...+

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เย ธัมมา เหตุปปะภะวา.......ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ....

เย ธัมมา เหตุปปะภะวา.......ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ.....


อดีตแห่งพระสารีบุตร ถาม-"ใครเป็นศาสดาของท่าน ศาสดาของท่าน สอนไว้ว่าอย่างไร?

พระอัสสชิ ตอบ-"อาตมาเป็นพระใหม่ ไม่อาจตอบสาระธรรมที่ลึกซึ้งได้"

แม้พระอัสสชิเป็นพระนวกะ ยังไม่รู้ธรรมลึกซึ้ง แต่ได้แสดงธรรมสำคัญ
อันเป็นหัวใจพระศาสนา โดยย่อว่า

"เย ธัมมา เหตุปปะภะวา เตสัง เหตุ ตะถาคะโต เตสัญจะ โย นิโรโธจะ เอวัง
วาที มะหาสะมะโณ"....

ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าตรัสบอกถึงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น

พร้อมทั้งความดับแห่งเหตุของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้ามีปกติตรัสสอนอย่างนี้.....

พระสารีบุตร ซึ่งกำลังแสวงหาโมกขธรรม ได้ยินคำตอบเช่นนี้
ก็เกิดความรู้แจ้ง ได้บรรลุธรรม มีดวงตาเห็นธรรม

มีเรื่องเล่ามาว่า ที่ใกล้กรุงราชคฤห์ มีหมู่บ้านพราหมณ์อยู่ 2 หมู่บ้าน
หัวหน้าหมู่บ้านทั้งสองได้เป็นมิตรสหายสนิทสนมกันมาช้านาน

และต่างก็มีบุตรชาย หัวหน้าพราหมณ์ หมู่บ้านหนึ่ง มีบุตรชายชื่อ อุปติสสะ
อีกหมู่บ้านหนึ่งหัวหน้าพราหมณ์ก็มีบุตรชายเหมือนกัน ชื่อ โกลิตะ

อุปติสสะ และ โกลิตะ ได้คบหากันเป็นเพื่อนสนิท
เล่าเรียนวิชาทางลัทธิพราหมณ์มาด้วยกัน

แต่ก็มีความรู้สึกว่าแนวทางสั่งสอนของสำนักพราหมณ์ต่างๆ นั้น
หาใช่ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างแท้จริงไม่

satu

ทั้งสองคนจึงต่างออกแสวงหาศาสดา ที่สอนโมกขธรรมคือธรรมที่เป็น เครื่องหลุดพ้น

โดยให้คำมั่นสัญญากันว่า
เมื่อฝ่ายใดสามารถได้พบศาสดาที่สอนธรรมเช่นนั้นได้ก่อน ก็ต้อง
กลับมาบอกอีกฝ่ายหนึ่งให้ทราบด้วย

จะได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์พร้อมกัน

วันหนึ่ง อุปติสสะมาณพ ได้ไปพบ พระอัสสชิ ซึ่งเป็นภิกษุองค์หนึ่งในปัญจวัคคีย์

ซึ่งเป็นปฐมสาวกของพระพุทธองค์

satu

ขณะนั้นพระอัสสชิกำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกรุงราชคฤห์ อุปติสส
ะเห็นกิริยาสำรวมและสงบของพระอัสสชิ ก็เกิดความสนใจและเลื่อมใส

อุป ติสสะจึงเดินตาม พระอัสสชิ จนท่านบิณฑบาตเสร็จ
กลับไปฉันเรียบร้อยแล้ว จึงได้ช่อง เข้าไปถามว่า ท่านบวชกับใคร
ใครเป็นศาสดาของท่าน

satu

พระอัสสชิตอบว่า พระศาสดาของท่านคือพระสมณโคดม ซึ่งอยู่ในวงศ์ศากยะ
ได้เสด็จทรงผนวชจนตรัสรู้โดยพระองค์เอง

