...+

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

มทร.ศรีวิชัย เจ๋ง แปรรูปขยะอุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่า เพื่อสิ่งแวดล้อม

ที่ผ่านมาประเทศไทยถือว่าเป็นศูนย์กลางการผลิตที่มีความสำคัญ
มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องและการ
เลือกใช้สินค้าของผู้บริโภค
จึงส่งผลให้อุตสาหกรรมดังกล่าวมีบทบาทเป็นอย่างมาก
แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งของพฤติกรรมผู้บริโภคในการทิ้งซากผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ที่ปะปนกับขยะมูลฝอยทั่วไปตามบ้านเรือน หรือแม้กระทั่ง
กระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม
ก็มีการกำจัดหรือทิ้งทำลายชิ้นส่วนที่ไม่ได้มาตรฐานการผลิต
ซึ่งไม่อาจปฏิเสธถึงปัญหาขยะอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นได้
เป็นปัญหาที่สะสมมานาน
นับตั้งแต่อุตสาหกรรมมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเกินกว่าชุมชนจะสามารถปรับตัว
และจัดการกับขยะอุตสาหกรรมได้
จึงทำให้เกิดความล้มเหลวในระบบการบริหารจัดการขยะอุตสาหกรรม

รศ.สุชาติ เย็นวิเศษ หัวหน้าหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา
ผู้ริเริ่มโครงการ "การแปรสภาพกากอุตสาหกรรมกลุ่มโลหะ
เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สามารถนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ"
กล่าว ว่า โครงการดังกล่าวมาจากความต้องการของภาคเอกชน
ที่ดำเนินธุรกิจในการแยกสกัดธาตุโลหะมีค่าบางชนิดออกจากเศษชิ้นส่วนอย่าง
เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์
และเศษโลหะจากกระบวนการผลิตชุบเคลือบผิวเครื่องประดับเช่น โลเดียม
และแพ็ลเลเดียม(pd) ซึ่งโลหะชนิดนี้เป็นกลุ่มแพลตินัมจำพวกทองคำขาว
โดยธาตุโลหะมีค่าเหล่านี้ถ้านำมารวมกันและขายในตลาดจะมีราคาที่สูงมาก

รศ.สุชาติ กล่าวต่อไปว่า เป้าหมายของโครงนี้
คือการหาแนวทางในการหลอมแยกสกัดกากอุตสาหกรรม
โลหะคอปเปอร์-เฟอร์รัสออกไซด์
ที่ตกตะกอนจากกรรมวิธีทะลายด้วยน้ำกรดกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบใหม่ในรูปของทอง
แดงบริสุทธ์ และประยุกต์ออกแบบสร้างเตาหลอมแบบเบ้าที่เหมาะสมในการหลอมโลหะประเภทนี้
โดยทองแดงที่สกัดออกมาจะต้องมีค่าความบริสุทธิ์ประมาณ 99.9 เปอร์เซ็นต์
ปัจจุบัน ได้ส่งงานวิจัยให้ภาคเอกชนไปสานต่อ
เพราะการหลอมโลหะยังเป็นที่นิยมกันในภาคอุตสาหกรรม

แต่ทั้งนี้ การหลอมด้วยเตาหลอมคิวโปล่า
จะมีอัตราการหลอมที่ค่อนข้างสูงจึงเหมาะสมกับการผลิตเหล็กหล่อ
แต่การหลอมประเภทนี้จะได้เนื้อโลหะทองแดงที่ออกมามีค่าความบริสุทธิ์น้อย
กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และเตาหลอมคิวโปล่า
จะต้องใช้ผู้ปฏิบัติงานที่มีความชำนาญและมีทักษะงานหลายคน
รวมทั้งสถานที่ต้องตั้งอยู่ห่างไกลจากชุมชน ใช้พื้นที่ปฏิบัติงานมาก
และมีการลงทุนสูง นอกจากนี้ยังมีการหลอมด้วยเตาหลอมกระแสเหนี่ยวนำ
สามารถหลอมโลหะได้ทุกชนิด
แต่คุณภาพโลหะที่ออกมามีค่าความบริสุทธิ์น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

จึงเป็นที่สรุปได้ว่า การหลอมด้วยเตาหลอมแบบเบ้า
เป็นการหลอมที่ถูกเลือกให้ใช้ในงานวิจัยนี้
เพราะผลที่ออกมาคือได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
และสามารถแยกทองแดงบริสุทธิ์ได้เป็นอย่างดี ถึง 99.9 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งมีจุดเด่นที่ชัดเจน คือ ลงทุนน้อย พื้นที่ปฏิบัติการน้อย
และใช้คนงานไม่มากนัก
อีกทั้งเทคนิคการควบคุมการปฏิบัติการไม่ยุ่งยากและไม่ซับซ้อน
นอกจากนี้ยังปรับเพิ่มลดปริมาณการผลิตได้ง่ายยิ่งการหลอมในเบ้า
จะช่วยให้ประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น

รศ.สุชาติ กล่าวทิ้งท้ายว่า
งานวิจัย"การแปรสภาพกากอุตสาหกรรมกลุ่มโลหะ" มีประโยชน์อย่างยิ่ง
สามารถช่วยยกระดับการผลิตโลหะให้แก่ภาคเอกชน
สามารถนำไปประยุกต์และพัฒนาวัตถุดิบประเภทอื่นๆ ได้ในอนาคต
ดังนั้นถ้านำเอากระบวนการแยกโลหะในงานวิจัยนี้ไปใช้จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม
ให้แก่วัตถุดิบที่ไม่มีค่าหรือต้องทิ้งไป

ขยะอุตสาหกรรม สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
แล้วยังสามารถสร้างรายได้อีกช่องทางหนึ่ง งานวิจัย
ดังกล่าวหากผู้ประกอบการนำแนวทางไปใช้ในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม
จำพวกการผลิตโลหะ จะทำให้ได้โลหะเพิ่มขึ้น
รวมทั้งยังเป็นแนวทางในการจัดการกับกากอุตสาหกรรมได้อย่างถูกวิธี
เป็นการช่วยลงผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

** สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา โทร 074-317100 ต่อ 1941

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น