...+

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เรื่องมะรุม

เรื่องมะรุม

เมื่อเช้าดูช่อง 9 มา เรื่องมะรุม
มีผู้หญิงคนหนึ่งอาศัยอยู่สหรัฐอเมริกา ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน
ความดันโลหิตสูง เม็ดเลือดขาวกินเม็ดเลือดแดง ( ลูคีเมีย)
และปอดมีปัญหาอักเสบ ไปหาหมอ หมอก็รักษาที่ละโรค
พอดีปวดฟันไปถอนฟัน หมอให้กินยาเพนนิซิลิน ดันแพ้ยาอย่างรุนแรง
จนเกิดอาการบวมและลามไปที่ไตเกิดปัญหา
หมอต้องเริ่มรักษาใหม่ของแต่ละโรคเพราะว่ายาที่รักษาแต่ละโรค
จะมีเพนนิซิลินเป็นส่วนประกอบ และหมอก็ให้เค้าเตรียมทำใจ

พอดีเพื่อนที่ทำงานด้วยกันเป็นชาวพม่า แม่ป่วยเป็นมะเร็ง
เค้าต้องการหายารักษาโรค ด้วยความหวังดีเค้ามาหาข้อมูลใน internet
ให้เพื่อน และรู้ว่ามะรุมมี คุณลักษณะในการช่วย เค้าเลยหาต้นมะรุม
ในสหรัฐมีคนที่ปลูกมะรุมในบ้านอยู่บ้าง
ซึ่งแต่ละบ้านงกมากและไม่ยอมให้
เพราะที่สหรัฐเค้ากินกันถือว่าบ้านไหนมีต้นมะรุมเสมือนมีโรงพยาบาลที่บ้าน
ดังนั้น เค้าเริ่มปลูกต้นมะรุน
และกินใบสดที่ใบไม่แก่และไม่อ่อนจนเกินไป หรือไม่จะเก็บใบสดมาตากแห้ง
( ต้องมีผ้าขาวบางคลุมเพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำไป)
บดให้ละเอียดใส่แค็บซูลกินทุกเช้า
มะรุมไม้กลางบ้านของไทยที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานานนอกจากจะรับประทานอร่อยแล้ว
ชาวอินเดียยังได้ทำการทดลองและเชื่อว่ามีคุณสมบัติในการรักษาโรคต่างๆได้ถึง
300 ชนิด องค์การสหประชาชาติได้ให้การสนับสนุนในการค้น
คว้าและวิจัยอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในการรักษาโรคขาดอาหารและอาการตาบอดซึ่งเกิดขึ้นในเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเจริญเดิบโตในประเทศด้อยพัฒนาเช่นกลุ่มประเทศในอาฟริกาตอนใต้และประเทศอินเดีย
กลุ่มองค์การกุศลมากมายได้หันมาให้ความสนใจอย่างจริงจังกับพันธุ์ไม้ชนิดนี้
รวมทั้งประเทศไทย กลุ่มนักศึกษาแพทย์จำนวน 25
ท่านจากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ได้ทำการทดลองวิจัยในการที่จะนำมารักษาผู้ป่วยด้วย
โรคงูสวัดแม้แต่กลุ่มประเทศอื่นๆเช่นอังกฤษ , เยอรมัน ,
รัสเซีย , ญี่ปุ่น , จีน ,
ก็หันมาให้ความสนใจและทำการค้นคว้าอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง
เบาหวาน โรคเอดส์ และอีกมากมาย
ประโยชน์คร่าวๆ จากวารสารค้นคว้าที่พอจะอ้างอิงได้มีดังต่อไปนี้คือ
1. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิด ถึง 10 ขวบ
และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอด ได้เป็นอย่างดี
2. ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้
ทำให้สามารถลดการใช้ยาลงโดยความเห็นชอบและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ผู้รักษาด้วย
3. รักษาโรคความดันโลหิตสูง
4. ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายถ้าแม้ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อ
HIV นอกจากนี้ยังช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ
3 ครั้ง
5. ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้และสามารถมีชิวิตอยู่อย่างคนทั่วไปได้ในสังคมการรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศอาฟริกา
แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็กำลังอยู่ในภาวะทดลอง
6. ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็งแต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น
ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบันหากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี
การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง
7. ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊า โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก
โรครูมาติซั่ม
8. รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น
โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ
เป็นต้นถ้ารับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
9. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง โรคพยาธิในลำไส้ เป็นต้น
10. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ

