...+

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เปิดเส้นทางผู้กำกับ "นิธิวัฒน์" ต้นแบบนศ.ผู้ทำหนังสั้น

เปิดเส้นทางผู้กำกับ "นิธิวัฒน์" ต้นแบบนศ.ผู้ทำหนังสั้น


วง การผู้กำกับเมืองไทย หลายคนนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจาก
การทำหนังสั้น หรือผลงานเล็กๆที่เพาะตัวมาจากความคิดอย่าอิสระ
และสั่งสมประสบการณ์จนก้าวขึ้นสู่ความเป็นไอดอลของน้องใหม่รุ่นต่อไป
เช่นนี้เองจึงจุดประกายให้กับนศ.หลายคนที่ใฝ่ฝันอยากจะเป็นผู้กำกับทุ่มเท
กับหนังสั้นในเวทีการประกวดต่างๆ

ฉะนั้นเพื่อเป็นแนวทางของผู้กำกับหนังสั้นหน้าใหม่รั้วม.life on
campus ขออาสาพาไปศึกษาทริคต่างๆของหนังสั้นในวันวานบนเส้นทางการทำงานของ
"นิธิวัฒน์ ธราธร" หรือ "พี่ต้น" เจ้าของภาพยนตร์สุดแนวยอดฮิตอย่าง
แฟนฉัน Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย และล่าสุดกับ
หนีตามกาลิเลโอ

"พี่ต้น นิธิวัฒน์" เริ่มต้นชีวิตการเป็นผู้กำกับเมื่อ 6
ปีที่แล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านั้นตนก็เหมือนเด็กวัยรุ่นทั่วไปที่ชอบอ่านหนังสือ
ชอบดูหนัง จนกระทั่งได้เข้ามาศึกษาในคณะนิเทศศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2536 ปีนั้นเป็นปีแรกที่คณะนิเทศฯ
มีการจัดฉายหนัง "กางจอ"
ซึ่งเป็นงานฉายหนังผลงานของนิสิตเอกวิชาภาพยนตร์ให้กับคนทั้งในและนอกคณะได้ดูกัน

"เฮ้ย!...หนังสั้น เราทำเองได้ด้วยเหรอ !?!

ผู้กำกับต้นเล่าว่าครั้งแรกที่ตนได้เห็นหนังสั้นในเทศกาลหนังของคณะ
ก็แปลกใจและไม่เคยรู้ว่า หนังสั้นทำเองได้
เหตุเพราะตนรู้สึกว่าสมัยก่อนมีวิธีการทำที่ยากกว่านี้
และก็ติดตามสนใจหลังจากเห็นตัวอย่างของรุ่นพี่

"ตอน นั้นรู้สึกเลยว่านี่แหละคือความสุขอย่างหนึ่งของคนทำงาน
เพราะเรามีเรื่องที่ได้เราให้คนอื่นฟัง
ผู้ชมที่ได้ชมก็เดินเข้ามาพูดว่าชอบตรงนั้น หัวเราะตรงนี้
และหลังจากที่เห็นบรรยากาศแบบนั้น เราก็อยากทำบ้าง
และมันก็เริ่มจากความรู้สึกตรงนั้นที่ทำให้ผมเลือกเรียนสาขาวิชาภาพยนตร์และ
ภาพนิ่ง"พี่ต้นเล่า
และตามขั้นตอนของชาวนิเทศศาสตร์
หลังจากเรียนจบมาก็มักจะไม่ปล่อยให้ตนเองว่าง
พร้อมมักจะเปิดโอกาสให้ตนเองได้ลองวิชา
สำหรับผู้กำกับมือฉมังช่วงแรกตนทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้กำกับทำมิวสิควีดีโอ
และได้มีโอกาสมาทำหนังเรื่องแฟนฉัน กับเพื่อน ๆ ที่เรียนมาด้วยกันอีก 6
คน

