...+

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หมอยันน้ำผลไม้ให้โทษมากกว่าให้คุณ

ขอช่วยกันรณรงค์ให้เลิกนำน้ำผลไม้กล่องถวายพระ
โดยเฉพาะหลวงปู่และพระสูงอายุองค์อื่น ๆ เพราะเป็น
การทำบาปถวายยาพิษให้พระโดยไม่รู้ตัว ช่วยบอกต่อกันหน่อยนะ

หมอยันน้ำผลไม้ ให้โทษมากกว่าให้คุณ


แฟนของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐท่านหนึ่งใช้นามแฝงว่า นายเกษตร ระยอง
เขียนจดหมายเข้ามาสอบถามข้อเท็จจริง
ของน้ำผลไม้ ผ่านคอลัมน์ สารพันปัญหา ของอ๊อด เทอร์โบ ฉบับวันที่ 25
มีนาคม พ.ศ. 2551

ข้อสงสัยหลักใหญ่ใจความก็คือ น้ำผลไม้ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายจริงหรือไม่


ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรรณี นิธิยานันท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาต่อมไร้ท่อ
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า ในปัจจุบันสังคมไทย
เน้นไปในเรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพ อะไรก็ตามที่มี
นัยแสดงว่า เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ คนก็จะนิยมบริโภค
ทั้งๆที่บางครั้งสินค้าตัวนั้น ก็แทบจะไม่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพเลย
คุณหมอวรรณี บอกว่า ถ้านำน้ำหวานกับน้ำผลไม้มาเปรียบเทียบกัน
น้ำผลไม้ก็ยังมีประโยชน์ มากกว่าน้ำหวาน
เพราะยังมีสารอาหารที่ให้ประโยชน์ ต่อร่างกายอยู่บ้าง


' แต่น้ำผลไม้ที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายนั้น จะต้องเป็นน้ำผลไม้คั้นสด
ย้ำว่าคั้นสดๆ และต้องไม่ผ่านกระบวนการผลิตทาง
อุตสาหกรรมอาหาร เพราะถ้าผ่านกระบวนการผลิตแล้ว
สารอาหารทั้งหมดของน้ำผลไม้ก็จะหายไปทันที แต่ถึงอย่างไร
ก็ตาม หากนำน้ำผลไม้ ทุกรูปแบบ มาเปรียบเทียบกับผลไม้สดทั้งผลแล้ว
น้ำผลไม้ก็แทบจะไม่ให้ประโยชน์ อะไรต่อร่างกาย'

นี่คือความจริง...ของน้ำผลไม้ที่ได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์แล้ว
คุณหมอวรรณี บอกว่า ตอนนี้เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพของคนไทยมาแรง
หันไปทางไหนมีแต่คนต้องการอาหารเพื่อ
สุขภาพ แต่มักจะขาดความเข้าใจ พื้นฐานเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพอย่างถูกต้อง

ผู้บริโภคจำนวนมาก ต่างสนับสนุนให้คนที่ตนรักดื่มน้ำผลไม้
เพราะเชื่อว่ามีประโยชน์ ต่อร่างกาย แต่ในมุมกลับกัน หาก
น้ำผลไม้ที่นำมาดื่ม ไม่ได้เป็นน้ำผลไม้คั้นสดแล้ว
ร่างกายของคนที่คุณรักก็จะได้แค่น้ำตาล บวกกับกลิ่นของผลไม้ และ
ตัวน้ำเท่านั้น


ร่างกายไม่ได้ประโยชน์จากสารอาหารในน้ำผลไม้อย่างที่คาดหวังเลย
เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป โรคอ้วน
ก็เข้ามาทำความรู้จัก แล้วก็พาไปสู่โรคอื่นๆ อีกมากมาย
ยิ่งถ้าเป็นผู้ป่วยเบาหวานแล้ว ก็จะทำให้น้ำตาลขึ้นมาก
ส่งผลร้ายแทรกซ้อนตามมา

คุณหมอวรรณี ขอแนะนำว่า ถ้าอยากจะดื่มน้ำผลไม้ ให้ดื่มน้ำเปล่า
แล้วทานผลไม้ทั้งลูก เพราะร่างกายจะได้สาร
อาหารที่แท้จริง รวมไปถึงกากใยอาหาร เพื่อไปดูดซับไขมัน และ ช่วยในระบบขับถ่าย


นายแพทย์ฆนัท ครุธกูล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ และโภชน-
วิทยาคลินิก ศูนย์หัวใจหลอดเลือด และ
เมแทบอลิซึม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ขอตั้งคำถามว่า
เราจะดื่มน้ำผลไม้ไปเพื่ออะไร?