นอกจากนี้ต้นมะรุมยังมีคุณประโยชน์อีกมากมายซึ่งไม่สามารถที่จะนำมาอ้างอิงได้หมดในที่นี้
หากสนใจท่านสามารถหาอ่านได้จากเอกสารอ้างอิงกำกับท้ายเอกสารฉบับนี้
วิธีใช้
ใบสด ควรรับประทานใบสดที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไปนัก
เพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่
เด็กแรกเกิด - 1 ปี คั้นน้ำจากใบเพียง 1 หยด ผสมกับนมให้ดื่มเพียง
1 หยด ต่อ 1-2 วัน ใบมะรุมนี้มีธาตุเหล็กสูงมาก
ฉะนั้นทารกในวัยเจริญเติบโต - 2 ขวบ จึงไม่ควรทานมาก
เด็กที่เริ่มทานอาหารได้ถึง 3-4 ขวบ ควรทานวันละไม่เกิน 2 ใบ
เพิ่มจำนวนขึ้นทีละใบตามอายุ จนถึง 10 ขวบ
เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ รับประทานวันละ 1 กิ่ง
จะทานสดหรือประกอบอาหารก็ได้ ถ้าจะให้ได้ผลรวดเร็ว
ควรคั้นน้ำดื่มประมาณวันละ 1 ช้อนโต๊ะสำหรับผู้ใหญ่ หรือ 1
ช้อนชาสำหรับเด็ก
การรับประทานสุกควรลวกแต่พอควรเพราะการถูกความร้อนนานเกินไปจะทำให้สารอาหารหลายชนิดเสื่อมคุณภาพลงไปมาก
ถ้าสามารถรับประทานสดได้จะดีมาก ใช้ทำสลัดรวมกับผักสด
หรือวางบนแซนวิช

ผล รับประทานได้ทั้งฝักอ่อนและฝักแก่พอสมควรฝักแก่จะใช้ลำบากเพราะต้องปอกเปลือกเช่นใช้แกงส้มหรือขูดเอาแต่เนื้อใน
มาทำแกงกะหรี่
ฝักอ่อนขนาดถั่วฝักยาวสามารถนำมาทำอาหารได้มากมายหลายชนิด อาทิ เช่น
แกงส้มฝักมะรุม ฝักมะรุมอ่อนผัดน้ำมันหอย
ยำฝักมะรุมอ่อน(เหมือนยำถั่วพลู)
สลัดสดใบมะรุมผักรวม ทอดมันปลากับฝักมะรุมอ่อน
แกงเลียงฝักมะรุมอ่อนและใบมะรุม
แกงเผ็ดฝักมะรุมอ่อน ไข่ยัดไส้ใบมะรุมหมูสับ ดอกมะรุมชุบไข่ทอด
ผัดพริกขิงฝักมะรุมอ่อน ผัดจืดฝักมะรุมอ่อนใส่ไข่และกุ้ง
ผัดเผ็ดฝักมะรุมอ่อนยอดพริกไทยกับไก่
ฝักมะรุมอ่อนผัดขี้เมา ไก่อบฝักมะรุมอ่อน ยอด ดอก
และฝักมะรุมอ่อนจิ้มน้ำพริก
ต้มจืดหมูสับใบมะรุมอ่อน ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดสดต่างๆ
ราดหน้าฝักและใบมะรุมอ่อนไก่/หมู
แกงจืดใบมะรุมอ่อนเต้าหู้ ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดหูหนู จีน
แกงจืดวุ้นเส้นใบมะรุมอ่อนใส่เห็ดสด
แกงเขียวหวานหรือแกงแดงฝักมะรุมอ่อน(จะใส่เนื้อ หรือไก่ก็ได้ตามแต่ชอบ)
ยอด ดอก และฝักมะรุมอ่อนชุบแป้งเทมปุระทอด เหล่านี้เป็นต้น

เมล็ด สามารถนำเมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมันเพื่อใช้ประโยชน์ได้มากมายเช่นใช้ทำอาหารได้
รักษาโรคปวดตามข้อ โรคเก๊า รักษาโรครูมาติซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง
แก้ผิวแห้ง ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา
เปลือกจากลำต้น
นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อนนำมาใช้ประคบ
แก้โรคปวดหลัง ปวดตามข้อได้เป็นอย่างดี *
ร้านขายยาจีนนำมาใช้เข้าเครื่องยาจีนรักษาโรคหลายประเภท*
กากของเมล็ดกากที่เหลือจากการทำน้ำมันสามารถนำมาใช้ในการกรองหรือทำน้ำให้บริสุทธิ์เป็นน้ำดื่มได้กากของเมล็ดมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอย่างยิ่ง
จากนั้นนำมาทำปุ๋ยต่อได้