" โปรเจ็คท์นี้เริ่มจากเพื่อน คือ คุณบอล วิทยา ทองอยู่ยง
เขียนเรื่องสั้นลงไว้ในเว็บไซต์ของที่คณะฯ แล้วพี่เก้ง จิระ มะลิกุล
ซึ่งเป็นอาจารย์ของพวกเราตอนที่เรียนอยู่มาเห็นบทก็สนใจ
ประกอบกับรู้อยู่แล้วว่าพวกเรามีพื้นฐานในการทำหนังสั้นมาก่อน
เลยเรียกเข้ามาคุยและนำไปพัฒนาเป็นหนังเรื่อง แฟนฉัน (พ.ศ. 2546)

และ ในที่สุดพี่ต้นก็ได้มีผลงานเดี่ยวๆของตนเองเพราะหลังจบแฟนฉันก็ได้มาทำหนัง
ของตนเองเป็นเรื่องแรก คือ Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
(พ.ศ. 2549) และมาถึงเรื่องล่าสุด หนีตามกาลิเลโอ
(2552)สำหรับการมายืนอยู่ที่จุดนี้ได้นั้น
พี่ต้นเล่าให้ฟังว่าจะต้องเตรียมความพร้อมให้กับตนเอง
และอย่าปล่อยผ่านโอกาส
" นอกจากต้องตั้งใจเรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฏีภาพยนตร์ในห้องเรียนแล้ว
การออกไปหาประสบการณ์นอกวิชาเรียนก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ
อย่างการได้ทำหนังสั้นในตอนนั้นถือว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการทำงาน
การเป็นผู้กำกับในตอนนี้เป็นอย่างมาก"ผู้กำกับต้นบอกและเล่าต่อว่าเด็กสมัยนี้โชคดีกว่ารุ่นตนมาก
"ปี แรกที่เรียนจบมา (พ.ศ. 2540)
เป็นครั้งแรกที่มีการประกวดหนังสั้นของมูลนิธิหนังไทย
ซึ่งตอนนั้นวงการหนังสั้นยังไม่เคยมีการประกวดมาก่อน
แล้วผมก็ส่งเข้าประกวดด้วย จากวันนั้น ถึงวันนี้ สิบกว่าปี
วงการหนังสั้นพัฒนาไปเยอะ คนสนใจเยอะอาจเพราะเรามีเรื่อง
มีประเด็นทางสังคมอะไรบางอย่างที่เราอยากจะพูด
ก็สามารถทำหนังสั้นขึ้นมาเพื่อสะท้อนหรือบอกกล่าวได้

ผลงานกำกับของ "พี่ต้น
ผิดกับสมัยก่อนวงการหนังสั้นจะมีเฉพาะกลุ่มคนที่เรียนจบแล้ว
คนที่ทำงานในสายงานภาพยนตร์ หรือ นักศึกษาที่เรียนสาขาภาพยนตร์เท่านั้น
แต่ปัจจุบัน มีหลาย ๆ ครั้งที่เห็นเด็กมัธยมส่งผลงานหนังสั้นเข้าประกวด
ก็ทำให้รู้สึกว่าความสนใจของวงการหนังสั้นขยายไปไกลมาก

ส่วน หนึ่งที่ทำให้วงการหนังสั้นได้รับความสนใจในกลุ่มเยาวชนเด็กรุ่นใหม่อย่าง
แพร่หลาย อาจเป็นเพราะเทคโนโลยีและอุปกรณ์ในปัจจุบันที่ค่อนข้างจะเอื้ออำนวย
ใช้ง่าย อย่างอุปกรณ์ในการบันทึกภาพก็มีหลากหลาย
ตั้งแต่กล้องวีดีโอแฮนดีแคม ไปจนถึงกล้องภาพนิ่งบางตัว กล้องมือถือ
อะไรก็ได้ที่รู้สึกว่าใช้บันทึกสิ่งที่เราต้องการจะเล่าได้"
พี่ต้นเพิ่มมุมมอง

แต่ทั้งนี้แม้ปัจจุบันจะเต็มไปด้วยเทคโนโลยี
แต่พี่ต้นผู้กำกับมือทองก็นำเสนอแนวคิดว่าสิ่งสำคัญในการทำหนังสั้นก็จะอยู่
ที่ประเด็นส่วนประเด็นก็จะต้องได้มาจากการอ่านเป็นต้น

