวนการยุติธรรม
ถือเป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำเด็ดขาด" นายประพันธ์กล่าว
นายประพันธ์กล่าวต่อว่า
ตนคิดว่าอีกไม่นานจะต้องมีผู้ยื่นถอดถอนทั้งนายชัยเกษมและนายวัยวุฒิ
เนื่องจากกระทำความผิดชนิดที่ในกระบวนการยุติธรรมไม่เคยปรากฏมาก่อนด้วยการ
เดินทางไปเป็นพยานให้ฝ่ายจำเลย นอกจากนี้ ข้อมูลเชิงลึกยังพบว่า
นายวัยวุฒิ ที่อ้างว่าเหตุต้องเดินทางไปเบิกความเป็นพยานให้แก่จำเลยในคดีกล้ายาง
เนื่องมาจาก ศาลออกหมายเรียก ซึ่งเรื่องนี้ในความเป็นจริง
หากศาลออกหมายเรียก นายวัยวุฒิ สามารถปฏิเสธ
และส่งคำชี้แจงไปว่าหากไปเบิกความ
ในฐานะที่เป็นอัยการของแผ่นดินถือว่าไม่เหมาะสม
เพราะได้ล่วงรู้ความลับสำนวนต่างๆของคดีหมดแล้ว
จึงอาจเป็นการเปิดเผยเรื่องราวที่ไม่เหมาะ แต่ทางด้านนายวัยวุฒิ
กลับไม่ยอมทำคำชี้แจง ซ้ำยังเดินทางไปเบิกความต่อศาลช่วยจำเลยจนสำเร็จ
โดยตนเพิ่งทราบข้อมูลมาว่า นายวัยวุฒิ
ที่ตอนนี้ดำรงตำแหน่งเป็นรองอัยการสูงสุด
ปูมหลังเคยเป็นลูกน้องหน้าห้องของ นายพิมล รัฐปัตย์
อดีตรองอัยการสูงสุดคนก่อน
ซึ่งหลังจากเกษียณได้ไปนั่งเป็นที่ปรึกษาให้แก่ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น
จำกัด (มหาชน) หรือชินคอร์ป ซึ่งลักษณะเช่นนี้
ถือว่าเข้าข่ายความสัมพันธ์ที่น่าสงสัย ประกอบกับสมัยที่ นายพิมล
ดำรงตำแหน่งเป็นรองอัยการสูงสุด ก็ได้รับการโปรโมต
ให้นั่งเป็นบอร์ดการท่าอากาศยานฯ และบอร์ดสำคัญหลายแห่ง ในช่วงรัฐบาล
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
"ผมไม่ทราบว่าโดยส่วนตัวแล้วนายชัยเกษมกับนายพิมล มีสัมพันธ์ใดๆ
ต่อกันหรือไม่ แต่สิ่งที่มีการแอบไปเจรจาและตกลงผลประโยชน์กัน
ในวงการอัยการและนักกฏหมาย เขาไม่ให้การยอมรับ ดังนั้น
ทั้งนายชัยเกษมและนายวัยวุฒิ ต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ว่า
การที่เดินทางไปเบิกความช่วยจำเลยคดีกล้ายาง ทำไปเพราะศาลออกหมายเรียกมา
หรือมีวาระซ่อนเร้นอันใดแอบแฝง หรือที่แท้ ที่ออกมาโจมตีการทำงานของ คตส.
ก็เพราะกลัวจะถูกดำเนินคดี จึงต้องดิสเครดิต โดยต่อไปนี้
ขอให้จับตามองเรื่องคำพิพากษาคดีหวยบนดิน 2 ตัวและ 3 ตัว
ว่าบทสรุปจะออกมาเป็นเช่นไร
ศาลจะวินิจฉัยโดยเอาคำเบิกความของนายชัยเกษมมาใช้พิจารณาหรือไม่
เรื่องนี้ต้องพิสูจน์กัน" นายประพันธ์กล่าว
น.ส.อัญชะลี กล่าวว่า พยานฝ่ายจำเลยคดีหวยบนดิน 2 ตัวและ 3 ตัว
มีทั้หมด 44 คน โดยเป็นที่แน่ชัดว่า นายชัยเกษมและวัยวุฒิ
จะเดินทางไปเบิกความให้แก่ฝ่ายจำเลยอีกคดีหนึ่ง นายโสภณ กล่าวกรณีนี้ ว่า
ตนขอถามว่าอัยการทั้งคู่กินเงินเดือนที่ได้จากภาษีประชาชนหรือกินเงินเดือน
จากฝ่ายจำเลย เพราะแท้จริงแล้วอัยการมีหน้าที่ดูแลรักษาผลประโยชน์ของรัฐ
แต่สิ่งที่ 2 คนนี้กระทำ ไม่ได้ทำเช่นนั้น
โดยจะมาอ้างว่าที่ต้องเดินทางไปเบิกความคดีกล้ายาง เพราะศาลมีหมายเรียกมา
ซึ่งในความจริงแล้ว ถ้าลองคิดดูให้ดี
หากฝ่ายจำเลยไม่ได้ติดต่อหรือพูดคุยกับอัยการทั้งคู่ไว้ล่วงหน้า
จำเลยที่ไหนจะกล้าให้อัยการมาเบิกความให้
ถ้าไม่มั่นใจว่าอัยการจะให้การที่เป็นคุณต่อรูปคดี ดังนั้น
การกระทำดังกล่าว ชี้ชัดว่าทำตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐ
เนื่องจากเจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถให้การช่วยเหลือจำเลยได้
เพราะคำพูดของอัยการมีน้ำหนักสูง นำพาไปสู่รูปคดีที่พลิกผันได้
