บทบาทของสื่อมวลชนว่ามีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนสังคมในด้านต่างๆ เช่น
ให้ความรู้ ให้ข่าวสาร เตือนภัย ให้ความบันเทิง
หากจะพูดถึงทฤษฎีการสื่อสาร (Theory of communication)
จะพบว่ามีหลากหลายทฤษฎีที่มีสามารถหยิบยกมาอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทาง
สังคมในเชิงนิเทศศาสตร์ ได้เสมอ
อยู่ที่ว่าหลักการของการนำทฤษฎีเหล่านั้นมากล่าวอ้างนั้นได้มองอย่างรอบด้าน
หรือ มิคติต่อปรากฏการณ์นั้นอย่างไร
หลังจากเมื่อวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา "เว็บไซต์มติชน ออนไลน์"
ได้นำเสนอผลงานวิจัยของ นายวิทอง ตัณฑกุลนินาท นักศึกษา
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ปรอ.) รุ่น 21 ในข้อหัว "ชำแหละ
อิทธิพลของสื่อสาธารณะดิจิตอล ASTV ต่อพฤติกรรมการบริโภคข่าว
ของคนกรุงเทพฯ" ซึ่งเนื้อหาระบุว่า สื่อ ASTV มีอำนาจปลุกระดมมวลชน (Mass
Mobilization) สร้างความคิดเห็น และความเชื่อ
รวมถึงการหล่อหลอมพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นไปตาม "ทฤษฎีเข็มฉีดยา"
(Hypodermic Needle Theory) ที่มีความเชื่อว่า องค์กรหรือผู้ส่งข่าวสาร
เป็นผู้มีอำนาจ และบทบาทสำคัญที่สุด
เพราะสามารถกำหนดข่าวสารและส่งข่าวสารไปยังผู้รับ
โดยการคาดคะเนผลที่จะเกิดขึ้นได้คล้ายกับหมอที่ฉีดยารักษาผู้ป่วยข่าวสารที่
ส่งไปจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้รับได้โดยตรงอย่างกว้างขวาง
และให้ผลทันทีกับฝ่ายผู้รับข่าวสารเป็นบุคคลจำนวนมากจะมีปฏิกิริยาหรือ
พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปตามที่ผู้ส่งข่าวสารต้องการโดยจะไม่มีอำนาจควบคุมผู้
ส่งข่าวสารได้ ทฤษฎีนี้ถือว่าผู้มีอำนาจในการตัดสินใจและเข้าใจสถานการณ์
สามารถใช้สื่อมวลชนทำให้เกิดผลตามที่ตนเองต้องการได้
ซึ่งตรงข้ามกับการสื่อสารผ่านช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 9 และ TPBS
ซึ่งมีการพิจารณาและกลั่นกรองเนื้อหารายการจากทางสถานีโทรทัศน์ที่ทำการถ่าย
ทอดก่อนนำเสนอ
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาดังกล่าวที่ผู้วิจัยชี้ให้เห็นว่า
ผู้ส่งสารมีอำนาจในการปลุกระดมมวล เพื่อเป็นไปตามทฤษฎีเข็มฉีดยานั้น
ผู้วิจัยคงไม่เข้าใจว่าปัจจัย
ของทฤษฎีนี้นั้นเกิดขึ้นมาในบริบทของสังคมเผด็จการ
การคiอบงำสื่อโดยอำนาจการเมือง
โดยได้ถูกนำมาใช้สมัยฮิตเลอร์ในการใช้สื่อวิทยุในการล้างสมองประชาชนให้เห็น
คล้อยตามระบอบเผด็จการของผู้นำ
และช่องทางการสื่อสารในยุคนั้นถูกจำกัดในการใช้ไม่แพร่หลายเหมือนในปัจจุบัน
หากเทียบกับปัจจุบันที่สื่อมีหลายช่องทาง ทั้ง วิทยุ โทรทัศน์
อินเทอร์เน็ต และการเป็นเจ้าของสื่อในปัจจุบันไม่ได้อยู่เพียงภายใต้อำนาจรัฐอีกต่อไป
หรือที่เรียกว่า "ยุคสื่อสารไร้พรมแดน" และในแง่กฎหมาย
รัฐธรรมนูญก็กำหนดให้ประชาชนมีสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
รัฐจะปิดกั้นไม่ได้ ดังนั้น
ทฤษฏีนี้นำมาใช้กับปรากฏการณ์นี้ไม่ถูกต้องนัก
สำหรับ สิ่งที่สื่อในเครือ ASTV
ได้สร้างกับสังคมนั้นได้ส่งผลต่อการกระทบทางการศึกษาระบอบประชาธิปไตย
การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบอำนาจรัฐในการบริหารราชการแผ่นดิน
เปิดโปงการทุจริตของผู้มีอำนาจที่ฉ้อโกง หรือเรื่องของการส่งเสริมคุณธรรม
ไม่ได้ส่งเสริมการใช้ชีวิตแบบทุนนิยม
แบบฟุ้งเฟ้อหรือการยกย่องคนเลวให้มีอำนาจในการปกครองบ้านเมือง
อย่างไรก็ตาม
หากจะหยิบปรากฏการณ์ทางสังคมเพื่ออธิบายการศึกษาทฤษฏีทางการสื่อสารที่เหมาะ
สมกว่า ทฤษฎีเข็มฉีดยา ที่ไม่ตรงกับสภาพสังคมปัจจุบันแล้ว
ยังมีทฤษฏีที่พอจะยกมาเป็นสิ่งที่จะนำมาอธิบายปรากฏการณ์นั้น
อย่างใกล้เคียงหรือเหมาะสมกว่าได้แก่ ทฤษฏีหน้าที่นิยม (Functionalism