อุปติสสะ จึงถามต่อไปว่า พระสมณโคดม ศาสดาของท่าน สอนธรรมอะไรเป็นสำคัญ

ขอให้แสดงธรรมะนั้นให้ฟัง

satu

พระอัสสชิกล่าวถ่อมตนว่า ท่านเพิ่งเข้ามาบวช
ยังไม่อาจแสดงหลักธรรมได้กว้างขวางมากนัก

ได้แต่กล่าวอย่างย่อๆ อุปติสสะ
ก็บอกว่าไม่ต้องแสดงหลักธรรมให้ยืดยาวเยิ่นเย้อหรอก
เอาแต่แค่ใจความก็พอแล้ว!

พระอัสสชิ จึงกล่าวเป็นคาถาสั้นๆ รวมสี่บาท ความว่า :


เยธัมมา เหตุปัปภวา ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ
เตสัง เหตุ ตถาคโต พระตถาคตเจ้า ตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้น
เตสัญจะโย นิโร โธจะ และความดับของธรรมเหล่านั้น
เอวังวาที มหาสมโณติ พระมหาสมณะ มีวาทะตรัสไว้ดังนี้

satu

พระอัสสชิถ่อมตนว่าบวชใหม่ รู้น้อย
แต่สามารถสรุปหัวใจของอริยสัจได้ในคาถาเพียงสี่บาทเท่านั้น

แสดงว่าพระปัญจวัคคีย์รูปนี้เป็นผู้รู้จริง รู้ลึกถึงแก่นของห ลักอริยสัจทีเดียว

ฝ่ายอุปติสสะ ได้ฟังคาถาที่พระอัสสชิกล่าวแล้ว
ก็เกิดดวงตาเห็นธรรม(บรรลุเป็นพระอริยะโสดาบัน)

มองเห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายมีความเกิดเป็นธรรมดา
แต่สรรพสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความดับสูญเป็นธรรมดาเช่นกัน

satu

อุปติสสะจึงกลับไปหาเพื่อนที่ชื่อ โกลิตะ ตามที่สัญญากันไว้
บอกเพื่อนว่าได้พบศาสดาผู้ล่วงรู้อมตธรรมแล้ว

มาณพทั้งสองจึงพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แถมยังพาบริวารของตนมีจ ำนวน 250
คนไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วย

ทั้งหมดได้ทูลขออุปสมบท
พระพุทธเจ้าก็ประทานให้อุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา
คืออุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธองค์

มาณพทั้งสอง รวมทั้งบริวาร เมื่อได้อุปสมบทแล้ว และได้บำเพ็ญเพียร
ไม่ช้านักก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด

satu

พระอุปติสสะ รู้จักในวงการพระพุทธศาสนาว่า พระสารีบุตร
คือเรียกขานท่านตามชื่อของมารดา

คือเป็นบุตรของนางสารีพราหมณี จึงชื่อว่าสารีบุตร หรือผู้เป็นบุตรของนางสารีนั่นเอง


ส่วนพระโกลิตะ ก็เช่นเดียวกันในทางพระพุทธศาสนาเรียกท่านว่า พระโมคคัลลานะ

ตามชื่อของมารดาท่านเช่นกัน แปลว่าบุตรของนางโมคคัลลีพราหมณี

satu

พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ว่า เป็นอัครสาวก
พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา

ทรงยกย่องว่าเป็นเลิศในทางมีปัญญามาก ส่วนพระโมคคัลลานะเป็นอั
ครสาวกเบื้องซ้าย ทรงยกย่องว่าเป็นเลิศในทางมีฤทธิ์มาก

ในสมัยต่อมาเมื่อสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ อย่างเช่นพระประธานใ นพระอุโบสถ
หรือในพระวิหาร จึงนิยมสร้างรูปพระอัครสาวกทั้งคู่
ให้ยืนหรือให้นั่งอยู่สองข้างพระประธานด้วยกัน พระอัครสาวกที่
สร้างขึ้นนั้นมีสองรูป คือพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ
แต่ทั้งสองรูปมีร่างเหมือนกัน

