...+

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ธนาคารโรงเรียน ภารกิจรับมือ "ปรากฏการณ์รูดปรื๊ด"

ธนาคารโรงเรียน ภารกิจรับมือ "ปรากฏการณ์รูดปรื๊ด"

รายงานพิเศษ.....โดยสุกัญญา แสงงาม

นักเรียนบางคนกำลังกรอกข้อมูลใบฝากเงิน....
บ้างก็เขียนใบถอนเงิน....
ขณะที่ 3-4 คนทำหน้าที่เช่นเดียวกันกับพนักงานธนาคาร...

นี่คือ บรรยากาศของ "โรงเรียนธนาคาร" หรือที่บางแห่งก็เรียกว่า
"ธนาคารโรงเรียน" ที่เกิดขึ้นภายใน "ร.ร.ราชวินิตมัธยม" กับ
"ร.ร.มัธยมวัดมกุฏ

กษัตริย์" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักจัดสรรเงิน
ใช้จ่ายอย่างประหยัด

และที่น่าดีใจไปกว่านั้น ก็คือ โครงการนี้ไม่ได้มีแค่ 2 โรงเรียน
หากมีการขยายไปตามโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศถึงกว่า 500 แห่งเลยทีเดียว

-1-
"กุนฑีรา บุญเลี้ยง"
หัวหน้าโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
และหัวหน้ากิจกรรมโรงเรียนธนาคาร ร.ร.ราชวินิตมัธยม ให้ข้อมูลว่า
เมื่อก่อน

ร.ร.ไม่เคยรู้เลยว่านักเรียนใช้จ่ายกันอย่างไร
จนวันหนึ่งเห็นนักเรียนซื้อดอกไม้ช่อโต ราคาไม่ต่ำกว่า 500 บาท
ให้วันเกิดเพื่อน จึงมองว่า ต้องทำอะไรสัก

อย่างเพื่อให้เด็กรู้คุณค่าของเงิน เพราะหากไม่สอนให้รู้จักออมเงิน
วันข้างหน้าเขาจะต้องเข้าสู่ระบบ "รูดปรื๊ด"
หรือซื้อสินค้าเงินผ่อนแล้วเป็นหนี้ไปตลอดชีวิต

ดังนั้น จึงให้นักเรียนลงสมุดบันทึกรายรับรายจ่ายแต่วันละวันว่าใช้อะไรบ้าง
โดยอาจารย์ผู้สอนทุกคนจะพยายามอธิบายให้เด็กรู้จักคุณค่าของเงิน ควร

ใช้อย่างประหยัด และเตือนสติว่าเงินแต่ละบาทพ่อแม่หามาด้วยความยากลำบาก
โดยเรื่องนี้ผลักดันไปสู่พ่อแม่ ชุมชน
โดยผ่านนักเรียนซึ่งมักจะไปเล่าให้พ่อ

แม่ ผู้ปกครองฟัง

จาก นั้นธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร (ธ.ก.ส.)
ก็เข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับการออมเงิน ทางโรงเรียนจึงตัดสินใจตั้ง
"โรงเรียน

ธนาคาร" ขึ้นเมื่อปี 2547 เพื่อให้อาจารย์ บุคลากร
และนักเรียนนำเงินมาฝาก-ถอน
โดยธนาคารได้ส่งเจ้าหน้าที่มาให้ความรู้ขบวนการทำงานให้อาสาสมัคร

นักเรียน เพื่อคอยทำหน้าที่รับฝาก-ถอนเงิน เฉกเช่นเดียวกับไปธนาคาร

อาจารย์ กุนฑีรา เล่าว่า
นักเรียนที่ทำหน้าที่พนักงานแบงก์จะเปิดธนาคารสัปดาห์ละ 3 วัน คือจันทร์
พุธ พฤหัสบดี ช่วงเช้าก่อนเข้าเรียน ซึ่งเปิดบัญชี

ใหม่ให้เริ่มต้นที่ 20 บาท
จากนั้นนักเรียนจะรวบรวมเงินที่เพื่อนนักเรียนและอาจารย์ไปฝาก
ธ.ก.ส.อาทิตย์ละครั้ง วงเงินประมาณ 2 หมื่นบาท ส่วนดอกเบี้ยจะ

ได้รับเหมือนที่แบงก์จ่าย

"นัก เรียนมาเปิดบัญชีเกือบครบทุกคน
แต่เราสังเกตพบว่าเด็กส่วนใหญ่จะมาถอนเงินช่วงเทศกาลปีใหม่ วาเลนไทน์
วงเงินสูง บางคนถอนหลักพันต้นๆ

บางรายถอนหลายพันบาท อาจารย์จะถามเด็กว่าจะนำเงินไปทำอะไร
บอกไปซื้อของขวัญ ซื้อซิม เอ็มพี
เราจะบอกเด็กไปว่าของขวัญไม่ได้ดูที่มูลค่าราคา

แพง แต่เป็นเรื่องจิตใจ ควรเก็บเงินไว้เป็นทุนการศึกษา
ช่วยลดภาระคุณพ่อคุณแม่ เพราะช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ดี เงินหายาก
ซึ่งเท่าที่สังเกตนักเรียนจำนวนหนึ่ง

ปรับเปลี่ยนการใช้เงินจากสุรุ่ยสุร่าย มาซื้อของที่จำเป็น"อ.กุณฑีรา ให้ข้อมูล

-2-
ขณะที่ "อลงกรณ์ นิยะกิจ" รอง ผอ.ร.ร.มัธยมวัดมกุฏกษัตริย์
เล่าว่า ร.ร.ธนาคารตั้งเมื่อปี 2550 ร่วมมือกับธนาคารออมสิน
โดยให้นักเรียน อาจารย์

และบุคลากร รู้จัดคุณค่าของการออม
ตามเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนักเรียนร้อยละ 90
สนใจและมาเปิดบัญชี ทั้งนี้ จะมีนัก

เรียนอาสาสมัคร 3 ทีมๆ 4 คน มาคอยบริการ

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมาทำหน้าที่ เด็กๆ
จะต้องเข้ารับการอบรมเหมือนเป็นพนักงานธนาคารทุกอย่าง
หากยอดเงินไม่ตรงกันบัญชีเด็กจะต้องหาว่า

ผิดพลาดตรงไหน จึงเป็นการสร้างความรอบครอบให้แก่นักเรียน อย่างไรก็ตาม
เท่าที่สังเกตเด็กเก็บเงินได้จำนวนหนึ่ง มักจะถอนไปเพื่อสมัครเรียนกับติว

เตอร์ยอดนิยม

ณัฎฐินี ทองเพิ่ม นักเรียนชั้น ม.6 ในฐานะผู้จัดการธนาคาร
พัชรินทร์ สาละ ฝ่ายลงรายการ ฐิติพร สุวรรณคาม ฝ่ายติดต่อ และ ปฏิกร
ศรีภิรมย์ ฝ่ายการ

เงิน เล่าทิศทางเดียวกันว่า ทุกคนต้องทำงานเป็นทีมเพื่อให้เสร็จโดยเร็ว
และไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด
โดยแต่ละสัปดาห์ผู้จัดการกับอาจารย์จะรวบรวมเงินที่

เพื่อนนักเรียนฝากนำไป ฝากธนาคารออมสินอีกต่อหนึ่ง

สำหรับนักเรียน ชั้น ม.3 ที่ไม่เรียนต่อ และ ม.6
เมื่อเรียนจบแล้วจะให้ถอนเงินทั้งหมด
แต่คนใดต้องการฝากต่อก็จะประสานกับธนาคารให้


http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000093579

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น