ดอก ใช้ต้มทำน้ำชาใช้ดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย

ใบตากแห้ง สามารถนำใบมาตากแห้งโดยการตากในที่ร่มอย่าให้โดนแดดเมื่อแห้งสนิทดีแล้วนำมาป่นเป็นผงบรรจุในหลอดแคปซูลเพื่อสะดวกแก่การพกพาในกรณีที่เดินทางและหาใบสดไม่ได้ใช้ทำเป็นน้ำชาไว้ดื่มได้ตลอดวันแต่ใบแห้งจะขาดไวตามินซีและไวตามินบีตลอลีนและแร่ธาตุบางจำพวกที่สูญหายในระหว่างการทำให้แห้งควรเก็บผงมะรุมไว้ในที่มืดเช่นขวดพลาสติกชนิดทึบเพื่
อ กั นการเสื่อมคุณภาพแต่คุณสมบัติอื่นๆ
ยังคงเดิมเนื่องจากมะรุมเป็นพืชสมุนไพรกลางบ้านดังนั้นการให้ผลย่อมช้ากว่ายาแผนสมัยใหม่การที่จะใช้ให้ได้ผลอย่างจริงจังต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า
3 เดือนและต้องใช้ติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอจะให้ผลเป็นที่น่าพอใจร่างกายจะแข็งแรงอยู่เสมอคนธรรมดาที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคก็สามารถใช้ได้เพื่อป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อต่างๆ
สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายเป็นอย่างดียิ่ง
เอกสารอ้างอิง:

Nature's Medicine Cabinet by Sanford Holst
The Miracle Tree by Lowell Fuglie
LA times
March 27th 2000 article wrote by Mark Fritz.
WWW.PUBMED.GOV . (Search for Moringa) (Antiviral Research Volume 60,
Issue 3, Nov. 2003, Pages 175-180: Depts. of Microbiology,
Pharmaceutical Botany, Pharmacology, Faculty of Pharmaceutical
Science, Chulalongkorn University , Bangkok 10330 , Thailand .
Corresponding author. Tel.: +66-2-218-8378; fax +66-2-254-5195)

' มะรุม ' เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ
กินได้หลายส่วน ทั้งยอด ดอก และฝักเขียว แต่ใครๆ
ก็นิยมกินฝักมากกว่าส่วนอื่นๆ

ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ทาง อีสาน เรียก "ผักอีฮุม
หรือผักอีฮึม" ภาคเหนือ เรียก "มะค้อมก้อน" ชาวกะเหรี่ยง
แถบกาญจนบุรีเรียก"กาแน้งเดิง" ส่วน ชาวฉาน แถบแม่ฮ่องสอนเรียก "
ผักเนื้อไก่" เป็นต้น

มะรุมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam. วงศ์ Moringaceae
เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย

มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-4 เมตร ทรงต้นโปร่ง
ใบเป็นแบบขนนกคล้ายกับใยมะขามออกเรียงแบบสลับ
ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน ดอกออกเป็นช่อสีขาว ดอกมี 5 กลีบ

ฝักมีความยาว 20-50 เซนติเมตร ลักษณะเหมือนไม้ตีกลอง
เป็นที่มาของชื่อต้นไม้ตีกลองในภาษาอังกฤษ (Drumstick Tree)
เปลือกฝักอ่อนสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก
เปลือกฝักแก่มีสีน้ำตาล เมล็ดมีเยื่อหุ้มลักษณะกลมมีสีน้ำตาล
เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร
เมล็ดแก่สามารถบีบน้ำมันออกมากินได้

มะรุมเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด
ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ
การปลูกการดูแลรักษาก็ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน
เกษตรกรจึงมักนิยมปลูกมะรุมไว้ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้าน 1-5 ต้น
เพื่อให้เป็นผักคู่บ้านคู่ครัวแบบพอเพียงที่ไม่ต้องซื้อหา

คนไทยทุกภาคนิยมนำฝักมะรุมไปทำแกงส้ม
ด้วยการปอกเปลือกหั่นฝักมะรุมเป็นชิ้นยาวพอคำ
ถือว่าเป็นผักที่ทำแกงส้มคู่กับปลาช่อนอร่อยที่สุด
จะต่างกันก็ในรายละเอียดของแกงตามแบบอย่างของแต่ละท้องถิ่นเท่านั้น
แม้แต่ทางใต้ก็นิยมนำมะรุมมาทำแกงส้มปลาช่อน
โดยจะใช้ขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาวปลาและเพิ่มสีสันของน้ำแกง
ปรุงรสเปรี้ยวด้วยการใส่ส้มแขกแทนน้ำมะขาม
และหั่นปลาช่อนเป็นแว่นใหญ่ไม่โขลกเนื้อปลากับเครื่องแกง

ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาวเพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม
หาได้ง่าย รสชาติอร่อยเพราะสดเต็มที่ มีขายตามตลาดในช่วงฤดูกาล
คนที่ปลูกมะรุมไว้ในบ้านเท่านั้นจึงจะมีโอกาสลิ้มรสยอดมะรุม ใบอ่อน
ช่อดอกและฝักอ่อน ช่อดอกนำไปดองเก็บไว้กินกับน้ำพริก ยอดมะรุม ใบอ่อน
ช่อดอก และฝักอ่อนนำมาลวกหรือต้ทให้สุก จิ้มกับน้ำพริกปลาร้า
น้ำพริกแจ่วบอง กินแนมกับลาบ ก้อย แจ่วได้ทุกอย่าง หรือจะใช้ยอดอ่อน
ช่อดอกทำแกงส้มหรือแกงอ่อมก็ได้

ส่วนอื่นๆ ของโลกจะใช้ใบมะรุมประกอบอาหารเช่นเดียวกับการใช้ผักขมฝรั่ง
หรือปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรืออาหารแป้งอื่นๆ นอกจากนี้
ใช้ใบตากแห้งป่นเก็บไว้ได้นานโรยอาหาร
เช่นเดียวกับที่ภูมิปัญญาอีสานจังหวัดสกลนครใช้ใบมะรุมแห้งปรุงเข้าเครื่อง
" ผงนัว" กับสมุนไพรอื่นไว้แต่งรสอาหารมาแต่โบราณ
ส่วนฝักอ่อนปรุงอาหารเหมือนถั่วแขก

คุณค่าทางอาหารของมะรุม

มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด
กล่าวถึงในคัมภีร์ใบเบิ้ลว่าเป็นพืชที่รักษาทุกโรค

ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า
การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่ 3
เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน

นอกจากนี้ มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ช่วยป้องกันโรค นั่นคือ

วิตามินเอ บำรุงสายตามีมากกว่าแครอต 3 เท่า

วิตามินซี ช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม

แคลเซียม บำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด

โพแทสเซียม บำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย

ใยอาหาร และ พลังงาน ไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุมมีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง
จากอาหารมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้แก้ไขปัญหาโรคปากนกกระจอก
หอบหืด อาการปวดหูและปวดศรีษะ ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร
และช่วยระบายกาก

ประเทศอินเดีย หญิงตั้งครรภ์จะกินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก
แต่ที่ประเทศที่ฟิลิปปินส์และบอสวานาหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมจะกินแกงจืดใบมะรุม(ภาษาฟิลิปปินส์
เรียก "มาลังเก")
เพื่อประสะน้ำนมและเพิ่มแคลเซียมให้กับน้ำนมแม่เหมือนกับคนไทย

ชะลอความแก่

กล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่
เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้
คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ
รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin)
สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylquinic acids)
ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ
และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ
การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย

ฆ่าจุลินทรีย์

สานเบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ. 2507
จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ
สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู

ปัจจุบันหลังจากค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร Helicobactor
pylori กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว

การป้องกันมะเร็ง
สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin)
จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้

การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง
โดยกลุ่มที่กินมะรุมเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม

ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล
จากการทดลอง 120 วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ 200
กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันเทียบกับยาโลวาสแตทิน 6
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันและให้อาหารไขมันมาก

ใบมะรุม 100 กรัม
( คุณค่าทางโภชนาการของอาหารอินเดีย พ.ศ. 2537)
พลังงาน 26 แคลอรี
โปรตีน 6.7 กรัม ( 2 เท่าของนม)
ไขมัน 0.1 กรัม
ใยอาหาร 4.8 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม
วิตามินเอ 6,780 ไมโครกรัม ( 3 เท่าของแครอต)
วิตามินซี 220 มิลลิกรัม ( 7 เท่าของส้ม)
แคโรทีน 110 ไมโครกรัม
แคลเซียม 440 มิลลิกรัม (เกิน 3 เท่าของนม)
ฟอสฟอรัส 110 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.18 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 28 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 259 มิลลิกรัม ( 3 เท่าของกล้วย)

พบว่าทั้งกลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเทอรอลฟอสโฟไลพิด ไตรกลีเซอไรด์
VLDL LDL ปริมาณคอเลสเทอรอลต่อฟอสโฟไลพิด และ atherogenic index
ต่ำลงทั้ง 2 กลุ่มมีการสะสมไขมันในตับ หัวใจ และท่อเลือดแดง (เอออร์ตา)

กลุ่มควบคุมปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด

กลุ่มที่กินมะรุมพบการขับคอเลสเทอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น