การสังเกตว่าพระอัครสาวกเป็นรูปใด ก็ให้สังเกตว่าเบื้องขวาของ พระประธาน
คือพระสารีบุตรเถระ ส่วนด้านซ้ายของพระประธานคือพระโมคคัลลานะเถระ
ต้องสังเกตด้วย ว่าเมื่อเราหันหน้ากราบพระประธานนั้น ก็ต้องกลับกัน
ด้านซ้ายของตัวเราคือพระสารีบุตร ส่วนด้านขวาของเราคือพระโมคค ัลลานะ


ส่วนคาถา เย ธมฺมา ซึ่งพระอัสสชิ กล่าวแก่ อุปติสสะมาณพนั้น

เป็นการกล่าวสรุปในหลักธรรมสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา คือ อริยสัจ

satu

อริยสัจมีสี่ประการ ประการแรก ได้แก่ ทุกข์ ซึ่งเป็น ผล

ประการที่สอง ได้แก่ สมุทัย ได้แก่ เหตุให้เกิดทุกข์ จึงเป็น เหตุ
ที่ทำให้เกิด ผล คือ ทุกข์ ในประการแรก

ประการที่สาม คือ นิโรธ คือความดับทุกข์ ซึ่งเป็น ผล ทำให้ทุกข์นั้นดับสิ้นไป

และประการที่สี่ซึ่งเป็นประการสุดท้าย คือ มรรค
เป็นข้อปฏิบัติให้เกิดความดับทุกข์ นับว่าเป็น เหตุ อีกเหมือนกัน

เมื่อนำหลักอริยสัจสี่ประการนี้ เข้ามาพิจารณาตัวคาถา เย ธมฺมา จะเป็นดังนี้

คาถาบาทที่หนึ่ง เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา มีความว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ ก็หมายถึง

ทุกข์ ซึ่งป็น ผล อันเกิดจาก เหตุ ดังกล่าว

คาถาบาทที่สอง เตสํ เหตุ ตถาคโต มีความว่า พระตถาคตตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้น

นี่ก็คือเรื่อง สมุทัย ซึ่ง เหตุ เป็นอริยสัจข้อที่สอง

คาถาบาทสาม เตสญฺจ โย นิโรโธ จ มีความว่า และความดับของธรรมเหล่านั้น

ก็คือพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเรื่อง นิโรธ และ มรรค

ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติอันเป็น ผล นำไปสู่ให้ถึงความดับทุกข์ในที่สุด


ส่วนคาถาบาทสุดท้าย เอวํ วาที มหาสมโณติ ความว่า พระมหาสมณะมีวาทะไว้อย่างนี้

ก็คือ พระพุทธองค์ได้ ตรัสสั่งสอนไว้เช่นนี้

อันที่จริง คาถา เย ธมฺมา ซึ่งพระอัสสชิกล่าวนี้
มิได้หมายเฉพาะแต่เรื่องอริยสัจสี่เท่านั้น
แต่ยังหมายถึงหลักธรรมทั่วไปของพระพุทธศาสนาอีกด้วย

หลักธรรมของพระพุทธศาสนาโดยทั่วไป ได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพัน ธ์ระหว่าง
เหตุ กับผล ผล ที่ดีต่างๆ ล้วนเกิดจาก เหตุ ที่ดีทั้งนั้น ซึ่งจะเรียกว่า
บุญ หรือกุศลกรรมก็ได้ ส่วน ผล ที่ไม่ดีต่างๆ ก็ล้วนเกิดจาก เหตุ
ที่ไม่ดี คือบาป หรืออกุศลกรรมนั่นเอง

พระพุทธองค์จึงได้ทรงชี้ให้เห็นว่า เหตุ ที่ดี คือ บุญหรือกุศลกรรมย่อมมี
ผล ในทางที่ดี ส่วน เหตุ ที่ไม่ดี คือ บาปหรืออกุศลกรรม ก็ย่อมมี ผล
ในทางตรงข้าม

