ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั้งฝนแล้งน้ำท่วม สาเหตุมาจากขาดความสมดุล
เพราะทรัพยากรธรรมชาติ ที่ขาดหายไปด้วยน้ำมือมนุษย์
ที่หวังกอบโกยแต่ผลประโยชน์ ส่วนตัว หลายฝ่ายมีความเป็นห่วงเป็นใย
ให้ช่วยกันหันมาปลูกป่าไม้ทดแทน และเพื่อใช้ประโยชน์
สำหรับพันธุ์ไม้ที่สรรหามาปลูก ก็มีหลากหลายชนิด เช่น กระถินเทพา,
กระถินณรงค์, ไม้ยางนา และ ไม้ยูคาลิปตัส ก็เป็นหนึ่งในนั้น !!
ไม้ยูคาลิปตัส...เป็นไม้ต่างประเทศมีมากกว่า 500 ชนิด
ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปออสเตรเลีย
มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ถูกนำไปปลูกนอกถิ่นกำเนิด
ประเทศไทยได้เริ่มนำไม้ยูคาลิปตัสมาปลูกในปี พ.ศ. 2493
และมีการทดลองปลูกจริงจังในปี พ.ศ. 2507
แต่...มีการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในทางบวกและทางลบอย่างกว้างขวาง
จนทำให้นักวิชาการป่าไม้แตกออกเป็น 2 ฝ่าย มีทั้งฝ่ายสนับสนุน บอกว่า
เป็นไม้โตเร็ว ที่สร้างฐานะทางเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกรและประเทศชาติ
และฝ่ายคัดค้านก็ให้เหตุผลว่า... มันคือ ปีศาจทะเลทราย
ที่ทำลายทั้งดินและน้ำ...!!!
ส่วนวนวัฒนวิจัย สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้
ได้ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบทางนิเวศวิทยาของการปลูกไม้ยูคาลิปตัส
ในพื้นที่จริงบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้ โครงการวิจัยและสาธิตระบบวน-
เกษตร (Agroforestry) จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นแนวทาง
หรือไขข้อข้องใจในบางเรื่องเกี่ยวกับปัญหาการปลูกไม้ยูคาลิปตัส
แต่ไม่ใช่เป็นการส่งเสริมหรือคัดค้านการปลูกไม้ชนิดนี้แต่อย่างใด
ผลงานวิจัยใช้เวลา 12 ปี ก็สำเร็จเรียบร้อยแล้ว
(ไปหาอ่านได้ที่กรมป่าไม้)คุณปรีชา เชิดเกียรติกุล
ที่ปรึกษาโครงการปลูกสวนไม้โตเร็ว เผยว่า
ผลการทดลองปลูกไม้ยูคาลิปตัสไม่มีผลกระ-ทบต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศ ไทย
เมื่อคัดสายพันธุ์ปรากฏว่าเหลือเพียง 2
ชนิดเท่านั้นที่มีความเหมาะสมและนิยมปลูกกันมาก คือ
ยูคาลิปตัสคามาลดูเลนซิส กับ ยูคาลิปตัสดีกลุ๊ปต้า
ปัจจุบันมีการปลูกไม้ ยูคาลิปตัสทั่วประเทศประมาณ 3 ล้านไร่
ปลูกตามคันนาของแปลงปลูกข้าว ปลูกสลับในแปลงพืชไร่ เช่น ข้าวโพด,
สับปะรดและแปลงปลูกไม้ดอกไม้ประดับ โดย บริษัทสยามฟอเรสทรีจำกัด
ในเครือซิเมนต์ไทย เป็นแถวหน้าที่โดดออกมา ปลูกไม้ยูคาลิปตัส
และรับซื้อเพื่อนำไปทำกระดาษ, เฟอร์นิเจอร์, ไม้พาเลตวางสินค้า
หรือนำไปสร้างบ้าน ที่อยู่อาศัยก็สามารถทำได้
โดยไม่ต้องนำเข้าไม้ยูคาฯจากต่างประเทศ
ถือว่าไม้ยูคาลิปตัสเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรควรหันมาสนใจ
ดวงแก้ว ผุงเพิ่มตระกูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น