Theory) และทฤษฎีรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility Theory)
ที่สื่อได้ทำหน้าที่ของตนตามวิชาชีพ แม้ถูกกระทำคุกคามต่างๆ เช่น
การปาระเบิดที่ทำงาน ครั้งแล้วครั้งเล่า การลอบสังหารคุณสนธิ ลิ้มทองกุล
ที่รอดมาอย่างปาฏิหารย์ และการประสบปัญหาด้านเงินทุนในการบริหาร
ถึงขั้นต้องรับบริจาคเงินจากประชาชน เพื่อยืนหยัดที่จะทำหน้าที่ต่อไป
รักษาโครงสร้างของสังคมให้เกิดความสมดุล ไม่ให้เกิดความไร้ระเบียบ
อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นประเด็นสำคัญในการเสนอข้อมูล คือ ความจริง
หรือสัจจะธรรม อย่างตรงไปตรงมา หากสิ่ง ASTV ได้นำเสนอไม่เป็นความจริง
หรือเป็นไม่ถูกต้องประชาชนเรือนแสนที่ออกมาเรียกร้องเข้าร่วมในการชุมนุมยาว
นานถึง 193 วัน คงจะเกิดขึ้นไม่ได้
เพราะบนเส้นทางการต่อสู้ของเหล่าประชาชนผู้ตื่นรู้ทางจริยธรรม
ที่ไม่จำกัดที่วุฒิการศึกษาได้ออกมาปกป้อง ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
และต่อสู้กับความเหนื่อยยากโดยไม่ย่อท้อ แต่ในขณะเดียวกัน
สื่ออื่นที่เรียกตัวเองว่า "สื่อกระแสหลัก"
กลับทำงานรับใช้ทุนและอำนาจการเมืองอย่างไม่ลืมหูลืมตา
มุ่งแต่แสวงหาผลประโยชน์เข้าพวกพ้องมอมเมาประชาชนด้วยค่านิยมผิดๆ
โดยไร้ความรับผิดชอบต่อสังคม
กรณีความเห็นของผู้วิจัยที่มองว่า การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของ
ASTV ได้ส่งผลกระทบในด้านต่างๆ นั้น อาทิ การสร้างความแตกแยกในสังคม
หากจะมองว่า ASTV
ทำให้เกิดแตกแยกของคนในสังคมเพราะพฤติกรรมที่ทุจริตของนักการเมืองหรือ
เป็นภัยต่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์นั้นก็ต้องยอม
เพราะความชั่วกับความดี อยู่ตรงข้ามกันเสมอ
และที่สำคัญให้คนชั่วมาปกครองบ้านเมืองย่อมจะเกิดแต่ความไม่สงบสุข
หรือแม้แต่การส่งผลกระทบต่อการเมือง และเศรษฐกิจนั้น ลองมองย้อนกลับไปว่า
กระบวนการบริหารราชการ องค์กร สถาบัน ที่อ้างว่าถูกกระทบต่อการทำงานนั้น
สาเหตุหลักมิใช่มาจากถูกแทรกแซงโดยนักการเมืองที่ทุจริต
และเจ้าหน้าที่รัฐหรือองค์กรเหล่านั้นได้ทำตามหน้าที่ตนเองหรือไม่
หรือที่เลวร้ายคือทำตัวเป็นทาสนักการเมืองร่วมกันคอรัปชั่น
ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อถือ
ต่อมุมมองเรื่องการควบคุมการบริโภคสื่อ
ที่ผู้วิจัยได้ศึกษากรณีของ ASTV นั้น น่าจะเป็นการเสียเวลาเปล่า
เพราะหากความเข้าใจในเรื่อง
คุณธรรมต่อวิชาชีพและความรับผิดชอบต่อสังคมแล้ว ASTV ได้
ผ่านจุดนั้นมาแล้ว
ด้วยการรับรองจากประชาชนที่มีปริมาณมากกว่ากลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยชิ้นนี้
รวม 120 ราย และหากจะควบคุมหรือศึกษาผลกระทบการบริโภคสื่อจริงๆ
ลองยกกรณีศึกษา "สื่อกระแสหลัก" ที่ผู้วิจัยยกตัวอย่างมาเปรียบเทียบ
น่าจะได้ช่วยพัฒนาวงการสื่อสารมวลชนมากกว่า
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000112350
รียกซะหรูเลย ว่าเป็นงานวิจัย
ของ นายวิทอง ตัณฑกุลนินาท
นักศึกษา วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ปรอ.) รุ่น 21
แหม ทำให้เรารู้สึกว่าความรู้ระดับต่ำกว่าปริญญาอย่างเราไม่ได้ต่ำต้อยอย่างที่เราเคยคิดเลย
เพราะเรามีครู อาจารย์ที่ดี เป็นตัวอย่างที่ดี
และสอนให้เรารู้จักแยกแยะดีชั่ว ในสังคมนี้
อีกอย่าง เราเลือกบริโภคสื่อเอง ไม่ได้มีใครมาบังคับ
งานนี้ ขอคารวะ และพวกเราขอเป็นกำลังใจให้
ทีมงาน ASTV ทุกท่าน
ขอให้ทำหน้าที่ผู้สื่อข่าว
ด้วยศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ และมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อไป
เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ
ที่มีบุญคุณต่อพวกเรา
พี่น้องคนไทยในชาติเดียวกัน
khonthai09
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น