" สิ่งสำคัญคือ มันขึ้นอยู่ที่เราต้องการจะพูด
มุมมองที่ต้องการนำเสนอ วิธีการเล่าด้วยภาพหรือภาษาหนังจะน่าสนใจเพียงใด
ไม่มีรูปแบบตายตัวในการสร้างสรรค์ เราอาจเริ่มได้จากหลากหลายรูปแบบ เช่น
เริ่มจากประเด็นที่เราอยากพูดก่อน (ภาษาคนทำหนังเรียกว่า Theme)
หรืออาจจะเริ่มจากตัวละคร เริ่มจากสิ่งของ อยากทำเรื่องราว หรือ คน
อย่างตอนที่ผมเรียน พี่เก้ง จิระ มะลิกุล นำหนังสือมาเล่มหนึ่ง
ซึ่งในนั้นมีบทความที่น่าสนใจ
ให้ลองนำไปทำเป็นหนังสั้นดูว่าจะออกมาเป็นอย่างไร
พอได้ไอเดียก็มาเริ่มขยายเป็นเรื่องย่อ เป็นบท (ใคร ทำอะไร ที่ไหน
อย่างไร) จากนั้นก็มาดูว่าจะใช้วิธีการเล่าเรื่องอย่างไร
มองออกมาให้เป็นภาพ (ตัวแสดง สถานที่)"
อย่างไรก็ตามแม้เราจะเข้าใจในวิธีการนำเสนอ
และมีวัตถุดิบตลอดจนเทคนิคการถ่ายทำที่ดีแล้ว
แต่หมัดเด็ดที่ควรจะมีกั๊กไว้ พี่ต้นแนะปิดท้ายไว้ว่า

"ให้น้องๆเก็บสะสมวัตถุดิบไว้เยอะๆ อย่างเรื่องราวรอบ
ๆตัวเพราะจะทำให้โลกเรากว้างขึ้น จะได้รู้ว่าคนอื่น ๆ คิดอะไรกันอยู่
สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นไอเดีย เป็นประเด็นให้เรามีเรื่องที่อยากจะพูด
อยากจะเล่าเอาล่ะ "ของแบบนี้ถ้าไม่ทำก็ไม่รู้ วัน
หนึ่งที่หนังได้ถูกฉายออกไปให้ผู้ชมได้ชม แล้วมีใครเห็นมัน
เชื่อเลยว่ามันเป็นความสุขอย่างหนึ่งของคนทำ
และเชื่อว่าใครหลายคนที่ได้ทำแล้วจะรู้ว่ามันรู้สึกอย่างไร...."พี่ต้นสรุปอย่างกระจ่าง

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000094816

เปลี่ยนแนวเลยครับ ลองทำหนังแนวแอคชั่นบู๊ดูครับ
ใช่จริงอยู่หนังแนวแอคชั่นบู๊ไม่ค่อยมีคนทำเพราะลงทุนเอยะ
คนเลยหันมาทำหนังแนวรักที่จีบกันไปจีบกันมาเอาดาราดังๆมาดึงเรตติ้ง
หรือหนังผีที่ค้นหาว่าผีอยู่ที่ไหนเหมือนประมาณว่าตามล่าไอ้หน้าผีอะไร
ประมาณนั้นหนังเหล่านี้ซึ่งเป็นหนังที่ลงทุนต่ำ
ส่วนหนังแอคชั่นที่เคยดูอย่าง ต้มยำกุ้งก็ไม่สมราคากับหนังแอคชั่น
ก็มีแต่ต่อยเตะไม่มีการลงทุนทำฉากแอคชั่นที่ลงทุนเลยดูแล้วน่าเบื่อแทบจะ
อาเจียน หรือหนังแอคชั่นไทยที่ทำได้ก็มีแค่เตะต่อยเนื้อเรื่องก็ดูไม่รู้ไม่น่าสนใจ
และติดตามลงทุนก็ต่ำดูแล้วเสียดายตัง
ขอวิจารณ์หนังไทยหน่อยเถอะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น