นอกจากนั้นยังตรัสชี้ เหตุคือทำความดี คือทำบุญหรือกุศลกรรม
เพื่อให้เกิดผลที่ดีแก่ตัวผู้ปฏิบัติเอง ในทำนองเดียวกัน
เหตุคือทำความไม่ดี คือทำบาปหรืออกุศลกรรม ก็ย่อมนำผล
ร้ายมาสู่ชีวิตของผู้ปฏิบัติเองเช่นกัน

พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่ไม่ได้สอน
ให้คนหวังความช่วยเหลือเอื้ออำนวยจากพลังภายนอก หรือพลังเหนือ ธรรมชาติ
ในรูปใดๆ ก็ตาม

แต่สอนให้เชื่อมั่นในหลัก "กรรม" คือการกระทำของตนเอง ถ้าทำดี
ก็ย่อมได้ผลที่ดี ตรงกันข้าม ถ้าทำชั่วทำเลว
ก็ย่อมได้รับผลร้ายหรือผลไม่ดีเอง!

satu

คาถา เย ธมฺมา ซึ่ง พระอัสสชิ กล่าวนั้น จึงเป็นการกล่าวคาถาสรุป

รวมยอดของพุทธธรรมเดียว(หัวใจพุทธศาสนา)


ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงโปรดให้สลักแท่งศิลาจารึกคาถาบทนี ้ไว้มากมาย

ต่อมามีผู้ขุดค้นพบหลักศิลาจารึกดังกล่าวนี้อยู่ทั่วไปในชมพูทว ีป

แสดงว่าพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเลื่อมใสในคาถา เย ธมฺมา บทนี้
ว่าเป็นคาถาซึ่งสรุปหัวใจพระพุทธศาสนาไว้อย่างรัดกุมทีเดียว

satu

ต่อมาในสมัยทวารวดีได้ขุดพบธรรมจักร พระพิมพ์ มีการจารึก คาถา เย ธมฺมา

เป็นการสร้างอุทิศเพื่อมรรคผลและสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา(หม่อมเ
จ้าภัทรดิส ดิสกุล ประวัติศาสตร์ศิลป์)

มีเกร็ดเล่า เมื่อก่อสร้างโรงแรมอินทรา ที่บริเวณประตูน้ำ
ผู้ลงทุนได้มาปรึกษาท่านอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

ว่าจะสร้างศาลพระพรหมอย่างโรงแรมอื่นเขาบ้างจะดีไหม?

ท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ ได้แนะนำว่า ไม่ควรสร้างเทวรูปตามลัทธิพราหมณ์
แต่ควรสร้างเป็นศาลประดิษฐานรูปธรรมจักร ที่ฐานสลัก คาถา เย ธมฺมา
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญทางพุทธศาสนาจะเหมาะสมกว่า!
เชื่อว่าศาลที่มีรูปธรรมจักร และจารึกคาถาบทนี้
ก็คงยังตั้งอยู่ที่โรงแรมแห่งนั้น

ที่มา..http://www.buddhapoem.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&Category=buddhapoemcom&thispage=&No=414421

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ24 เมษายน 2558 เวลา 22:51

    ถูกตรงตามที่ได้แสดงมาแต่จะรู้มากมายสักเท่าใดก็ตามที่สุดแล้วต้องรู้ว่าพุทธองค์ทรงบอกให้ละโลกส้ิ้นความยินดีในโลกพ้นไปจากโลกนี้อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์คือเมิ่อเข้าใจแล้วก็ต้องสิ้นความอาลัยต่อโลกนี้จึงจะส้ินทุกข์ไม่กลับมาทุกข์ในโลกนี้อีกนี่จึงเรียกว่าได้รับผลจากธรรมคำสั่งสอนของพระองค์

    ตอบลบ