ความเข้าใจแรกที่ว่า ดื่มน้ำผลไม้แล้ว ผิวพรรณจะสวย
เรื่องนี้ก็ยังไม่มีงานวิจัย ทางการแพทย์ออกมายอมรับ ส่วน
ความเข้าใจที่ว่า ดื่มน้ำผลไม้แล้วร่างกายจะได้ประโยชน์ งานวิจัย
ทางการแพทย์ก็ยืนยันว่า ในภาวะของคนที่มีร่างกาย
ปกติ เน้นคำว่า ปกติ ไม่มีข้อมูลยืนยันว่า
การดื่มน้ำผลไม้แล้วจะส่งผลดีต่อสุขภาพ แต่งานวิจัยทางการแพทย์ยืนยันว่า
น้ำผลไม้จะส่งผลดี เฉพาะคนป่วยที่ขาดวิตามินเท่านั้น เช่น
คนป่วยเป็นโรคลักปิด ลักเปิด เป็นต้น

คุณหมอฆนัท บอกว่า
นอกจากน้ำผลไม้จะให้ประโยชน์กับคนป่วยที่เป็นโรคขาดวิตามินแล้ว คนสูงอายุ
ที่ไม่มีฟันที่จะ
เคี้ยวอาหาร ก็มีความจำเป็นที่จะต้องดื่มน้ำผลไม้สด แต่หมอขอแนะ
ให้เป็นผลไม้สดปั่นจนเป็นน้ำจะดีกว่า เพราะ
ร่างกายจะได้กากใยอาหารด้วย


ประการสำคัญ ต้องให้ผู้สูงอายุทานในระดับที่พอดี ส่วนความเชื่อที่ว่า
น้ำผลไม้ ยิ่งดื่มมากยิ่งได้ประโยชน์นั้น
คุณหมอฆนัท ขอทำความเข้าใจอีกครั้งว่า ในชีวิตประจำวัน
หากได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
กินอาหารครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำสะอาด ร่างกายก็ได้รับสารอาหาร
ในจำนวนที่เพียงพอแล้ว แทบไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำผลไม้
เพิ่มเลย หมอขอย้ำว่า ร่างกายต้องการสารอาหารในระดับพอดี อย่าไปเชื่อว่า
ยิ่งได้รับมากยิ่งดี


มีคนไข้ของหมอรายหนึ่ง ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง จากประวัติของคนไข้มา
พบหมออย่างสม่ำเสมอ แต่วันร้ายคืนร้ายก็
ถูกหามมาส่งที่โรงพยาบาล แพทย์เวรก็รับเข้าห้องไอซียูทันที
สอบถามญาติก็รู้ว่า ก่อนหน้าที่จะมาโรงพยาบาล คนไข้
ดื่มน้ำผลไม้ปั่นไป 2 แก้ว จากการดื่มน้ำผลไม้ 2 แก้วนี้เอง
จึงส่งผลให้โปแตสเซียมในเลือดขึ้นสูง หัวใจจึงเต้นผิดจังหวะ
แต่โชคดีที่คนไข้มาถึงโรงพยาบาลได้ ทันเวลา ไม่เช่นนั้นโอกาสคงรอดน้อยเต็มที


กรณีตัวอย่างของคนไข้รายนี้ ชัดเจนว่า
ร่างกายต้องการสารอาหารในระดับที่พอดี ถ้าได้รับมากเกินไป ก็จะเกิดปัญหา
'ในภาวะคนที่ไม่ปกติ เช่น ผู้ที่ ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง
การบริโภคน้ำผลไม้มากเกินไปก็อาจจะมีอันตรายถึงชีวิต'
นอกจากนี้ การบริโภคน้ำผลไม้มาก ก็อาจส่งผลให้คนปกติกลายเป็นโรคอ้วน
มีความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น
โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง

ส่วนความเข้าใจเรื่องสุดท้าย ที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่า
น้ำผลไม้มีสารต้านอนุมูลอิสระ ต่อต้านเซลล์มะเร็งนั้น หมอขอบอกว่า
'ยังไม่มีงานวิจัยมายืนยันว่า
สารต้านอนุมูลอิสระจากน้ำผลไม้จะต่อต้านมะเร็งในคนได้'

เพราะฉะนั้น หมออยากให้คนนิยมดื่มน้ำผลไม้นั้น ลองตอบคำถามว่า
คุณจะดื่มไปเพื่ออะไร?