"ในประเทศที่เจริญแล้ว หากเกิดกรณีแบบ นายชัยเกษม ต้องลาออกทันที
แต่ประเทศไทยมักมีปัญหาเรื่องจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่ ดังนั้น
จึงยังคงทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อน รั้งอยู่ในตำแหน่งต่อไป
โดยหากจะพูดถึงข้อดี เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
ก็ช่วยเตือนสติอัยการหรือเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมคนอื่น
ควรคิดให้รอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไร" นายโสภณ กล่าว
ต่อมา น.ส.อัญชะลี กล่าวถึงกรณี เว็บไซต์มติชนออนไลน์
นำเสนอผลงานวิจัยของ นายวิทอง ตัณฑกุลนินาท นักศึกษา
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ปรอ.) รุ่น 21 ในข้อหัว ชำแหละ
อิทธิพลของสื่อสาธารณะดิจิตอล ASTV
ต่อพฤติกรรมการบริโภคข่าวของคนกรุงเทพฯ โดยผลการวิจัยสรุปว่า สื่อ ASTV
ทำให้สังคมเกิดความแตกแยก นายโสภณ กล่าวกรณีนี้ ว่า
ไม่ว่างานวิจัยชิ้นนี้ บทสรุปจะออกมาเป็นอย่างไร แต่สื่อ ASTV
ก็คือไม่มีวันเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์
ในฐานะที่เป็นสื่อซึ่งรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักคำว่าประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น
เพื่อต่อต้านระบอบเผด็จการ โดยที่ผ่านมาสื่อ ASTV
ตีแผ่ความไม่ถูกต้องในบ้านเมือง ถือเป็นสื่อที่นำแสงสว่างให้แก่ประเทศ
ดังนั้น ไม่ว่างานวิจัย บทสรุปจะเป็นอย่างไร แต่ความจริงก็คือความจริง
ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน ว่าสื่อ ASTV สร้างความแตกแยกให้แก่สังคมหรือไม่
ซึ่งตนเห็นว่า หากพูดถึงความแตกแยก จะมาเหมารวมโทษว่าเป็นเพราะสื่อ ASTV
อย่างเดียวก็ไม่ถูกต้อง มันต้องหลายปัจจัยประกอบ
นายสำราญกล่าวเสริมว่า
กรณีนี้ตนไม่รู้ว่างานวิจัยดังกล่าวต้องการสื่ออะไรให้สังคมและประชาชนได้
รับรู้ แต่ที่น่าตำหนิคือการพาดหัวข่าวของสื่อมติชน
ที่ส่อไปในทางด้านเสียโจมตีสื่อ ASTV ด้านเดียว ทั้งที่ข้อดีของสื่อ ASTV
ในงานวิจัยชิ้นนี้ก็มีมากมาย
จึงทำให้คนอื่นสามารถเอาสารไปแปลงให้เกิดความเข้าใจผิด คล้อยตามว่าสื่อ
ASTV เป็นเช่นนั้นจริงๆ ถูกมองว่าเป็นผู้ร้าย
นายประพันธ์กล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นชัดว่า
ผู้ทำต้องการสื่อว่า ASTV มีบทบาท มีอิทธิพลทำให้ผู้คนคล้อยตามได้
และได้รับความนิยมเหนือเคเบิ้ลทีวีทั่วไป
อีกทั้งบางครั้งก็ได้รับความนิยมจากผู้ชมมากกว่าฟรีทีวีบางช่อง
ซึ่งตนอยากบอกว่า ตัวตนที่แท้จริงของสื่อ ASTV ที่แตกต่างจากสื่ออื่นๆ
คือ การนำเสนอความจริง ถ้าหากจะกล่าวหาว่าสร้างความแตกแยก
ก็เป็นความแตกแยกแบบสร้างสรรค์ แยกแยะให้ผู้ชมเห็นว่าการกระทำใดดี
การกระทำใดเลว
นายโสภณกล่าวเสริมว่า ตนว่าสื่อที่สร้างความแตกแยก คือ
สื่อที่นำเสนอความจริงแค่ครึ่งเดียวต่างหาก
เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด
นายสำราญกล่าวเสริมว่า ในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เป็นนายกรัฐมนตรี
บรรดาสื่อทั้งหลายต้องมีการเซ็นเซอร์ตนเองในการนำเสนอข่าว
ซึ่งต่างกับสื่อ ASTV ที่แสดงจุดยืนชัดเจน
ว่าต่อต้านการคอรัปชันทุกรูปแบบ
ออกมาเปิดโปงคนชั่วให้สังคมให้ได้รับทราบข้อเท็จจริง
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000112898
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น