งานวิจัยเรื่อง 'การวิเคราะห์คุณสมบัติการต่อต้านอนุมูลอิสระและปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่ม
เพื่อสุขภาพ ของประเทศไทย'
ปี พ.ศ.2549 ของปาจรีย์ อับดุลลากาซิม นักศึกษาปริญญาโท สาขาโภชนศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ม.มหิดล กรุงเทพมหานคร พบว่า
เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่มีคุณสมบัติของสารต่อต้านอนุมูลอิสระนั้น
ต้องเป็นเครื่องดื่ม
ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการในการผลิตทางอุตสาหกรรมอาหารในทุกรูปแบบ
ไม่ว่าจะเป็น ทั้งพาสเจอไรส์ และสเตอริไรส์


ปาจรีย์ นำเครื่องดื่มที่โฆษณาว่าเพื่อสุขภาพ 10 ชนิด
มาเข้าห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ พบว่า เครื่องดื่มที่ได้ผ่านกระบวน
การผลิตทางอุตสาหกรรมอาหารมาแล้ว จะทำให้สารต้านอนุมูลอิสระหายไปมากกว่า
50 เปอร์เซ็นต์และมีเครื่องดื่ม บางชนิด
ที่ไม่เหลือสารต้านอนุมูลอิสระให้เห็นเลย

สิ่งที่คงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงในเครื่องดื่มที่โฆษณาว่าเพื่อสุขภาพก็คือ
'น้ำตาล' เพราะฉะนั้น การโฆษณาของน้ำผลไม้บาง
พวกที่บอกว่า ในน้ำผลไม้จะมีสารต้านอนุมูลอิสระ คงจะขัดแย้งกับงานวิจัยฉบับนี้

วันนี้ ปาจรีย์ เรียนจบปริญญาโทแล้ว
เธอได้เข้ามาทำงานเป็นนักวิจัยทางโภชนาการ ให้กับเครือข่าย 'คนไทยไร้พุง'
ของ
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.)


คุณหมอยืนยัน....น้ำผลไม้.... ให้โทษมากกว่าให้คุณ

ปาจรีย์ บอกว่า น้ำผลไม้ที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาดนั้นจะมี 3 แบบ
แบบที่ 1 เรียกว่า น้ำผลไม้คั้นสด
แบบที่ 2 เรียกว่า น้ำผลไม้เข้มข้น
แบบที่ 3 เรียกว่า น้ำผลไม้แบบผสม

วิธีการทำน้ำผลไม้ที่เธอเป็นห่วงมากที่สุดก็คือ น้ำผลไม้เข้มข้น
และน้ำผลไม้แบบผสม ขั้นตอนการทำน้ำผลไม้ทั้ง 2 แบบนี้
จะทำให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ ต่อร่างกายหายไป

สิ่งที่น่าเป็นห่วงต่อมา น้ำผลไม้บางยี่ห้อโฆษณาว่า
มีเนื้อผลไม้อยู่ในกล่อง แต่ข้อมูลที่ปาจรีย์ได้รับกลับตรงกันข้าม
เนื้อผลไม้
ในกล่องของน้ำผลไม้ส่วนใหญ่
ไม่ได้เป็นเนื้อผลไม้ที่มาจากธรรมชาติที่แท้จริง แต่
มาจากการใส่สารเติมแต่ง เช่น แป้ง
แปลงรูป (Modified starch) ซึ่งจะทำให้เกิดเนื้อผลไม้เทียม (Pulp) ขึ้นมา

นอกจากนั้น ในกระบวนการผลิตน้ำผลไม้ ยังมีการใส่สารแขวนลอย (Stabilizer)
สารเติมแต่ง (Additives) วัตถุเจือปนอาหาร
(Food Additives) น้ำ, น้ำตาล,กรด รวมไปถึงการปรุง
แต่งกลิ่นรสให้ถูกปากของผู้บริโภค ปาจรีย์ บอกว่า ข้อมูลการทำน้ำ
ผลไม้แบบนี้ ไม่ใช่เธอคนเดียวที่รับรู้ นักศึกษาที่เรียนด้าน โภชนศาสตร์
และด้านเทคโนโลยีอาหารในทุกระดับต่างรับรู้กันหมด

แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ที่ผู้นิยมดื่มน้ำผลไม้ส่วนใหญ่
ไม่ได้มีโอกาสที่จะรับรู้ ข้อมูลเหล่านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น